ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ขจัดเอดส์ ในวัยว้าวุ่น 2573 "หยุดได้" ต้องร่วมใจหยุดเสี่ยง

สังคม
29 พ.ย. 66
10:26
594
Logo Thai PBS
ขจัดเอดส์ ในวัยว้าวุ่น 2573 "หยุดได้" ต้องร่วมใจหยุดเสี่ยง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

องค์การอนามัยโลกกำหนดให้วันที่ 1 ธันวาคมของทุกปี เป็น วันเอดส์โลก (Word AIDS Day) เพื่อให้สังคมตระหนักถึงโรคและการป้องกัน โดยปีนี้ใช้ธีมรณรงค์ “Let Communities Lead” มุ่งมั่นให้ทุกภาคส่วน ทั้งชุมชน องค์กร เยาวชน เข้าใจการป้องกันเอดส์ โดยตั้งเป้าขจัดปัญหาเอดส์ ให้หมดไปในปี 2573

ข้อมูลจากกองโรคเอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรคในปี 2565 สถานการณ์การติดเชื้อเอชไอวี ของไทย ในปี 2565 พบผู้ป่วยรายใหม่ถึง 9,230 คน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเยาวชนอายุ 15-24 ปี  จำนวน 4,379 คน หรือ 47.44% ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด

จำนวนนี้ ส่วนหนึ่งยังเป็นกลุ่มชายรักชาย และมีผู้ติดเชื้อสะสมรวม 561,578 คน และในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิต 10,972 คน

อ่านข่าว : หนาวนี้ ! ป่วยโควิดพุ่ง "โอมิครอน" ระบาด นอนรพ. 24,590 คน

นายสุธี ชุดชา รองประธานสภาเด็กและเยาวชนแห่งประ เทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้ทางสภาเด็กฯกำลังเร่งให้ความรู้เยาวชนในการป้องกันตนเองจากโรคเอดส์ และโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ด้วยการใช้ถุงยางอนามัย เพราะเชื่อว่าการติดเชื้อเอชไอวีในหมู่เยาวชน เกิดจากอารมณ์เป็นใหญ่ ทำให้ไม่ได้สนใจเรื่องการป้องกันโรคซึ่งช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา พบปัญหาโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ในหมู่เยาวชน ทั้ง ซิฟิลิส หนองใน หนองในเทียม และเอชไอวี แต่ปัญหาหรือท้องไม่พร้อมในวัยเรียนกลับลดลง

เมื่อสนุกกับเซ็กส์ อาจทำให้ลืมเรื่องการป้องกันโรค ซึ่งในวัยรุ่นส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะนั้ ทั้งๆที่ ถุงอนามัยใช้ง่าย และสามารถป้องกันโรคติดต่อได้ถึง 98%

ติดเอชไอวี ได้ของแถม"หนองใน-ซิฟิลิส"

พญ.สุชาดา เจียมศิริ รองผอ.กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค

พญ.สุชาดา เจียมศิริ รองผอ.กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค

พญ.สุชาดา เจียมศิริ รองผอ.กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค

พญ.สุชาดา เจียมศิริ รองผอ.กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค ให้ข้อมูลว่า สถานการณ์การติดเชื้อเอชไอวี ในกลุ่มวัยรุ่นยังคงครองแชมป์ โดยพบว่า พฤติกรรมการติดเชื้อมาจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย รวมทั้งกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ ชายรักชาย หรือ หญิงรักหญิง ซึ่งขาดการป้องกัน

ในขณะที่อัตราการใช้สารเสพติดชนิดฉีดที่อาจเสี่ยงกับการติดเชื้อลดลง ไม่ถึง 10% และยังพบอีกว่า เมื่อติดเชื้อเอชไอวีแล้ว ผู้ป่วยยังอาจติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ร่วมด้วย ทั้ง หนองในแท้ หนองในเทียม และซิฟิลิส

โดยพบว่ากลุ่มเยาวชน อายุระหว่าง 15-24 ปี ติดเชื้อซิฟิลิส ,หนองใน ถึง 14,000 คน ซึ่งโรคทางเพศสัม พันธ์ลักษณะนี้พบมากขึ้นในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา แม้อุปกรณ์การป้องกันการติดโรคทางเพศสัมพันธ์ เช่น ถุงยางอนามัยจะหาง่าย แต่ส่วนใหญ่ในวัยรุ่นกลับไม่นิยม

อ่านข่าว : ประสาทหูเสื่อมเพิ่มสูง "โรควัยทำงาน" ป่วยผิวหนังจากสารเคมีลดลง

ข้อมูลจาก การเฝ้าระวังพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มนักเรียนประเทศไทยของกองเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พบว่า

  • กลุ่มนักเรียนชั้นม. 2 นักเรียนชาย เคยมีเพศสัมพันธ์ 4.9% ส่วนนักเรียนหญิง 3.5 % อายุเฉลี่ย มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก นักเรียนชาย13 ปี นักเรียนหญิง 13.4 ปี ใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก นักเรียนชาย 59.1% และกลุ่มนักเรียนหญิง 77.8 %
  •  กลุ่มนักเรียนม.5 นักเรียนชายเคยมีเพศสัมพันธ์ 22.4 % ส่วนนักเรียนหญิง 16.2% อายุเฉลี่ยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก นักเรียนชาย 15.3 ปี นักเรียนหญิง 15.5 ปี ใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก นักเรียนหญิง 80% กลุ่มนักเรียนชาย 77.6
  • กลุ่มนักเรียนอาชีวศึกษาชั้นปีที่ 2 พบว่านักเรียนชายเคยมีเพศสัมพันธ์ 41.6 % ส่วนนักเรียนหญิง 39.2% อายุเฉลี่ยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก นักเรียนชาย 15.1 ปี นักเรียนหญิง 15.6 ปี มี ใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก นักเรียนหญิง 77.6% และนักเรียนชาย 72.5%

ถุงยางอนามัย"ปลอดภัย"มีเซ็กส์

พญ.สุชาดา กล่าวว่า ถุงอนามัย เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ทุกคนรู้จัก ว่าสามารถป้องกันโรคได้ แต่พบว่าความเชื่อในวัยรุ่นคิดว่าการมีเพศสัมพันธ์จะสนุกน้อยกว่า ทั้งที่รูปแบบของถุงยางอนามัย มีหลายชนิด เช่น แบบบาง มีกลิ่น และผิวสัมผัสที่แตกต่าง นอกจากนี้การใช้ถุงยางอนามัยยังสามารถป้องกันโรคได้ จึงอยากให้เยาวชนตระหนักเรื่องความเสี่ยงกับความสนุก

อ่านข่าว : ไขคำตอบ! "แย้มธี่หยด"ไม่ใช่ผีเข้า โรคสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกัน

ที่ผ่านมากองโรคเอดส์ฯพยายามร่วมมือกับผู้นำสภาเด็กเยาวชน รณรงค์ให้ตระหนักและการใช้ถุงยางอนามัย โดยปีนี้ใช้ชื่อว่า ถุงยางอนามัย พกกันไว้ ใช้คอนดอม 100%

สวมถุงอนามัยแล้วมีเซ็กส์ ทำให้ความสนุก ตื่นเต้นลดลง แต่จริง ๆ แล้วถุงยางอนามัยมีหลายรูปแบบ ทั้งแบบมีกลิ่น หรือ เพิ่มผิวสัมผัส จึงไม่สวมถุงยางอนามัยป้องกัน ต่างจากการป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่เข้าใจมากขึ้น เพราะกลัวท้องมากกว่าติดเอชไอวี

เตือนวัยว้าวุ่น "เชื้อ HIV" เสี่ยงโรคแทรก 

พญ.สุชาดา กล่าวว่า ปัจจุบันเยาวชนที่ติดเอชไอวี ส่วนใหญ่ ไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อเอชไอวี เพราะอาการไม่บ่งชัด แค่มีไข้ แต่ทุกคนต้องรู้ตัวเองว่า ไปมีเพศสัมพันธ์ที่มีความเสี่ยงมาหรือไม่ และกว่าจะรู้ตัวว่าติดเชื้อระดับภูมิคุ้มกันในร่างกาย (CD4) หรือ ระดับเม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่ควบคุมและต่อสู้กับเชื้อโรค ลดลงต่ำกว่า 200 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร ทำให้ต้องเผชิญกับโรคแทรกซ้อน โดยปกติ CD4 ต้องไม่ต่ำกว่า 500 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร ซึ่งเยาวชนที่ติดเชื้อ พบที่มีระดับ CD4 ต่ำกว่า 200 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร มากถึง 37%

เมื่อรู้ตัวว่ามีความเสี่ยง ควรรับการตรวจหาเชื้อเอชไอวีทันที โดยปัจจุบัน ชุดสิทธิประโยชน์ของหลักประกันสุขภาพ ครอบคลุม สามารถลงทะเบียนผ่านแอพ เป๋าตังค์ ขอรับชุดตรวจหาเชื้อเอชไอวีได้ในสถานพยาบาล

ใช้"แอพหาคู่"ไม่ใช่ต้นตอติดเอดส์

แม้เทคโนโลยีจะทำให้รูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนในสังคมเปลี่ยนไป แต่พญ.สุชาดา บอกว่า แอพพลิเคชั่นเป็นเพียงตัวเชื่อมต่อความสะดวกสบาย ในการจับจ่ายซื้อสินค้า นัดพบและพบปะกัน ทำให้มนุษย์พบกันง่ายขึ้น

และความเสี่ยงของการติดเชื้อไม่ได้เกิดจากแอพ แต่มาจากพฤติกรรมย่อหย่อนในการป้องกันตนเอง ซึ่งการป้องกันไม่ได้จำกัดแค่ ถุงยางอนามัย แต่ยังมีการกินยา PrEP ( Pre-Exposure Prophylaxis ) ก่อนมีเพศสัมพันธ์ 72 ชั่วโมง และ PEP (Post-Exposure Prophylaxis ) กินก่อนมีเพศสัมพันธ์ที่มีความเสี่ยงต่อเนื่อง 28 วัน

การให้ยา PrEP และ PEP ปัจจุบันเป็นยาที่เข้าถึงได้ไม่ยาก องค์การเภสัชกรรมได้ผลิต และเริ่มนำร่องจ่ายยาดังกล่าวบ้างแล้ว แต่คนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจและตระหนักถึงการใช้ยานี้

เซ็กส์ "ปลอดภัย-รับผิดชอบ"

พญ.นิตยา ภานุภาค ผอ.มูลนิธิสถาบันเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมด้านเอชไอวี

พญ.นิตยา ภานุภาค ผอ.มูลนิธิสถาบันเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมด้านเอชไอวี

พญ.นิตยา ภานุภาค ผอ.มูลนิธิสถาบันเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมด้านเอชไอวี

เช่นเดียวกับ พญ.นิตยา ภานุภาค ผอ.มูลนิธิสถาบันเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมด้านเอชไอวี กล่าวว่า เทคโนโลยีใช้กันทั่วโลก และหากมีการติดเชื้อดังกล่าวก็ไม่สามารถโทษว่าเป็นเพราะเทคโนโลยี เพราะการป้องกันตนเอง คือพื้นฐานความรับผิดชอบต่อตัวเอง และคนอื่น ไม่ว่าจะเลือกการป้องกันด้วยวิธีก็ตาม เซ็กส์จะต้องเป็นเรื่องของความปลอดภัยด้วย

บริบทในชีวิตของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนสะดวกใช้ถุงยางอนามัย บางรายสะดวกใช้ยา PrEP และ PEP และเมื่อไหร่ก็ตามที่สังคมไทยพูดคุยเรื่องเซ็กส์ ที่ไม่ได้เป็นแง่ลบอีกต่อไป ก็จะทำให้การป้องกันตนเองง่ายขึ้น

รู้ว่าเสี่ยง ต้องตรวจหาเชื้อทันที

พญ.นิตยา กล่าวว่า ปัญหาการติดเชื้อเอดส์ในปัจจุบัน ต่างจากอดีต คนเข้าใจมากขึ้น การตีตราลดลง แต่การเข้าถึงบริการการตรวจหาเชื้อเอชไอวี ยังไม่แพร่หลาย หรือ ยังไม่เข้าใจอย่างถูกต้องว่า สมควรตรวจหาเชื้อเมื่อไหร่ เพราะต่างจากบริการตรวจสุขภาพประจำปีทั่วไป 

การตรวจหาเชื้อเอชไอวี ควรทำทุกครั้งเมื่อมีความเสี่ยง ไม่ต้องรอให้มีอาการป่วย และต้องรู้จักป้องกันใช้ยา PEP ช่วยลดการติดเชื้อ และเมื่อเข้าถึงยา ระดับปริมาณเชื้อในร่างกายก็ลดลง ต่ำก็ไม่แพร่โรค

ถ้ารู้ตัวว่าเสี่ยงการใช้ถุงยางอนามัย ขณะมีเซ็กส์ช่วยลดความเสี่ยงได้ 50-90% แต่หากมีพฤติกรรมไม่ใช้ถุงยางอนามัย การตรวจหาเชื้อทุก 3 เดือน ก็ถือว่ามีความปลอดภัย หรือ รู้ตัวว่าเสี่ยงก็ควรตรวจหาเชื้อทันที

safe test ตรวจหาเชื้อ หนทางปลอดภัย

พญ.นิตยา กล่าวว่า การตรวจหาเชื้อหาเป็นจุดเริ่มต้นของการรักษา และการตรวจหาเชื้อไม่ควรพุ่งเป้าแค่กลุ่มประชากรหลัก หรือกลุ่มเยาวชนเท่านั้น ต้องรวมทุกกลุ่มประชากร ไม่มองว่า คนเสี่ยงต้องเป็นกลุ่มคนข้ามเพศ หรือ คนขายบริการ แต่ทุกคนทีมีเพศสัมพันธ์ที่เสี่ยง ควรได้รับการตรวจ

ปัจจุบันเทคโนโลยีการตรวจก้าวหน้า มีแลปทั้งรัฐและเอกชน ตรวจให้ผลใน 15 นาที และมีชุดทดสอบหรือ safe test ที่สามารถตรวจหยดเลือดหาเชื้อด้วยตัวเอง ให้ผลแม่นยำ เมื่อรู้ว่าป่วยก็เข้ากระบวนการรักษา

การติดเชื้อเอชไอวี ไม่ใช่เรื่องของโชคชะตา หรือดวง เพราะสามารถตรวจหาเชื้อและป้องกันได้ คนติดเชื้อเอง ก็ไม่ใช่ว่าชาตินี้ต้องถือพรหมจรรย์มีเซ็กส์กับใครไม่ได้อีก ทั้งนี้เซ็กส์แต่ต้องป้องกัน
นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสปสช.

นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสปสช.

นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสปสช.

สอดคล้องกับ นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสปสช. กล่าวว่า ชุดสิทธิ์ประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพ ในผู้ติดเชื้อเอดส์ ครอบคลุมตั้งแต่การตรวจหาเชื้อฟรีปีละ 2 ครั้ง เพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาให้ยาต้านไวรัส และยาป้องกันในกลุ่มเสี่ยง PrEP จำนวน 7,000 คน ส่วนยา PEP ให้ครอบคลุมกับทุกคน ที่มีข้อบ่งชี้

โดยปี 2567 สปสช. ได้จัดสรรงบประมาณจำนวน 3,500 ล้านบาท ดูแลเรื่องเอดส์ และงบที่ใช้เป็นยาต้านไวรัส จ่ายให้กับ ผู้ติดเชื้อในระบบ 250,000 คน และอีก 200 ล้านบาท ให้กับภาคประชาชน ในการรณรงค์ป้องกันการติดเชื้อ และเตรียมนำ safe test ชุดตรวจหาเชื้อเอชไอวีมาใช้ ซึ่งขณะนี้สามารถต่อรองราคาให้เหลือชุดละ 100 บาท อยู่ระหว่างการหารือว่าจะกระจายในสถานพยาบาล หรือ ร้านขายยา

ความตั้งใจเรื่องชุดทดสอบตรวจหาเชื้อเอชไอวีเพื่อให้ประตูการเข้าถึงบริการการรักษาง่ายขึ้น คนรู้ตัวว่าติดเชื้อเร็ว รับยาต้านไวรัสเร็วขึ้น โดยอยากให้ชุดทดสอบนี้สามารถกระจายได้ในร้านขายยา โดยปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อ

การตีตราส่งผลผู้ติดเชื้อลดลง

นพ.จเด็จ กล่าวว่า การจะขจัดเชื้อเอชไอวีให้หมดไป ที่ผ่านมาทำได้ยาก เพราะเรื่องของการตีตรา ทำให้บริการยุ่งยาก ต้องจัดบริการเฉพาะแบบคลินิกนิรนามเท่านั้น ทำให้การพูดคุยการจัดบริการไม่สามารถทำได้อย่างชัดเจน ตรงจุดกับกลุ่มเป้าหมาย แต่ขณะนี้คนมีความเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางเพศ และสามารถดึงภาคประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมให้ความรู้และป้องกันทำให้การดำเนินการงานได้เอดส์ง่ายขึ้น และหากมี ชุดตรวจหาเชื้อเอชไอวีด้วยตัวเอง ก็จะทำให้การตีตรายิ่งลดลง

ขณะที่พญ.นิตยา ภานุภาค ผอ.มูลนิธิสถาบันเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมด้านเอชไอวี กล่าวว่า การจะขจัดเอดส์ให้หมดไป ต้องอาศัยหลายปัจจัยร่วมกัน ตามสูตร 95:95:95 นั้น หมายความว่า ทั้งผู้ติดเชื้อรู้ตัว ด้วยการตรวจ,ได้รับการต้านไวรัส และระดับไวรัสในร่างกายลดลง แต่จะทำได้ต่อเมื่อ ประตูบานแรก คือการตรวจหาเชื้อสำเร็จก่อน ดังนั้น ทุกคนทุกคนที่มีความเสี่ยง ควรได้รับการตรวจหาเชื้อเอชไอวี

นานกว่า 39 ปีแล้วที่ไทย ได้เรียนรู้และเข้าใจการติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์ จากเดิมป่วยแล้วต้องเสียชีวิตตแต่ปัจจุบันอายุขัยของผู้ป่วยเทียบเท่ากับคนปกติ หากได้รับยาต้าน หรือติดเชื้อก็สามารถป้องกันได้ด้วยยา แต่ทุกอย่างจะสำเร็จต้องเริ่มจากรู้ว่า มีเพศสัมพันธ์เสี่ยง ต้องรับการตรวจเสมอ

อ่านข่าวอื่นๆ

"Future Food" เทรนด์อาหารโลก อนาคตคนรุ่นใหม่ บนวิถียั่งยืน

"ชาร์ลี มังเกอร์’ มือขวา "วอร์เรน บัฟเฟตต์" เสียชีวิต อายุ 99 ปี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง