ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

วิเคราะห์ ปูมหลังผู้ก่อเหตุสะเทือนขวัญ จาก "ไอซ์ หีบเหล็ก - กล่องเหล็กถ่วงน้ำ"

อาชญากรรม
10 ม.ค. 67
13:07
10,349
Logo Thai PBS
วิเคราะห์ ปูมหลังผู้ก่อเหตุสะเทือนขวัญ จาก "ไอซ์ หีบเหล็ก - กล่องเหล็กถ่วงน้ำ"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
นักอาชญาวิทยา วิเคราะห์ปูมหลังคดีสะเทือนขวัญสกลนคร ลูกชายจับพ่อ-พี่สาวใส่กล่องเหล็กถ่วงน้ำ ก่ออาชญากรรมผิดปกตวิสัย ชี้ผู้ก่อเหตุหลายคดีมักมาจากการป่วย "ทางจิต" แต่ยันไม่ช่วยทำให้พ้นการรับโทษได้ แนะข้อสังเกตเบื้องต้นอาการป่วยทางจิต ป้องกันป่วยหนัก

จากกรณีคดีชายวัย 35 ปี ก่อเหตุฆาตกรรม พ่อและน้องสาว โดยยัดใส่กล่องเหล็กผลักลงน้ำและเสียชีวิต ที่ จ.สกลนคร เมื่อวานนี้ (9 ม.ค.2567) ซึ่งถือว่าเป็นคดีที่สะเทือนขวัญสังคมอีกคดี จนนำไปสู่การตั้งข้อสังเกตของสังคมว่า ผู้ก่อเหตุมีอาการป่วยทางจิตหรือไม่

ผศ.ร.ต.อ.จอมเดช ตรีเมฆ รองคณบดี วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต วิเคราะห์ว่า การก่อฆาตกรรมสะเทือนขวัญคดีต่าง ๆ ผู้ที่สามารถตรวจสอบหรือวินิจฉัยได้ว่า ผู้ก่อเหตุมีอาการป่วยทางจิตหรือไม่ จะต้องเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ การจะอ้างว่ามีปัญหาทางจิตเพื่อที่จะไม่ต้องรับโทษไม่สามารถปิดบังหรือหลอกลวงได้

อ่านข่าว จับหนุ่มฆ่า "พ่อ-น้องสาว" ยัดกล่องเหล็กถ่วงน้ำ จ.สกลนคร 

กรณีผู้ก่อเหตุจะใช้การป่วยจิตเวช เป็นข้ออ้างเพื่อไม่รับโทษไม่สามารถอ้างได้ หรือหลอกได้ แพทย์มีเครื่องมือและวิธีการตรวจสอบวินิจฉัย 

รวมถึง กรณีที่บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดว่า "ภาวะป่วยซึมเศร้า" หรือ "ภาวะบุคลิกภาพผิดปกติ" ต่างๆ ซึ่งมีหลายประเภทจะช่วยให้พ้นผิด เป็นความเข้าใจที่ผิด ซึ่งจะได้รับการลงโทษเหมือนกับผู้กระทำผิดกประการ ยกเว้นป่วยใน “ภาวะจิตเภท” เท่านั้น 

อ่านข่าว : อดีต ตร.กราดยิงหนองบัวลำภู ฆ่าลูก-ภรรยา ก่อนยิงตัวตาย 

ดังนั้น ผู้ที่มีอาการป่วยถึงขั้นเป็นโรคจิตเภท (Schizophrenia) จะต้องนำไปบำบัดรักษา หากนำมาจองจำแบบคนปกติ ก็จะยังคงมีอาการป่วยอยู่เช่นเดิม เมื่อพ้นโทษออกมาก็ยังป่วยอยู่ ต้องแก้ไขเยียวยาผู้ป่วยด้วย เพื่อให้เมื่อออกมาสู่สังคมอย่างปกติ

อ่านข่าว : ศาลจำคุก 25 ปี "ไอซ์ หีบเหล็ก" คดียาเสพติด 

ดังนั้นการพิจารณาของกระบวนการยุติธรรม จะต้องพิจารณาและวินิจฉัยให้ถูกต้อง เพื่อนำไปควบคุม หรือจองจำให้ถูกสถานที่เช่น คุมขังในเรือนจำแบบนักโทษปกติ หรือการบำบัดดูแลผู้ที่ป่วยให้หายในสถานบำบัด

จากไอซ์หีบเหล็ก สู่กล่องเหล็กฆ่าพ่อ-น้อง

ผศ.ร.ต.อ.จอมเดช กล่าวอีกว่า การก่อเหตุอาชญากรรมที่รุนแรงผิดวิสัยส่วนใหญ่มักจะพบว่ามีอาการผิดปกติเช่น กรณี “ไอซ์ หีบเหล็ก” แม้ไม่ได้ป่วยทางจิตแต่ใช้ยาเสพติด ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะไม่ปกติ เพราะในภาวะที่หลอนยาก็คือภาวะผิดปกติของมนุษย์ชนิดหนึ่งก็เหมือนกัน เช่น อาการเมาเหล้า 

อ่านข่าว : จับเยาวชนวัย 14 ปี "มือปืนยิงในพารากอน" ตาย 3 คน

รวมถึงกรณี เคสเด็ก 14 ปียิงที่พารากอน ก็มีภาวะทางจิตที่แม้ว่าจะไม่ถึงขั้นโรคจิตเภทก็ตาม ก็นับว่ามีพฤติกรรมเบี่ยงเบน (Deviance) ก็เกิดขึ้นได้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับว่า มีปัญหาทับถมมานาน มีความโกรธเกลียดใครสักคน หรือไม่พอใจสังคม ก็เกิดขึ้นได้

อ่านข่าว : "บ้านไอซ์" สยองซ้ำ พบศพที่ 3 ยัดหีบเหล็กถ่วงน้ำ 

ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่ก่ออาชญากรรมที่ไม่ได้ตัดสินใจทันที เช่น โมโหอย่างสุดขีดเมื่อพบว่าภรรยามีชู้ จึงก่อเหตุก็อยู่ในวิสัยที่เกิดขึ้นได้ แต่กรณีที่ผิดวิสัย เช่น กราดยิงโคราช และอื่น ๆ มักจะมีที่มาที่ไปจากอาการผิดปกติทางจิต

อ่านข่าว : หนุ่มรับฆ่าพ่อ-น้องสาว ยัดกล่องเหล็กถ่วงน้ำ - ตร.เค้นสอบหาสาเหตุ

ขณะที่การพบเหตุอาชญากรรมที่ผิดวิสัยถี่ขึ้น ผศ.ร.ต.อ.จอมเดช มองว่า อาจไม่ได้เกิดบ่อยขึ้น แต่อาจเป็นเพราะเห็นมากขึ้น เนื่องจากในอดีตการสื่อสารไม่ดีขนาดนี้ สื่อสังคมออนไลน์ไม่ได้มีมาก จนถึงขนาดที่ทุกคนสามารถเป็นสื่อได้ รวมถึงการสื่อสารที่รวดเร็ว ฉับไว เหตุที่เกิดขึ้นในพื้นที่ห่างไกล เช่นในตำบลหรืออำเภอ ต่าง ๆ อาจมีเหตุอาชญกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นแต่ไม่เป็นข่าว 

อย่างไรก็ตาม แนวทางในการเฝ้าระวัง และป้องกันการเกิดเหตุลักษณะนี้ แม้จะไม่ได้ป้องกันได้ 100 % แต่ผู้ที่จะมีภาวะป่วยทางจิตคนใกล้ชิดและคนในครอบครัวก็พอจะสังเกตได้

จุดเริ่มต้นจะเห็นได้จากการนอนไม่หลับ นอนยาก นอนน้อย หรือนอนวันละ 2-3 ชม.เท่านั้นส่วนใหญ่อาการทางจิตทั้งหลายจะเริ่มแบบนี้ แนะนำให้ไปพบจิตแพทย์ เพื่อรักษา

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง