ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

หนาวนี้ ! ป่วยโควิดพุ่ง "โอมิครอน" ระบาด นอน รพ. 24,590 คน

สังคม
29 พ.ย. 66
15:20
55,912
Logo Thai PBS
หนาวนี้ ! ป่วยโควิดพุ่ง "โอมิครอน" ระบาด นอน รพ. 24,590 คน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมควบคุมโรค เผยคนติดเชื้อโควิดพุ่ง "โอมิครอน" ระบาด นอน รพ. 24,590 คน ป่วยหนัก 3,277 คน สวนทางป่วยไข้หวัดใหญ่ลดลง

วันนี้ (29 พ.ย. 2566) นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รักษาราชการแทนอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึง สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ตั้งแต่ต้นเดือน พ.ย.2566 ว่ามีแนวโน้มพบผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่มีอาการน้อย และยังคงเป็นสายพันธุ์ Omicron

นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รักษาราชการอธิบดีกรมควบคุมโรค

นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รักษาราชการอธิบดีกรมควบคุมโรค

นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รักษาราชการอธิบดีกรมควบคุมโรค

ส่วนกรณีประเทศจีนว่าพบการระบาดของโรคติดต่อทางเดินหายใจเป็นวงกว้างและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศจีน ตั้งแต่เดือน ต.ค.เป็นต้นมา ทำให้หลายประเทศให้ความสนใจต่อข่าวนี้เป็นอย่างมาก ซึ่งกรมควบคุมโรคได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้ข้อมูลว่า ทางการจีนได้แจ้งสาเหตุแล้ว พบมีการป่วยเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยเชื้อก่อโรคทางเดินหายใจ เช่น เชื้อไมโคพลาสมา (Mycoplasma pneumoniae) ไข้หวัดใหญ่ ไวรัสอาร์เอสวี (RSV) ไวรัสอะดีโน (Adenovirus) พบผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็ก อย่างไรก็ตามข้อมูลจากการสอบสวนโรคไม่พบเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่

ส่วนสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ มีแนวโน้มลดลง ข้อมูลวันที่ 21 พ.ย.2566 ระบุว่า พบผู้ป่วยแล้ว 404,896 คน เสียชีวิต 26 คน กลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเด็กเล็กและเด็กวัยเรียน อายุแรกเกิด-14 ปี

ขณะที่โรคติดเชื้อไวรัส RSV ซึ่งเป็นโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ พบการระบาดลดลงเช่นเดียวกัน

สำหรับข้อมูลสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 20-26 พ.ย.2566 พบว่า มีรายงานผู้ติดเชื้อโควิด รวม 480 คน เฉลี่ยวันละ 69 คน และมีรายงานผู้เสียชีวิต 2 คน โดยสัปดาห์ดังกล่าวมีการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยจากสัปดาห์ก่อนๆ เล็กน้อย

สอดคล้องกับการคาดการณ์โรคว่า มีแนวโน้มพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ประมาณการจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 รักษาในโรงพยาบาล 24,590 คน ผู้ป่วยอาการหนักรวม 3,277 คน ซึ่งองค์การอนามัยโลกยังคงแนะนำให้กลุ่มเสี่ยงโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวและเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี เข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้น

อ่านข่าวอื่นๆ

ไฟไหม้ หอประชุม มทร.รัตนโกสินทร์ หัวหิน - จนท.เร่งหาสาเหตุ

เศรษฐกิจส่อฟื้น กนง.มติเอกฉันท์ คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2.50%

โดน “หมูเถื่อน” กัดจมเขี้ยว เงื่อนปมเด้ง "อธิบดีดีเอสไอ"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง