ถ้วยจีนที่ขุดค้นทางโบราณคดีเวียงกุมกาม พบที่วัดหนานช้าง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งภายในภาชนะดินเผาหม้อปากผายขนาดใหญ่ จำนวน 47 ใบ ได้แก่ เครื่องถ้วยจีนสีน้ำเงิน ประเภท จาน ถ้วย ชาม กระปุก และตุ๊กตาช้าง อีกส่วนเรียงในชั้นตะกอนน้ำพัดพา จำนวน 8 ใบ
สายกลาง จินดาสุ นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ เปิดเผยว่า โบราณวัตถุทั้งหมดเป็นเครื่องถ้วยจากแหล่งเตา “จิ่งเต๋อเจิ้น” ของจีนในราชวงศ์หมิงอายุราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 และพบจานก้นลึก ที่ก้นเขียนอักษรจีนว่า “ต้า หมิง ว่าน ลี่” แปลความได้ว่า ผลิตในรัชสมัยจักรพรรดิว่านลี่ แห่งราชวงศ์หมิง
โบราณวัตถุทุกชิ้นเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่
“นกฟีนิกซ์” เป็นสัญลักษณ์จักรพรรดินี หมายถึง ความรุ่งเรือง
“กระต่าย” แฝงความหมายถึง อายุยืน ตามความเชื่อกระต่าย กับกวางดาว คือสัตว์ที่ขุดหาเห็ดหลินจือกินได้ และอีกความเชื่อหนึ่งนิทานจีนโบราณ กระต่าย คือ สัตว์ที่ตำยาที่เป็นน้ำอมฤตบนดวงจันทร์ กระต่ายจะรู้สูตรน้ำอมฤต อะไรที่มีกระต่ายจึงหมายถึง อายุยืน
“เป็ดกับกอบัว” หมายถึงการมีชีวิตสมรสที่ยั่งยืน
“เด็ก” คือ ความอุดมสมบูรณ์ กับ ความมีชีวิตชีวา
“นกกระเรียน” แทนสองความหมาย คือ ความเป็นปราชญ์ ผู้รู้ บัณฑิต อีกความหมายคือ สัตว์ส่งวิญญาณ
“ต้นไม้” จำพวก 3 สหาย ต้นไผ่ ต้นท้อ ต้นสน เป็นพืชที่ผ่านฤดูหนาวได้ ความหมายที่วาด 3 อันร่วมกันหมายถึง มิตรภาพที่ยั่งยืน
โบราณวัตถุทุกชิ้นเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่
โบราณวัตถุทุกชิ้นเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่
ส่วนวันนี้กรมศิลปากร เชิญชวนประชาชนสวมชุดพื้นเมือง นั่งรถม้าเยี่ยมชมโบราณสถานยามค่ำคืน “แอ่วกุมกามยามแลง” การแสดงโขน และนิทรรศการ ในวันที่ 1-2 ธ.ค.นี้ เวลา 16.00-21.00 น. ณ ลานกิจกรรมวัดอีก้าง-วัดหนานช้าง เวียงกุมกาม
โกวิทย์ บุญธรรม ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอส ศูนย์ข่าวภาคเหนือ