ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สมัครสอบ ก.พ. 2567 แบบ e-Exam วันแรก 10 ม.ค.

สังคม
10 ม.ค. 67
13:19
61,108
Logo Thai PBS
สมัครสอบ ก.พ. 2567 แบบ e-Exam วันแรก 10 ม.ค.
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เริ่มวันแรก 10 ม.ค. สมัครสอบ ก.พ.2567 แบบ e-Exam เปิดรับสอบระดับปริญญาตรี และปริญญาโท รวมทั้งสิ้น 161,440 ที่นั่งสอบ

วันนี้ (10 ม.ค.2567) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) เปิดรับสมัครสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ประจำปี 2567 (e-Exam)

เปิดรับสมัครสอบระดับปริญญาตรี และปริญญาโท รวมทั้งสิ้น 161,440 ที่นั่งสอบ ตั้งแต่วันที่ 10 ม.ค. 2567 เวลา 08.30 น. (จนกว่าที่นั่งสอบจะเต็ม) กรณีไม่เต็มจำนวน จะปิดรับสมัครในวันที่ 30 ม.ค. 2567 (ไม่เว้นวันหยุดราชการ)

อ่านข่าว : แนะ 9 วิธีป้องกัน "เด็กพลัดหลง" งานวันเด็ก

อ่านข่าว : จ่อฟ้องดีเอสไอ ปัดเรียกเก็บค่าหัวคิวส่งแรงงานไทยไปฟินแลนด์

สำหรับเงื่อนไขการสมัครสอบ

1. ผู้สมัครสอบ e-Exam เลือกได้ 1 รอบสอบ 1 ศูนย์สอบเท่านั้น

2. สมัครสอบ e-Exam แล้วจะไม่ถูกจำกัดสิทธิ์ในการสมัครสอบภาค ก ในรูปแบบอื่น ๆ ประจำปี 2567

3. จะเปิดรับสมัครรอบสอบที่ 1 – 5 ก่อน และเมื่อศูนย์สอบใดมีการจองที่นั่งสอบเต็มทั้ง 5 รอบสอบแล้ว จะเปิดรอบสอบที่ 6 - 10 ของศูนย์สอบนั้นให้เลือกสมัครโดยอัตโนมัติ และเมื่อศูนย์สอบใดมีการจองที่นั่งสอบเต็มทั้ง 5 รอบสอบอีก ก็จะเปิดรอบสอบที่ 11 - 15

ขั้นตอนการสมัครสอบ 

ขั้นตอนที่ 1 กรอกข้อมูลการสมัครสอบ อัปโหลดรูปถ่าย และพิมพ์แบบฟอร์มการชำระเงิน

เข้าเว็บไซต์ https://job3.ocsc.go.th เลือกหัวข้อ "การสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ประจำปี 2567 (e-Exam) หัวข้อย่อย "สมัครสอบ" แล้วกรอกข้อมูลส่วนบุคคล เลือกรอบสอบ และศูนย์สอบที่ต้องการ เมื่อยืนยันการสมัครสอบแล้ว จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้

- ระบบจะตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลการสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของผู้สมัครสอบ กรณีที่ระบบตรวจสอบแล้วพบว่า ผู้สมัครสอบสอบ ก.พ. ผ่าน ในระดับวุฒิการศึกษาใดแล้ว จะไม่สามารถสมัครสอบในระดับวุฒิการศึกษาเดียวกันหรือต่ำกว่าได้ ยกเว้นกรณีที่ผลสอบเป็นโมฆะ

- อัปโหลดรูปถ่ายหน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดำ ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน พื้นหลังไม่มีลวดลาย ประเภทของไฟล์เป็น .JPG ความละเอียดไม่น้อยกว่า 40 KB โดยต้องเป็นรูปถ่ายที่ใช้ในการสมัครงาน หากไม่อัปโหลดรูปถ่าย จะไม่สามารถชำระค่าธรรมเนียมและพิมพ์แบบฟอร์มการชำระเงินได้

- ระบบจะส่ง QR Code ให้ผู้สมัครสอบสแกนจ่ายผ่านแอปพลิเคชัน "Krungthai Next" หรือ "เป๋าตัง" ได้ทันที หรือสามารถพิมพ์แบบฟอร์มการชำระเงินลงบนกระดาษขนาด A4 เพื่อชำระเงินในภายหลัง หรือหากไม่มีเครื่องพิมพ์ในขณะนั้น สามารถบันทึกข้อมูลเก็บไว้ในรูปแบบ File ไว้ได้

ในกรณีที่แบบฟอร์มการชำระเงินสูญหาย หรือกรอกใบสมัครแล้ว แต่ยังไม่ได้พิมพ์แบบฟอร์มการชำระเงิน สามารถเข้าไปค้นหาในระบบรับสมัครสอบ และพิมพ์ใหม่ได้

ขั้นตอนที่ 2 ชำระเงินค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบ

ผู้สมัครสอบต้องจ่ายค่าธรรมเนียม 330 บาท ประกอบด้วยค่าธรรมเนียม จำนวน 300 บาท และค่าธรรมเนียมธนาคารรวมค่าบริการทางอินเทอร์เน็ตคิดสูงสุดไม่เกิน 30 บาท ภายในเวลา 22.00 น. ของวันถัดไปนับจากวันที่ยืนยันการสมัครสอบ หากไม่จ่าย ใบสมัครสอบจะถูกยกเลิกโดยอัตโนมัติ 

ทั้งนี้ การสมัครสอบจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์เมื่อผู้สมัครได้ชำระเงินค่าธรรมเนียมในการสมัครสอบเรียบร้อยแล้ว

ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบสถานะการสมัครสอบ

หลังจ่ายค่าธรรมเนียมสมัครสอบแล้ว 1 วัน ให้ตรวจสอบสถานะการสมัครสอบทางเว็บไซต์ https://job3.ocsc.go.th  และหากผู้สมัครสอบที่สามารถสมัครสอบเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว มีความประสงค์จะขอเปลี่ยนรูปถ่าย สามารถยื่นคำร้องได้เพียง 1 ครั้ง ระหว่างวันที่ 1 - 9 ก.พ.2567  

ขั้นตอนที่ 4 พิมพ์บัตรประจำตัวสอบ

ผู้สมัครสอบสามารถพิมพ์บัตรประจำตัวสอบได้ ตั้งแต่วันที่ 15 มี.ค.2567 จนถึงวันที่ผู้สมัครสอบเข้าสอบ  

เช็กศูนย์สอบและจำนวนที่นั่งสอบ คลิกที่นี่ 

อ่านข่าว : โควิด-19 JN.1 สายพันธุ์หลักระบาดในไทย พบ อาการคล้ายหวัด

สอบ ก.พ. คืออะไร

การสอบ ก.พ. อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ สำนักงาน ก.พ. หรือ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ซึ่งเป็นองค์การที่ดูแลด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลในราชการพลเรือน มีหน้าที่สำคัญในการจัดสอบคัดเลือกบุคคลเข้ามาบริหารงานในหน่วยงานราชการ ก่อนที่จะรับราชการได้ก็ต้องผ่านการทดสอบทั้งภาค ก. ข. และ ค. 

หลายคนอยากรู้ว่า การสอบ ภาค ก. ภาค ข. และภาค ค. นั้นต่างกันอย่างไร 

ข้อมูลจาก gurupoliceacademy อธิบายว่า   

อ่านข่าว : "เศรษฐา" หวังคนไทยได้ชมสด "เอเชียน คัพ"

ภาค ก.

คือ การสอบภาคความรู้ ความสามารถทั่วไปที่มีการจัดสอบเป็นประจำในทุกปี ถือเป็นด่านแรกที่ต้องสอบให้ผ่านเพื่อไปสู่ขั้นต่อไป โดย ภาค ก. แบ่งออกเป็น 3 วิชา ได้แก่ 

- วิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุม การคิดวิเคราะห์เชิงภาษา, การคิดวิเคราะห์เชิงนามธรรม และการคิดวิเคราะห์เชิงปริมาณ 

- วิชาภาษาอังกฤษ เป็นวิชาที่วัดทักษะด้านต่าง ๆ ของภาษาอังกฤษในระดับเบื้องต้น ทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน 

- วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี ซึ่งเป็นการทดสอบความรู้ที่เป็นพื้นฐานของการเป็นข้าราชการที่ดี 

การสอบ ก.พ. แบบ E-exam คือ การสอบสำหรับบุคคลทั่วไป แต่จะทำข้อสอบด้วยคอมพิวเตอร์ โดยเปิดรับสมัครคนละรอบกับ paper and pencil ซึ่งจะทำการจัดสอบเฉพาะระดับปริญญาตรีและปริญญาโทเท่านั้น แตกต่างจากการสอบแบบ paper and pencil ที่เป็นการสอบแบบปกติด้วยการฝนกระดาษคำตอบ

ภาค ข.

คือ ผู้สมัครสอบจะต้องนำหนังสือรับรองการสอบผ่านภาค ก. มายืนยันก่อนจึงจะสามารถสมัครได้ การสอบในภาค ข. เป็นการสอบที่เน้นใช้ความรู้และความสามารถเฉพาะตำแหน่ง ผู้ที่จัดสอบในภาคนี้จะเป็นหน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่เปิดรับสมัคร   

ภาค ค.

สำหรับภาค ค. ผู้ที่เข้าสอบได้ ต้องสอบผ่านทั้งภาค ก. และ ภาค ข. มาแล้ว ก่อนที่จะสอบสัมภาษณ์ โดยจะมีผู้สัมภาษณ์เป็นหน่วยงานต้นสังกัดนั้น ๆ มาร่วมทำการทดสอบด้วย นอกจากสอบสัมภาษณ์แล้ว อาจมีการทดสอบเพิ่มเติม เช่น การทดสอบร่างกาย จิตวิทยา ร่วมด้วย 

อ่านข่าวอื่น ๆ

เช็กคิว! ศาล รธน.วินิจฉัยคดี "ศักดิ์สยาม-พิธา-ก้าวไกล"ประกาศคุม พท.

กสทช.ประกาศคนมีเบอร์เกิน 6 ซิม ต้องยืนยันตัวตน เริ่ม 16 ม.ค.นี้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง