ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

แรงกดดัน "Parasite" ที่เกาะติดสังคมเกาหลี

สังคม
29 ธ.ค. 66
17:46
9,344
Logo Thai PBS
แรงกดดัน "Parasite" ที่เกาะติดสังคมเกาหลี
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
การเสียชีวิตของ "อี ซอนคยุน" นักแสดงนำ Parasite เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ไม่เพียงแต่สร้างความโศกเศร้าต่อครอบครัว เพื่อน และแฟนคลับแล้ว ยังสะท้อนถึงปัญหาที่ถูกฝังรากจนคล้ายกับเป็นปรสิตที่อยู่กับ "สังคมเกาหลี" และคงยากที่จะสลัดออกไปได้

เกาหลีใต้ถูกตอกย้ำการเป็นประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุดของโลกอีกครั้ง หลังการปลิดชีพตัวเองของ "อี ซอนคยุน" นักแสดงนำ "Parasite ชนชั้นปรสิต" หลังถูกพบเป็นศพในรถยนต์ที่จอดอยู่ที่สวนสาธารณะในกรุงโซล เมื่อวันพุธที่ 27 ธ.ค.2566 ตามเวลาท้องถิ่น 

จุดพลิกผันเกิดขึ้นเมื่อเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา "อี ซอนคยุน" ถูกจับกุมและสอบสวนในข้อกล่าวหาใช้ยาเสพติดและยาชนิดอื่นๆ อย่างผิดกฎหมาย แม้เขาให้การปฏิเสธโดยระบุว่าถูกหลอกให้เสพยา แต่เรื่องอื้อฉาวที่เกิดขึ้น ทำให้เขาและภรรยาซึ่งเป็นนักแสดงเหมือนกัน ถูกยกเลิกสัญญาด้านการแสดงทั้งหมด และยังต้องจ่ายค่าปรับจำนวนมหาศาลโทษฐานผิดสัญญา ทนายความของเขาคาดว่าทั้งหมดนี้คือสาเหตุที่อาจจะทำให้เขาตัดสินใจกระทำสิ่งที่ไม่ควรทำ 

อ่าน : "อี ซอนคยุน" นักแสดงนำ Parasite ถูกพบเสียชีวิตในรถ

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา วงการบันเทิงเกาหลีสูญเสียศิลปินไปไม่น้อย โดยเฉพาะดารา K-Pop รุ่นเยาว์ นำไปสู่การสนทนาเกี่ยวกับสุขภาพจิตของคนดังและบุคคลสาธารณะชาวเกาหลี โดยเน้นไปที่ความกดดันที่พวกเขาต้องเผชิญในอุตสาหกรรมบันเทิงเกาหลี ที่ได้ชื่อว่ามีการแข่งขันสูงและตึงเครียดอีกประเทศหนึ่งในโลก 

ตามข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการเกาหลีในปี 2564 อัตราการฆ่าตัวตายในเกาหลีใต้อยู่ที่ 26 คนจากทุกๆ 100,000 ถือเป็นอัตราการฆ่าตัวตายที่สูงที่สุดในกลุ่มประเทศองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ในขณะที่เมื่อเทียบกับ "ญี่ปุ่น" ประเทศเพื่อนบ้านที่มีวัฒนธรรม สังคม ที่คล้ายกัน ตัวเลขของ OECD อยู่ที่ 15.7 หรือ 16 คน ต่อ 100,000 คน ส่วนสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 14 คน ต่อ 100,000 คน

จงฮยอน

จงฮยอน

จงฮยอน

ซอลลี่

ซอลลี่

ซอลลี่

BBC ระบุว่าในเดือน ธ.ค.2560 คิม จงฮยอน หรือ "จงฮยอน" วง SHINee ได้ปลิดชีพตัวเองเมื่ออายุ 27 ปี 2 ปีต่อมา นักร้อง K-Pop "ซอลลี่" ในวัย 25 ปี สมาชิกวง f(x) ถูกพบว่าเสียชีวิตที่บ้านของเธอ และอีก 6 สัปดาห์ต่อมา "กู ฮารา" ก็ถูกพบว่าเสียชีวิต ตำรวจจะไม่ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุการเสียชีวิต แต่คนส่วนใหญ่รวมถึงแฟนคลับเชื่อว่า "โรคซึมเศร้า" คือสาเหตุของการสูญเสียศิลปินสาววัย 28 ปีคนนี้ และในเดือน เม.ย.2566 แฟนๆ K-Pop ทั่วโลกต้องเสียใจกับการสูญเสีย "มุนบิน" สมาชิกวงบอยแบนด์ยอดนิยม Astro ที่จากไปในวัย 25 ปี 

กู ฮารา

กู ฮารา

กู ฮารา

มุนบิน

มุนบิน

มุนบิน

อ่าน : มุนบิน เสียชีวิต กรณีศึกษา โรงงานผลิต "K-POP Idol"

เป็นที่รู้กันว่าในอุตสาหกรรมบันเทิงเกาหลี ไอดอล K-Pop "ทุกคน" ต้องเผชิญกับ "แรงกดดัน" ทั้งจากต้นสังกัดและนักลงทุนที่ลงทุนในบริษัทผ่านตลาดหลักทรัพย์ "เรื่องอื้อฉาว" จึงไม่ควรเกิดขึ้น เพราะนอกจากจะส่งผลเสียต่อความนิยมจากเหล่าแฟนด้อมแล้ว ยังกระเทือนถึงกราฟบนกระดานหุ้นอีกด้วย ไอดอลเกาหลีหลายคนถึงกับมีเงื่อนไข "ห้ามออกเดท" ในสัญญาของพวกเขากับบริษัท 

แม้ปัจจุบันเหล่าแฟนคลับจะเริ่มเปิดใจมากขึ้นต่อ "ความรักของไอดอล" แต่เรื่องนี้ก็ยังไม่ถูกยอมรับในมิติของการเงิน การลงทุน ของเหล่านักลงทุนและนายหน้าผู้ทรงอิทธิพลในอุตสาหกรรมบันเทิงเกาหลีอยู่ดี  

"แรงกดดัน" สัมพันธ์กับ "สุขภาพจิต"  

ไม่ใช่เฉพาะวงการบันเทิงเท่านั้นที่ต้องเผชิญกับแรงกดดันจากสังคม ในเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา ครูหลายแสนคนในเกาหลีประท้วงครั้งใหญ่ หลังการปลิดชีพของครูคนหนึ่ง ซึ่งสะท้อนถึงระบบการศึกษาของเกาหลีที่มีความกดดันสูงและภาระที่เกิดขึ้นกับอาชีพครู ข้อมูลจากรัฐบาลระบุว่า ในช่วงปี 2561-2566 มีครูระดับประถมศึกษาโรงเรียนรัฐบาลฆ่าตัวตายเกือบ 100 คน

การประท้วงของครูเกาหลีใต้ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา

การประท้วงของครูเกาหลีใต้ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา

การประท้วงของครูเกาหลีใต้ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา

การเมืองของเกาหลีใต้ก็มีคดีที่โด่งดังเช่นกัน ในปี 2552 อดีต ปธน.โรห์ มูฮยอน ฆ่าตัวตายท่ามกลางการสอบสวนเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับการติดสินบน ซึ่งทำให้เขาเสื่อมเสียชื่อเสียง

อดีต ปธน.โรห์ มูฮยอน

อดีต ปธน.โรห์ มูฮยอน

อดีต ปธน.โรห์ มูฮยอน

เห็นได้ว่า แรงกดดัน ที่ฝังรากลึกในสังคมเกาหลีนั้นแพร่กระจายไปทั่วทุกสังคม ไม่เกี่ยงว่าจะเป็นชนชั้นไหน ยิ่งสำหรับวงการบันเทิง เหล่าไอดอล "ควร" ถูกดูแลเป็นพิเศษ เพราะเป็นกลุ่มที่จะอ่อนไหวต่อความคิดเห็นของสาธารณชนมาก Paik Jong-woo จิตแพทย์และผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายของเกาหลี กล่าวว่า 

เหล่าคนดังจำเป็นต้องให้การดูแลเป็นพิเศษและเข้มงวดเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย

ผลการศึกษาจากกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการเกาหลีเปิดเผยว่า อัตราการฆ่าตัวตายที่สูงในเกาหลี ส่วนหนึ่งมาจากการตีตราจากสังคม ชาวเกาหลีที่เป็นโรคซึมเศร้า จะไม่กล้าขอความช่วยเหลือเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะเหล่าป๊อปไอดอล ที่ไม่สามารถหาโอกาสพบจิตแพทย์ได้เลย ส่วนหนึ่งมาจากตารางเวลาการซ้อม การออกงานที่รัดแน่น และความกังวลที่ความนิยมในตัวจะถูกตัดทอน นำไปสู่การสร้างความอับอายต่อครอบครัว ต้นสังกัด และสาธารณชน 

ความชินชาที่อันตราย

อ.ไพบูลย์ ปีตะเสน ประธานศูนย์เกาหลีศึกษา ที่ปรึกษาสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มธ. เคยให้สัมภาษณ์กับไทยพีบีเอสออนไลน์ว่า สภาพสังคมหล่อหลอมประชากรให้ยึดติดกับคำว่า "ต้องประสบความสำเร็จ" จึงจะได้รับการยอมรับ แต่สังคมเกาหลีที่ไม่ได้นับถือศาสนา การดำรงชีวิตโดยปราศจากสิ่งยึดเหนี่ยว จึงเหมือนใบไม้ที่พร้อมปลิดปลิวออกจากกิ่งต้นไม้ได้ตลอดเวลา

อ.ไพบูลย์ ปีตะเสน ประธานศูนย์เกาหลีศึกษา ที่ปรึกษาสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มธ.

อ.ไพบูลย์ ปีตะเสน ประธานศูนย์เกาหลีศึกษา ที่ปรึกษาสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มธ.

อ.ไพบูลย์ ปีตะเสน ประธานศูนย์เกาหลีศึกษา ที่ปรึกษาสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มธ.

และกฎหมายเกาหลีใต้ ห้ามผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวนคดีอาญา เปิดเผยข้อเท็จจริงต่อสาธารณะ ต้นสังกัดหรือตัวแทนนักแสดงจึงทำได้แค่ขอความเป็นส่วนตัวให้กับครอบครัว ซึ่งก็ทำให้การแถลงที่เหมือนไม่แถลงนี้ อาจสร้างอันตรายต่อมุมมองคนเกาหลีในแง่ของ "การฆ่าตัวตายไม่ใช่เรื่องสำคัญ" เพราะสังคมจะเริ่มมองปรากฏการณ์ศิลปินจบชีวิตตัวเองเช่นนี้ด้วยความชินชา 

ทำไมกฎหมายเกาหลีถึงศักดิ์สิทธิ์ ?

ไม่ว่าใครก็ไม่สามารถเปลี่ยนกฎ และกฎจะไม่เปลี่ยนเพื่อใครคนใดคนหนึ่ง

เป็นคำอธิบายคอนเซปต์การบังคับใช้กฎหมายของประเทศเกาหลีใต้ที่ อ.ไพบูลย์ นิยามไว้ให้เข้าใจง่ายๆ แม้ทุกวันนี้คนภายนอกจะเห็นภาพของเกาหลีเป็นเมืองที่มีเสน่ห์ น่าหลงใหล แต่อีกด้านตัวเกาหลีเอง ยังเผชิญภาวะสงครามมาตลอด 70 ปี การบังคับให้คนอยู่ใน "วินัย" เพื่อหลีกเลี่ยงความวุ่นวายหากสงครามปะทุ จึงเป็นกรอบที่ครอบคนเกาหลีไว้จนมิด และคนเกาหลีก็ไม่ปฏิเสธว่า การอยู่ใต้กฎระเบียบอันเคร่งครัด "ทำให้เกาหลีเป็นเกาหลี" มาได้ทุกวันนี้ 

อีกประการหนึ่งคือ กฎหมายไม่เลือกชนชั้น ไม่ว่าจะเป็นผู้นำสูงสุดของเกาหลีอย่างประธานาธิบดีตลอดจนชนชั้นทั่วไป กฎหมายเกาหลีก็จะบังคับใช้ด้วยมาตรฐานเดียวกัน บทลงโทษที่รุนแรง และ ไม่มีข้อยกเว้น ไม่มีการพิจารณาเป็นรายบุคคล หลายครั้งทำให้ผู้ที่ถูกดำเนินคดี "ไม่สามารถหาทางออก" ที่ดีไปกว่าการจบชีวิตตัวเองได้  

เหล่านักแสดง Parasite

เหล่านักแสดง Parasite

เหล่านักแสดง Parasite

วัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ของเกาหลี คือ กระบวนการสอนทางสังคมที่ไม่ได้บัญญัติในตัวกฎหมาย "ผู้ชายที่ดี" ไม่ควรทำให้ครอบครัวเสียใจ ซ้ำหัวหน้าครอบครัวที่เป็นนักแสดงที่ประสบความสำเร็จระดับโลก นอกจากความรับผิดชอบต่อครอบครัวแล้ว การต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้สังคม กลับกลายเป็นปรสิตที่ติดตัว "อี ซอนคยุน" ในวันที่เขาล้มลง และเลือกทางออกด้วยการหายไปจากโลกเพื่อยุติปัญหาทุกอย่าง และคงไว้ซึ่งเกียรติของครอบครัวที่ยังต้องอยู่ ... ในสังคมที่เต็มไปด้วยปรสิตที่ชื่อ "แรงกดดัน"    

อ่านข่าวอื่น : "ฮีโร่ทุกเทศกาล" อาชีพที่ไม่ได้หยุดงานปีใหม่

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง