ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"ไบโอฟีดแบค" ตรวจความเครียด แพทย์แนะหาวิธี "move on"

สังคม
4 ธ.ค. 66
16:07
1,014
Logo Thai PBS
 "ไบโอฟีดแบค" ตรวจความเครียด  แพทย์แนะหาวิธี "move on"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เครียดสะสม ! ปัญหาปกติคนไทย แพทย์ชี้ใช้สิทธิประเมินสุขภาพจิตได้ ทุกสิทธิรักษา ตรวจเองจ่าย 500 บาท มีบริการทุกรพ.จิตเวช แนะเลี่ยงปะทะโต้แย้ง ระบายคนใกล้ชิด -รู้วิธีมูพ ออน ก่อนสะสมป่วยซึมเศร้า

วันนี้ (4 ธ.ค. 2566 ) พญ.จุฬาพันธุ์ เหมกูล ผอ.รพ.จิตเวชเลยราชนครินทร์ เปิดเผยภายหลัง นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ได้ทดลองใช้เครื่องไบโอฟีดแบค หรือเครื่องคัดกรองสภาวะสุขภาพจิต เมื่อวันที่ื 3 ธ.ค.ที่ผ่านมา ระหว่างเดินทางลงพื้นที่ครม. สัญจร ที่.หนองคาย  โดยผลระบุนายกฯ มีความเครียด ว่า เครื่องดังกล่าวมีลักษณะการทำงานคล้ายกับ วัดความดันโลหิต ,วัดอุณหภูมิร่างกาย หรือ วัดระดับออกซิเจนในเลือด โดยใช้วัดสภาพความเครียดในขณะนั้น ไม่ได้หมายว่า ความเครียดดังกล่าวจะคงอยู่ตลอดไป โดยวิธีการวัดจะใช้เครื่องวัดที่ปลายนิ้วเท่านั้น จากนั้นเครื่องจะแสดงผลทั้ง อัตราการเต้นของหัวใจ และกราฟความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ ระบบประสาท อย่างไรก็ตาม หากจะวัดว่ามีความเครียดสะสมหรือไม่ ต้องประกอบกับการพูดคุยกับจิตแพทย์

ผอ.รพ.จิตเวชเลยราชนครินทร์ อธิบายหลักการทำงานของเครื่องไบโอฟีดแบคว่า มีลักษณะการวัด3 ด้าน คือ วัดระบบประสาทอัตโนมัติ ดูว่าระบบซิมพาเทติก และระบบพาราซิมพาเทติก มีความสมดุลหรือไม่ โดยระบบซิมพาราเทติก ทำหน้าที่ภายใต้แรงกดดัน เพื่อให้ร่างกายตอบสนองในภาวะคับขัน เช่น การต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอด หรือการหนีจากภัยคุกคามเฉพาะหน้า ใช้ตรวจวัดว่า มีความหงุดหงิด โมโห ส่วนระบบพาราซิมพาเทติก ทำหน้าที่ควบคุมกิจกรรมใต้สำนึกต่าง ๆ ของร่างกายและอวัยวะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมเกี่ยวกับการพักผ่อน การย่อยอาหาร ถ้ามีมากเกินไปก็ทำให้ร่างกาย เนื่อยนิ่ง ไม่กระตือรือร้น ฉะนั้นการทำงานของระบบต้องสมดุลไม่มากไปน้อยไป

วัดอัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติหรือไม่ ปกติหัวใจเต้น 60-100 ครั้ง/นาที หากมากเกินกว่านี้ ถือว่ามีความผิดปกติ และสะท้อนถึงอารมณ์ในขณะนั้น ไม่ว่าจะเป็น ตื่นเต้น ดีใจที่เจอคนรัก ,หรือ เจอคนที่ไม่ชอบรู้สึกไม่ชอบ โกรธ หรือ หวาดกลัว และวัดอัตราความตึงเครียดของมวลกล้ามเนื้อ เหมือนกับคนเราทั่วไป ที่ร่างกายหากมีความเครียด หรือ ทำงานมากเกินไป จะเกิดอาการตึงเกร็ง บริเวณกล้ามเนื้อ คอ บ่า ไหล่ ซึ่งการแสดงผลจะเป็นในลักษณะกล้าม

"ไบโอฟีดแบค"ใช้รพ.จิตเวชทั่วประเทศ

พญ.จุฬาพันธุ์ กล่าวว่า ปัจจุบัน เครื่องไบโอฟีดแบค กระจายอยู่ในรพ.จิตเวช ทั่วประเทศ จะใช้วัดสภาวะความเครียดในขณะนั้น คนทั่วไปสามารถขอประเมินและคัดกรองภาวะสุขภาพจิตได้ ครอบคลุมทุกสิทธิรักษา ทั้งสวัสดิการข้าราชการ ,ประกันสังคม ,หลักประกันสุขภาพ หรือ หากต้องการใช้บริการตรวจเอง เสียค่าใช้จ่ายเพียงครั้งละ 500 บาท ในการประเมิน ร่วมกับการแพทย์จิตแพทย์ ทั้งนี้ การจะรู้ตัวว่าตนเองมีความเครียดหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับหลายองค์ประกอบเช่น นอนไม่หลับ ไม่สามารถมูฟออน ออกจากเรื่องที่เผชิญอยู่ มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ฉะนั้นทุกคนต้องรู้จักวิธีการจัดการกับความเครียด ทำให้ร่างกายสมดุล ไม่เช่นนั้น ในระยะอาจกลายเป็นโรคซึมเศร้า หรือ ป่วยจิตเวช 

หากจะให้มีการประเมินว่า ปัจจุบันคนไทยมีภาวะเครียดสะสมกี่คน ไม่สามารถประเมินได้ เนื่องจากความเครียด ถือเป็นเรื่อง หรือ อาการปกติ ที่คนทุกคนต้องเผชิญและเป็นแรงขับ ผลักดันในคนได้ดำเนินกิจกรรมบางอย่างต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้ หรือการหนี และหากให้จำแนกความเครียดที่พบ ส่วนใหญ่ มีทั้งปัจจัยเศรษฐกิจ สังคม และครอบครัว แต่ทุกคนต้องรู้จะวิธีคลายเครียด และปล่อยวาง เพื่อลดความเครียด

สำหรับแนวทางในการตลายเครียดนั้น ผอ.รพ.จิตเวชเลยราชนครินทร์ กล่าวว่า ทำได้หลายวิธี เช่น การระบายกับคนใกล้ชิด แฟน ,เพื่อน ,คนในครอบครัว หรือ การขอรับคำปรึกษาจากจิตแพทย์ หรือหลีกเลี่ยงการปะทะโต้แย้ง หรือ เลี่ยงความขัดแย้ง ส่วนจะรู้ตัวเองว่าความ เครียดนั้นได้หายไปแล้วหรือไม่ก็ต่อเมื่อไม่ได้มีการเก็บมาคิดหรือกังวลในเรื่องนั้นอีก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง