ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สหภาพยุโรปเปิดเจรจารับ "ยูเครน-มอลโดวา" เป็นสมาชิก

ต่างประเทศ
15 ธ.ค. 66
08:32
970
Logo Thai PBS
สหภาพยุโรปเปิดเจรจารับ "ยูเครน-มอลโดวา" เป็นสมาชิก
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
อีกสงครามที่ยืดเยื้อมาเข้าใกล้ 2 ปี "รัสเซีย-ยูเครน" ที่ระยะหลังสัญญาณการสนับสนุนยูเครนแผ่วลงมาก โดยเฉพาะกรณีที่สหรัฐฯ ยังไม่ไฟเขียวงบช่วยเหลือด้านกลาโหม แต่วันนี้มีข่าวดีสำหรับยูเครนเกิดขึ้น จากทางสหภาพยุโรป

วันนี้ (15 ธ.ค.2566) ร่วม 22 เดือนแล้วที่สงครามยืดเยื้อ ในที่สุดสหภาพยุโรปไฟเขียว เริ่มกระบวนการเจรจาเพื่อรับยูเครนและมอลโดวาเข้าเป็นสมาชิก ในการลงมติที่ผู้นำฮังการี งดออกเสียง และถือเป็นอีกก้าวสำคัญในประวัติศาสตร์ของการเปิดรับสมาชิกสหภาพยุโรปรายใหม่

โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ปธน.ยูเครน โพสต์ข้อความทางสื่อสังคมออนไลน์ ระบุว่า  EU ตัดสินใจเปิดการเจรจา เพื่อรับยูเครนและมอลโดวาเข้าเป็นสมาชิกแล้ว และขอบคุณทุกคนที่มีส่วนผลักดันเรื่องนี้ รวมถึงแสดงความยินดีกับชาวยูเครนทั้งหมด เช่นเดียวกับชาวมอลโดวา พร้อมทิ้งท้ายว่า ประวัติศาสตร์สร้างได้ด้วยมือของผู้ที่ไม่เหนื่อยหน่ายกับการต่อสู้เพื่อเสรีภาพ

ปธน.ยูเครนโพสต์ข้อความแสดงความดีใจ

ปธน.ยูเครนโพสต์ข้อความแสดงความดีใจ

ปธน.ยูเครนโพสต์ข้อความแสดงความดีใจ

ท่าทีดังกล่าวมีขึ้น หลังจาก CHARLES MICHEL ประธานสภายุโรป เปิดเผยว่าขณะนี้ได้เปิดการเจรจากับยูเครนและมอลโดวา เพื่อเริ่มกระบวนการรับเข้าเป็นสมาชิกแล้ว และจะให้สถานะประเทศผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิก EU แก่จอร์เจียด้วย ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนมิถุนายน EU มีมติรับรองให้ยูเครนและมอลโดวา เป็นประเทศผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิก ซึ่งเป็นก้าวสำคัญในประวัติศาสตร์

CHARLES MICHEL ประธานสภายุโรป

CHARLES MICHEL ประธานสภายุโรป

CHARLES MICHEL ประธานสภายุโรป

นายกฯ ฮังการี ยอมถอยงดออกเสียงขวางยูเครนเข้า EU

การเปิดไฟเขียวเริ่มเจรจารับยูเครนเป็นสมาชิกของผู้นำ EU ครั้งนี้เกิดขึ้นท่ามกลางความประหลาดใจ หลังจากก่อนหน้านี้ VIKTOR ORBAN นายกฯ ฮังการี ยืนกรานคัดค้านมาโดยตลอด แต่ในการลงมติที่เกิดขึ้นครั้งนี้ ORBAN ยอมเดินออกจากห้องประชุมเงียบๆ ก่อนที่ผู้นำชาติสมาชิกอีก 26 ประเทศ จะลงมติเห็นชอบการเริ่มกระบวนการอย่างเป็นเอกฉันท์ ซึ่งเขาโพสต์วิดีโอในภายหลังว่า ไม่เห็นด้วยกับท่าทีของชาติอื่นๆ จึงปลีกตัวออกจากการลงมติวันนี้ แต่ถึงอย่างไรก็ไม่ได้คัดค้านอย่างเป็นทางการ ถือเป็นเสมือนการงดออกเสียงในการลงมติ

VIKTOR ORBAN นายกฯ ฮังการี

VIKTOR ORBAN นายกฯ ฮังการี

VIKTOR ORBAN นายกฯ ฮังการี

เหตุการณ์ลักษณะนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในสภายุโรป โดยเฉพาะในการลงมติประเด็นหลักใหญ่สำคัญ อย่างการเปิดรับชาติสมาชิกใหม่

ด้านนายกฯ เบลเยียม ระบุว่า การที่นายกฯ ฮังการี ไม่อยู่ร่วมลงมตินั้น ไม่มีผลและไม่ได้ทำให้ EU เสียงแตก ส่วนนายกฯ ไอร์แลนด์ ระบุว่า ORBAN เลือกจะไม่ VETO มติครั้งนี้ แม้ว่าจะไม่เห็นด้วย และไม่ได้เปลี่ยนแปลงจุดยืนก็ตาม แต่สุดท้ายแล้วคือเขาตัดสินใจไม่ลงมติคัดค้านเช่นกัน

ขณะที่ภารกิจต่อไปของยูเครนในการเข้าเป็นสมาชิก คือต้องปฏิรูประบบต่างๆ เพื่อให้สอดรับกับมาตรฐาน EU  ไม่ว่าจะเป็นหลักนิติธรรม ไปจนถึงเรื่องเศรษฐกิจ ซึ่งผู้นำระดับสูงใน EU เคยกล่าวไว้ว่ายูเครนบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ไปแล้วกว่าร้อยละ 90 โดยเฉพาะเรื่องระบบยุติธรรม และการแก้ไขปัญหาการทุจริตภายในประเทศ

โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ปธน.ยูเครน

โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ปธน.ยูเครน

โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ปธน.ยูเครน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง