ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ศาลปกครองเชียงใหม่ สั่งทำแผนใน 90 วัน แก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5

สิ่งแวดล้อม
19 ม.ค. 67
15:42
758
Logo Thai PBS
ศาลปกครองเชียงใหม่ สั่งทำแผนใน 90 วัน แก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
จากกรณีเครือข่ายภาคประชาชนภาคเหนือ ประกอบด้วย นักวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนวณิชย์ สภาลมหายใจเชียงใหม่ สภาลมหายใจภาคเหนือ และภาคประชาชน ฟ้องร้องนายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 10 เม.ย.2567

ประเด็นวิกฤตฝุ่นพิษในภาคเหนือ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร้ายแรงและถูกเพิกเฉยจากรัฐบาล สมัย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี และศาลปกครองเชียงใหม่นัดฟังคำพิพากษาในวันนี้

อ่านข่าว : “ศาลปกครองเชียงใหม่” พิพากษาคดีประชาชนฟ้องนายกฯ แก้ฝุ่นภาคเหนือล่าช้า

วันนี้ (19 ม.ค.2567) นายสุมิตรชัย หัตถสาร ทนายความศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น ให้สัมภาษณ์ถึงคำพิพากษาของศาลปกครองเชียงใหม่ กรณีรัฐบาลปล่อยปละละเลย ในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5

นายสุมิตรชัยกล่าวว่า เป็นไปตามที่คาดหวัง และเริ่มต้นที่จะฟ้องคดี กำหนดประเด็น เสียดายอย่างเดียวผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และผู้ถูกฟ้องที่ 4 คณะกรรมการกำกับทุน คาดหวังว่า 2 หน่วยงานจะช่วยติดตามบริษัทเอกชน ที่จะมีผลหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้เกิด PM 2.5 เสียดายส่วนนี้ศาลไม่ได้รับ เข้ามาอยู่ในการพิจารณาคดี

อย่างไรก็ตามผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 นายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา) และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีอำนาจสั่งการได้ ถือว่าเกี่ยวข้องโดยตรง คำพิพากษาครั้งนี้ชัดเจนขึ้นกว่าครั้งก่อนๆ เช่น เรื่องการประกาศให้พื้นที่ควบคุมมลพิษ หรือศาลสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

ศาลกำหนดมาตรการที่ชัดเจน ให้ดำเนินการทำแผนฉุกเฉินภายใน 90 วัน ซึ่งเป็นสิ่งที่คาดหวัง อยากให้รัฐบาลมีความชัดเจน เรื่องแผนปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรม และมีหน่วยงานที่เข้ามาบูรณาการ มีอำนาจในการตัดสินใจ ชัดเจน เร่งด่วน เพื่อประชาชนสามารถจะเข้าใจในกระบวนการดำเนินงานของรัฐ เพื่อบรรลุเป้าหมายมลพิษทางอากาศของภาคเหนือที่จะให้เกิดขึ้น

ด้าน นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ดีใจเพราะจะเห็นแนวทางแก้ปัญหาระยะยาว ก่อนหน้านี้มีหลายคดีที่อาจออกมาว่า ผลกระทบไม่ชัดเจน ทำให้ฝ่ายทีมแพทย์ไม่สบายใจ การสื่อสารไม่ดีหรือเปล่า

ครั้งนี้เป็นที่ชี้ชัดว่า ผลกระทบต่อสุขภาพเป็นที่ยอมรับในระดับขั้นของศาลปกครอง เป็นครั้งแรกที่เราเริ่มมองเห็น เราอาจจะมีโอกาสที่จะหายใจได้มากขึ้น

อย่างไรก็ตามยังมองกลไกแก้ไข น่าจะต้องไปถึงเรื่องของบริษัททุนที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ศาลไม่รับฟ้อง

ครั้งนี้เป็นครั้งแรก เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนในผลกระทบต่อสุขภาพ และรัฐบาลยังไม่จริงจัง ยังไม่ใช้มูลที่มีอย่างเต็มที่

ด้าน ชนกนันท์ นันตะวัน ภาคประชาชน จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า ภาคประชาชน จ.เชียงใหม่ และภาคเหนือ ขึ้นมาต่อสู้เรียกร้องรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการป้องกัน และการแก้ไขปัญหา

ที่ผ่านมายังไม่เห็นแผนที่ชัดเจน จนกระทั่งวันนี้ เราลุกขึ้นมารวมกัน ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ให้ศาลปกครองมีความสั่ง พิจารณาให้การปฏิบัติหน้าที่ โดยเฉพาะของนายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เป็นผู้มีหน้าที่และกฎหมายให้อำนาจจัดทำแผนแก้ปัญหา

ศาลมีคำพิพากษา ในฐานะภาคประชาชนมีหน้าที่ตรวจสอบ มีหน้าที่ในการชี้แจง แจ้งข้อเท็จจริง ในพื้นที่เกิดขึ้นว่า มีการปฏิบัติหน้าที่ หรือ หน่วยงานภาครัฐเป็นไปตาม คำพิพากษาหรือไม่

อยากให้ทุกคนลุกขึ้นมาตรวจสอบ ปกป้องสิทธิ์มีอากาศหายใจ ไม่อยากให้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 หมุนเวียนกลับมา ทุกปียังแก้ไม่ได้ ภาคประชาชนอยากเห็นแผนการแก้ปัญหาที่มีความก้าวหน้ามากขึ้น มีการบูรณาการท้องถิ่น ความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ ต้องการงบประมาณภาครัฐ เห็นความสำคัญปัญหาฝุ่นจริง ๆ

นายวิทยา ครองทรัพย์ สภาลมหายใจภาคเหนือ กล่าวว่า คำพิพากษาครั้งนี้พิสูจน์ว่า ภาคเหนือต้องการบริหารฝุ่นแบบมีแบบแผน คำพิพากษาครั้งนี้น่าจะเป็นการนับหนึ่ง อยากให้มีการบริหารจัดการให้ชัดเจนเร็วขึ้น คำพากษาสั่งให้บูรณาการหน่วยงานในช่วงวิฤต มีประชุมการแผนเผชิญเหตุ พิสูจน์แล้วว่าไม่ได้ผล

ด้าน รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระบุว่า จากคำพิพากษา มีเรื่องสำคัญ เรื่องแรกยอมรับปัญหาเรื่องฝุ่นเป็นปัญหาวิกฤต ส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้คน

เรื่องที่สอง รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ละเลยและปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า การแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา ที่รัฐบาลยกให้เป็นวาระแห่งชาติ หรือประกาศมาตรการต่าง ๆ หลายปีที่ผ่านมา

พวกเรามองว่าเป็นมาตรการที่ล่าช้า ไม่ทันการ การรับมือกับเรื่องนี้ ต้องมีการจัดการ ในรูปแบบใหม่ ไม่ให้ผ่านระบบราชการแบบเดิม

เรื่องที่สาม คำพิพากษานี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้น ภาคประชาชนยังต้องทำงานติดตามเรื่องนี้อยู่ หลังมีคำสั่งของศาลที่จะให้มีการทำแผนภายใน 90 วัน หลังจากมีคำพิพากษาถึงที่สุด ต่อจากนี้ภาคประชาชน เตรียมยื่นหนังสือถึงอัยการ อย่าอุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษา

คดีนี้เป็นที่ชัดเจนว่า เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน ถ้าอัยการอุทธรณ์จะทำให้ปัญหาฝุ่นทอดยาวไปอีก

คำพิพากษานี้มีนัยสำคัญอย่างไร จะเป็นจุดเริ่มต้น ที่ชี้ให้เห็นการทำงานที่ผ่านมา ล้มเหลวไม่ทันการณ์ ไม่มีประสิทธิภาพต่อการจัดการปัญหาเรื่องฝุ่น หวังว่าจะเป็นจุดเริ่มต้น

ทั้งหมดไม่อาจฝากความหวังไว้หน่วยงานรัฐ ว่าจะทำได้โดยลำพัง ความใส่ใจ ความสนใจ แรงผลักของประชาชน จะเป็นส่วนสำคัญการแก้ปัญหา ยังต้องทำต่อเนื่อง เพราะเป็นประโยชน์สังคมโดยรวม

หวังว่าจะเป็นบทเรียนรัฐบาลปัจจุบัน จะต้องจัดการเรื่องนี้ รอบด้านมากขึ้น และฟังเสียงมากขึ้น บูรณาการงานต่าง ๆ มากขึ้น อย่าใช้แผนเดิมจัดการแก้ปัญหาเรื่องฝุ่น

ที่ผ่านมายืนยันผ่าน ชัดเจนข้อเท็จจริงในแง่ข้อมูล คำพิพากษาที่เกิดขึ้น การจัดการแบบเดิมจัดการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในภาคเหนือไม่ได้

วัชราวลี คำบุญเรือง ทนายความรับมอบอำนาจในคดี กล่าวว่า การบูรณาการ หรือ การทำงานที่ผ่านมาของหน่วยงานภาครัฐ จะยึดโยงกับบทบาทของภาครัฐเป็นหลัก ลืม ละเลย การทำงานของภาคประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีบทบาท ดับไฟ หรืองบประมาณที่ไม่เพียงพอ

จุดเริ่มต้นจากตรงนี้ที่ฟ้องคดี มีข้อห่วงกังวลว่า คดีจะกระทบคนทำงาน ตัวเล็กตัวน้อย คนที่อยู่ในพื้นที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เขาทำหน้าที่อยู่แล้ว หรือไม่ คำพิพากษานี้เป็นการเปิดทาง ให้ประชาชนมีส่วนร่วม คำนึงถึงการทำงานของคนท้องที่ด้วย

สุมิตรชัย หัตถสาร ทนายความศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น มองว่า หากเห็นคดีนี้เป็นเรื่องสำคัญ ไม่จำเป็นต้องอุทธรณ์ให้เกิดคำพิพากษา ยืดเยื้อ เอาคำพิพากษาของศาลชั้นต้นบังคับได้เลย มาตรการ 90 วันที่ศาลเสนอ

ถ้ารัฐบาลปัจจุบันมีแล้ว ก็ให้แสดงออกมาเลย ว่าเป็นมาตรการที่ สอดคล้องกับคำพิพากษาก็แสดงออกมาว่าจะได้ผล ประชาชนจะได้มีสิทธิ์ตรวจสอบ ที่รัฐบาลจะเสนอเรื่องนี้ สอดคล้องกับที่ศาลพิพากษา

ถ้ารัฐบาลมีแผนก็ไม่ต้องอุทธรณ์ให้เสียเวลา เสนอเปิดเผยต่อสาธารณะได้เลย ประชาชนจะได้เข้าไปตรวจสอบได้ผลจริงไหม?

รัฐบาลปัจจุบันช่วงหาเสียงฝุ่น PM 2.5 สอดคล้องกับสภารับรองกฎหมายอากาศสะอาด ถ้านายกรัฐมนตรี คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และอัยการ เห็นความสำคัญเรื่องนี้ ไม่จำเป็นต้องอุทธรณ์ และเดินหน้า 90 วันแก้ฝุ่นควัน

อ่านข่าว

พบรัศมี 300 ม.โรงงานพลุระเบิด กระจกร้าว-กระเบื้อง-หลังคาหลุด

หนึ่งเดียวรอดตาย "โรงงานพลุระบิด" พิสูจน์อัตลักษณ์แล้ว 15 คน

พม.มอบเงินเยียวยา 23 ครอบครัวผู้เสียชีวิตพลุระเบิด - ส่งเรียนเด็กขาดพ่อแม่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง