ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สภากลาโหม เคาะเพิ่ม 3 โรคไม่ต้องเกณฑ์ทหาร

การเมือง
8 ธ.ค. 66
16:07
17,005
Logo Thai PBS
สภากลาโหม เคาะเพิ่ม 3 โรคไม่ต้องเกณฑ์ทหาร
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สภากลาโหม ไฟเขียวร่าง พ.ร.บ.เคาะ 3 โรคโรคตุ่มน้ำพอง โรคลำไส้พองแต่กำเนิด โรคเอนไซม์เม็ดเลือดแดงผิดปกติ ไม่ต้องเกณฑ์ทหาร จากเดิม 12 โรคต้องห้าม

วันนี้ (8 ธ.ค.2566) พล.ร.ต.ธนิตพงศ์ สิริเศวตศักดิ์ โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า ที่ประชุมสภากลาโหม ได้รับทราบรายงานตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบการเสนอของสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) แต่งตั้งคณะกรรมการ 2 คณะ คือ คณะกรรมการนโยบายและอำนวยการการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และรมว.กลาโหม เหล่าทัพ เป็นกรรมการ

โดยคณะกรรมการชุดนี้จะเป็นกลไกในการแก้ไขสถานการณ์การก่อการร้ายสากลในปัจจุบัน ในช่วงการเปลี่ยนผ่าน ให้กลับไปสู่สภาความมั่นคงแห่งชาติ ที่จะเป็นกลไกหลักในการแก้ไขสถานการณ์เพื่อให้เกิดความคล่องตัว และรวดเร็วมากยิ่งขึ้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ

คณะกรรมการชุดที่ 2 คือ คณะกรรมการพิจารณาปัญหาเขตแดนของประเทศไทย ซึ่งมีสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นประธาน มีผู้แทนเหล่าทัพเป็นกรรมการ เรื่องนี้ถือว่ามีความจำเป็น เพราะกรรมการมีอำนาจในการพิจารณาปัญหาที่มีผลกระทบต่อพื้นที่ชายแดนหรือปัญหาเขตแดนในเชิงยุทธศาสตร์ หรือระดับนโยบายอำนาจที่กระทบต่อนโยบายต่างประเทศ

ซึ่งในวันที่ 21-22 ธ.ค.นี้ รมว.กลาโหม จะมีการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-ลาว พูดคุยเรื่องการค้าชายแดนปัญหาในเรื่องสภาวะโลกร้อน ทำให้เกิดน้ำลด เกาะ แก่ง หรือเกิดกรณีใดเพิ่มขึ้นมา ทำให้เขตแดนเปลี่ยนก็ต้องมีการคุยกันต่อไป

นอกจากนี้ ที่ประชุมสภากลาโหมเห็นชอบ ร่างพ.ร.บ.ออกตามความ ร่าง พ.ร.บ.การรับราชการทหาร พ.ศ.2497 โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติม 3 กลุ่มโรค จากเดิม 12 เป็น 15 คือ โรคตุ่มน้ำพอง โรคลำไส้พองแต่กำเนิด โรคเอนไซม์ เม็ดเลือดแดงผิดปกติ (G6PD) ซึ่งทำให้เกิดความไม่สมบูรณ์ของทหารกองเกิน ที่จะเข้าเป็นทหารกองประจำการ

สำหรับ 12 กลุ่มโรคไม่ต้องเกณฑ์ทหาร มีดังนี้ 

  • โรคหรือความผิดปกติของตา
  • โรคหรือความผิดปกติของหู
  • โรคของหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคเลือดและอวัยวะสร้างเลือด
  • โรคของระบบหายใจ
  • โรคของระบบปัสสาวะ
  • โรคหรือความผิดปกติของกระดูก ข้อ และ กล้ามเนื้อ
  • โรคของต่อมไร้ท่อและภาวะผิดปกติของเมตาบอลิซึม
  • โรคทางประสาทวิทยา
  • โรคติดเชื้อ
  • โรคทางจิตเวช
  • โรคอื่น ๆ อาทิ กะเทย, มะเร็ง, ตับอักเสบเรื้อรัง, ตับแข็ง, คนเผือก, โรคลูปัสอิธิมาโตซัส, กายแข็ง และรูปวิปริตต่างๆ

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง