ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"ทีดีอาร์ไอ" ชี้ การศึกษาแย่ทุกทักษะ ทำคะแนน PISA เด็กไทยลดต่อเนื่อง

สังคม
13 ธ.ค. 66
18:08
1,282
Logo Thai PBS
"ทีดีอาร์ไอ" ชี้ การศึกษาแย่ทุกทักษะ ทำคะแนน PISA เด็กไทยลดต่อเนื่อง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ทีดีอาร์ไอชี้ระบบการศึกษาอ่อนแอ ทำคะแนน PISA ของเด็กไทยหล่น เน้นท่องจำ-ประยุกต์ใช้ความรู้ไม่ได้ วิเคราะห์ไม่เป็น พบปม 15 ปี ไม่เคยปรับหลักสูตรการเรียน เสนอรัฐบาลควบรวมรร.ขนาดเล็ก เร่งปรับฯให้เสร็จภายใน 3 ปี

วันนี้ (13 ธ.ค.2566) นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) แถลงเรื่อง ผลสอบ PISA สัญญาณเตือน วิกฤตการศึกษาแก้ปัญหาให้ถูกจุดว่า หลังผลประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล PISA

ล่าสุดปี 2022 พบว่า นักเรียนไทยอายุ 15ปี คะแนนลดลงทุกด้าน ทั้ง คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน ซึ่งผลประเมินดังกล่าวสอดคล้องกับ ผลการศึกษาของ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ซึ่งพบในส่วนของความสามารถในการอ่านวิเคราะห์และจับใจความของเด็กไทยต่ำมาก และต้องเร่งแก้ไข เรื่ให้เยาวชนไทยหันมาสนใจการอ่าน

ควรแยกวิชาการอ่าน ออกจากวิชาภาษาไทย เพื่อเด็กไม่ต้องอ่านเฉพาะเนื้อหาการเรียน แต่สามารถอ่านได้หลากหลายทั้งนิยาย วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ เพราะในวิชาภาษาไทยมีทั้งการสะกดคำ วรรณยุกต์ และวรรณคดี เพื่อคงสาระสำคัญของหัวใจการเรียน ที่ต้องเริ่มจากการอ่านก่อน

ดร.สมเกียรติ กล่าวอีกว่า ส่วนกระทรวงศึกษาธิการ ต้องมีนโยบายและหลักสูตรทางการศึกษาให้ชัด เพื่อพัฒนาแนวทางการศึกษาไทยให้ทัดเทียม สิงคโปร์ หรือฟินแลนด์ เนื่องจากปัจจุบันหลักสูตรการศึกษาไทย ไม่ได้ปรับปรุงมานานกว่า 15 ปีแล้ว

สำหรับบทบาทของผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการที่ผ่านมา มักดำรงตำแหน่งไม่นาน และควรมีความเข้าใจในระบบการศึกษา แต่ไม่จำเป็นต้องเคยผ่านงานสอนหรือเป็นครูมาก่อน ไม่เห็นนั้นคงจะมองแต่ภาพการบริหารใหญ่ สิ่งสำคัญคือการพัฒนาระบบหลักสูตร การเรียนการสอน พัฒนาครูผู้สอน ครูไม่ต้องทำงานธุรการ หรือ อย่างอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการสอนและการพัฒนาเด็ก

ด้าน นายพงศ์ทัศ วนิชานันท์ นักวิจัยอาวุโส ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า ผลการศึกษาพบสาเหตุการผลประเมิน PISA ของไทย ลดลงต่อเนื่อง เกิดจากปัญหาด้านระบบการศึกษาที่อ่อนแอ ไม่ได้เกิดจากผลพวงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 แม้จะส่งผลให้โรงเรียนส่วนใหญ่ถึง ร้อยละ 60 ต้องปิดชั่วคราวไม่น้อยกว่า 3 เดือน แต่ไม่ใช่สาเหตุหลักที่ทำให้คะแนนของเด็กไทยลดลง

เมื่อเปรียบเทียบคะแนน PISA ของเด็กไทยกับกลุ่มประเทศ OECD ตั้งแต่ ปี 2012-2022 พบว่า คะแนนเป็นเหมือนกันทั่วโลก ที่เฉลี่ยมีคะแนนลดลงทุกด้านต่อเนื่อง ในรอบ 10 ปี ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น ด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์

ส่วนสมรรถนะหรือความสามารถ ในการนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันพบว่า เด็กส่วนใหญ่มีความรู้ แต่ความรู้ที่ได้นั้นเป็นเชิงท่องจำ ไม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ และเมื่อเปรียบเทียบ คะแนน PISA ระหว่างเด็กรวย-จน พบว่า ผลคะแนนไม่แตกต่าง ทั้งนี้เป็นเพราะคะแนนไม่ได้สูงขึ้น แต่พบการนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ เด็กรวยทำได้ดีกว่า

นายพงศ์ทัศ กล่าวอีกว่า จากการศึกษายังพบว่า ระบบการศึกษาอ่อนแอเกิดจาก การลงทุน-เงิน-เวลา เนื่องจากการเปรียบเทียบของรายได้ เงินเดือนของครู หรือการพัฒนาการศึกษาของครูไทยกับครูต่างประเทศ พบว่าในต่างประเทศมีความสนใจ ในการพัฒนาระบบการศึกษา และวิชาชีพครู ทั้งเงินเดือน และโอกาสทางการศึกษาต่อ

โดยเฉพาะสิงคโปร์ มีการปรับหลักสูตรการสอน ทุก 6 เดือน และมีการตรวจสอบค่าตอบแทนครูกับวิชาชีพอื่นอย่างสม่ำเสมอ เช่นเดียวกัน ประเทศฟินแลนด์ มีการปรับหลักสูตรการสอนทุก 10 ปี และครูต้องจบปริญญาโท

นักวิจัยจากสถาบันทีดีอาร์ไอ ยังกล่าวอีกว่า ควรมีการปรับแก้ระบบการศึกษา 3 ระยะ คือ ลดภาระงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการสอนของครู เพื่อให้ครูได้ทำหน้าที่พัฒนาการเรียนการสอนอย่างเดียว ขณะที่รัฐบาลควรปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้เสร็จสิ้นภายใน 3 ปี และสุดท้ายควรควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ในพื้นที่ห่างไกล เพื่อเพิ่มจำนวนครูให้สามารถสอนในวิชาต่างๆได้ครบ

อ่านข่าวอื่นๆ

ป.ป.ช.ตรวจการจัดเก็บรายได้อุทยานฯ จ.สตูล พบช่องโหว่หลายจุด

"มาดามแป้ง" ประชุม "อิชิอิ" วางแผนทีมก่อนอุ่นเครื่องญี่ปุ่น 1 ม.ค.นี้

"ชาวคลิตี้" ร้องแก้สารตะกั่วตกค้างในดินยังเกินมาตรฐานสูง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง