ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ลูกค้ากังขาคุณภาพสัญญาณโครงข่ายโทรคมนาคม หลังควบรวม "ทรู-ดีแทค"

เศรษฐกิจ
14 ธ.ค. 66
19:52
3,328
Logo Thai PBS
ลูกค้ากังขาคุณภาพสัญญาณโครงข่ายโทรคมนาคม หลังควบรวม "ทรู-ดีแทค"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ยังเป็นข้อกังขา ว่าการควบรวมกิจการของบริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ ได้ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาว่า เมื่อควบรวมบริษัทแล้ว จะไม่ส่งผลกระทบต่อลูกค้า และยังยกระดับคุณภาพการให้บริการได้ดีขึ้น จริงหรือไม่ หลังพบข้อร้องเรียนคุณภาพสัญญาณโครงข่ายอินเทอร์เน็ตสูงขึ้นในระยะหลัง

#เน็ตล่ม #ทรูล่ม #เน็ตทรู ถูกโพสต์ถึงมากในช่วง 1-2 วันนี้ ในแอปพลิเคชัน X  ใจความที่โพสต์บางส่วน ระบุถึงการแจ้งให้พนักงานตรวจสอบสัญญาณอินเทอร์เน็ตแล้ว แต่ 2 วันยังใช้งานไม่ได้เหมือนเดิม บางคนระบุว่า สัญญาณอินเทอร์เน็ตล่มบ่อย

อ่านข่าว : ศาลปกครองสูงสุด รับคำฟ้องถอนมติควบรวมทรู-ดีแทค  

สอดคล้องกับ ผลศึกษาข้อร้องเรียนของผู้บริโภค ของ รศ.ฐาศุกร์ จันประเสริฐ อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มศว โดยพบปัญหามากที่สุดในกิจการโทรคมนาคม โดยเฉพาะเรื่องของสัญญาณอินเทอร์เน็ต และความเร็ว ซึ่งตั้งแต่ควบรวมโครงข่าย ปัญหานี้ ของมีเสียงสะท้อนจากประชาชนมากขึ้น ต่อเนื่อง

ศ.ฐาศุกร์ จันประเสริฐ อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มศว

ศ.ฐาศุกร์ จันประเสริฐ อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มศว

ศ.ฐาศุกร์ จันประเสริฐ อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มศว

สถิติร้องเรียนสูงขึ้นสองเท่าหลังควบรวมโครงข่าย

นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา อดีต กสทช. และ ประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม มองว่า หากโครงข่ายจะปรับปรุง และอาจส่งผลให้เกิดสัญญาณล่ม ไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ต หรือ โทรศัพท์ จะต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบก่อน แต่ในทางปฏิบัติมีการแจ้งเตือนน้อยมาก จนเกิดข้อร้องเรียนตามมา

ขณะเดียวกัน หลังการควบรวมค่ายมือถือ ระหว่างทรู และดีแทค ยังพบข้อร้องเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ก่อนการควบรวม ส่วนใหญ่ จะเป็นเรื่องของคุณภาพสัญญาณและค่าบริการ นอกจากนี้การควบรวมยังส่งผลให้ความเร็วของสัญญาณลดลง เพราะมีการยุบเสาสัญญาณที่อยู่ใกล้กันเพื่อลดต้นทุนธุรกิจแต่จำนวนผู้ใช้สัญญาณมาจาก 2 โครงข่ายจึงแย่งกันใช้มากขึ้น

อ่านข่าว : มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ฟ้องศาลฯ เพิกถอนมติ กสทช. กรณีควบรวม "ทรู - ดีแทค"

นพ.ประวิทย์ ระบุว่า กสทช.ได้ตั้งอนุกรรมการติดตามปัญหาดังกล่าว ตั้งแต่เดือน มี.ค. โดยเฉพาะกลุ่มที่ค่าบริการอยู่ในระดับกลางและต่ำ เพราะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการส่งผลดังกล่าว กสทช.จึงไม่สามารถติดตามการแก้ไขปัญหาได้ 

นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม

นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม

นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม

อดีต กสทช.อีกคน เสนอให้ กสทช.ทบทวนการควบรวมกิจการโทรคมนาคม หลังการออกมาตรการเฉพาะกับกิจการควบรวมไม่เป็นผล ทั้งคุณภาพบริการที่ลดลง ค่าบริการไม่ได้ลดลงตามเงื่อนไข เชื่อว่า ทางออกคือการศึกษาเปิดเสรีโทรคมนาคม เพื่อสร้างทางเลือกให้ประชาชน

อ่านข่าว : ทรู - ดีแทค ควบรวมสำเร็จ ตั้ง "มนัสส์" นั่งซีอีโอคนใหม่ของ "ทรู คอร์ปอเรชั่น" 

น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ ประธานอนุกรรมการด้านสื่อสารฯ สภาองค์กรของผู้บริโภค

น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ ประธานอนุกรรมการด้านสื่อสารฯ สภาองค์กรของผู้บริโภค

น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ ประธานอนุกรรมการด้านสื่อสารฯ สภาองค์กรของผู้บริโภค

น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ ประธานอนุกรรมการด้านสื่อสารฯ สภาองค์กรของผู้บริโภคเรียกร้องให้ ทีดีอาร์ไอ และสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ศึกษาวิจัยความเป็นไปได้ ผลดีผลเสียของการเปิดเสรีโทรคมนาคม เพื่อรองรับการขยายตัวของการใช้บริการ ขณะเดียวกัน เรียกร้องให้มีแอปพลิเคชั่น ของหน่วยงานภาครัฐ ตรวจสอบคุณภาพสัญญาณมือถือและอินเทอร์เน็ต 

อ่านข่าว

#หยุดผูกขาดมือถือ ติดเทรนด์ จับตา กสทช.ถกควบรวม "ทรู-ดีแทค"  

จับตา! บอร์ด กสทช.ถกดีลควบรวม "ทรู-ดีแทค" 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง