ไม่เรียกว่าเป็นคำใหม่เสียทีเดียวกับคำว่า "แลนด์บริดจ์" แต่ก็ไม่ถึงขนาดที่จะคุ้นหูกันเป็นวงกว้าง โครงการแลนด์บริดจ์ ชุมพร-ระนอง เป็นที่พูดถึงกันมาเกือบ 40 ปีแล้ว แรกเริ่มเดิมทีมีมาตั้งแต่ปี 2528 แต่ผ่านมาหลายยุค หลายรัฐบาล ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเป็นรูปธรรม จนมาถึงยุค "รัฐบาลประยุทธ์" ที่นำมาบรรจุในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แต่ก็ยังถือว่าไม่ได้เห็นชอบ 100% แต่อย่างใด
เจ้าภาพ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม เผยว่าอันที่จริงเตรียมจะเสนอ ครม.ประยุทธ์ แต่เจออุบัติเหตุการเมือง นายกฯ ประกาศยุบสภา เมกะโปรเจกต์งบฯ ล้านล้าน จึงต้องมาลุ้นต่อใน "รัฐบาลเศรษฐา" แทน
อ่านข่าว : "สุริยะ" ยันเดินหน้าต่อ "แลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง" แต่ต้องรอ สนข.ศึกษาให้เสร็จ
"แลนด์บริดจ์" จึงถูกนำกลับมาปัดฝุ่นใหม่ ทั้งชื่อและโครงการ คนรุ่นใหม่เริ่มให้ความสนใจมากขึ้น เพราะโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน แบ่งเป็น 2 เฟส งบประมาณเฟสละ 500,000 ล้านบาท ซึ่งงบประมาณก้อนนี้ก็ใกล้เคียงกับงบฯ ที่พรรคเพื่อไทยประกาศใช้กับโครงการแจกเงินดิจิทัล วอลเล็ต 10,000 บาทให้กับคนไทยที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไปทุกคน ในขณะหาเสียง
หลายคนก็ตั้งคำถามตามมา จะเอาเงินที่ไหนมาแจก และระหว่างเงินหมื่นที่ได้ทั่วประเทศ กับโครงการที่พัฒนาเพียง 2 จังหวัด ใครได้ ใครเสีย ใครคุ้มสุด ?
อ่านข่าว : จับชายลอบขน "นกเป็ดน้ำ" นับพันตัว ส่งขายข้ามแดนไปกัมพูชา
แลนด์บริดจ์ คืออะไร ? ทำไมต้องมี ?
โลกเราพัฒนาไปไกลมาก ส่งทั้งมนุษย์ สัตว์ ต้นไม้ สิ่งของไปอวกาศ เดินทางหลายปีแสง แต่การขนส่งที่มนุษย์บนโลกยังใช้อยู่ คือ "การขนส่งทางน้ำ หรือ เรือ" ซึ่งใช้เวลาเดินทางค่อนข้างนาน การย่นระยะเวลาการขนส่งย่อมเป็นโจทย์ใหญ่ที่นักธุรกิจต้องเผชิญ
เรือบรรทุกสินค้าจำนวนมาก
ถ้าเอาตามความหมายทั่วๆ ไป แลนด์บริดจ์ คือ เส้นทางคมนาคม เช่น ถนน สะพาน ราง ที่อยู่บนบก ใช้เชื่อม "ทวีป" สร้างเพื่อขนส่งสินค้าอุปโภค-บริโภค จากฝั่งหนึ่งไปอีกฝั่งหนึ่ง รายงานเรื่อง "โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการ เชื่อมโยงเส้นทางขนส่งทางทะเลฝั่งอ่าวไทย และอันดามันของประเทศไทย" จัดทำโดย สศช. และศูนย์บริการวิชาการแห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำเสนอข้อมูลโครงการ "Land bridge" ในต่างประเทศที่น่าสนใจ 3 แห่งบนโลก ได้แก่
- สะพานเศรษฐกิจทางบกอเมริกาเหนือ (North American Land bridge) เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างมหาสมุทนแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิก ผ่านประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา
สะพานเศรษฐกิจทางบกอเมริกาเหนือ (North American Land bridge)
- สะพานเศรษฐกิจยุโรปเอเชีย (Eurasian Land bridge) หรือเส้นทางรถไฟข้ามเอเชีย (Trans Asian Railway) เริ่มต้นจากแนวคิดการก่อสร้างเส้นทางรถไฟ Trans-Siberian Railway เพื่อเชื่อมระหว่าง เมืองสำคัญในประเทศรัสเซีย ได้แก่ กรุงมอสโก (Moscow) และเมืองวาลาดิวอสตอก (Vadivostok) ต่อมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 ธุรกิจขนส่งสินค้าเริ่มเติบโต จึงเกิดการขนส่งสินค้าข้ามทวีประกว่างเอเชียและยุโรป กระทั่งปัจจุบัน
สะพานเศรษฐกิจยุโรปเอเชีย (Eurasian Land bridge) หรือเส้นทางรถไฟข้ามเอเชีย (Trans Asian Railway)
- สะพานเศรษฐกิจทางบกออสเตรเลีย (Australia Land bridge) สะพานเศรษฐกิจสายนี้ ไม่ได้ผ่านทวีป แต่ถูกสร้างเพื่อตอบสนองความต้องการขนส่งสินค้าภายในประเทศและระหว่างประเทศโดยใช้การขนส่งทางราง (Railroad) จากรัฐออสเตรเลียตะวันตก ไปยังรัฐฝั่งตอนใต้และรัฐฝั่งตอนเหนือ
สะพานเศรษฐกิจทางบกออสเตรเลีย (Australia Land bridge)
ก่อน แลนด์บริดจ์ มี คลองขุด ก่อน
เมื่อเจอะแผ่นดิน ก็ต้องอ้อม และก็ยิ่งเสียเวลาและความเสียหายของสินค้าก็เพิ่มขึ้นตามมา หลากหลายภูมิประเทศในโลกจึงเลือก "การขุดคลอง" เพื่อแก้ปัญหานั้น
คลองที่ขุดแล้วเป็นที่รู้จักกันดีคือ "คลองสุเอซ" ที่เชื่อมระหว่างท่าเรือซาอิด ฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และเมืองสุเอซ ฝั่งทะเลแดง เข้าด้วยกัน เพื่อเปิดช่องทางในการเดินทางข้ามทวีประหว่างยุโรปและเอเชีย โดย แฟร์ดีน็อง เดอ เลสเซปส์ (Ferdinand de Lesseps) และคนงานชาวอียิปต์กว่า 30,000 คน ระยะทางยาวกว่า 193 กม. กว้าง 300 – 350 ม. ลึกประมาณ 19.50 – 20.10 ม. ช่วยให้ลดระยะทางในการเดินเรือไปกว่า 8,900 กิโลเมตร
อ่านข่าว : อวัยวะเทียมจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ช่วยเหลือคนพิการนิ้วขาดในการเคลื่อนไหว
คลองสุเอซ ประเทศอียิปต์
คลองสุเอซนับเป็นคลองไร้ประตูน้ำที่ยาวที่สุดในโลก และได้เปลี่ยนประวัติศาสตร์การคมนาคมของโลกไปตลอดกาล ในฐานะที่เชื่อมเส้นทางการค้าสำคัญ รวมถึงเป็นเส้นทางลัดบนแผนที่โลก ระหว่างทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย โดยไม่จำเป็นต้องอ้อมทวีปแอฟริกาเหมือนเมื่อหลายร้อยปีก่อนอีกต่อไป
และยังมี "คลองปานามา" อีกคลองขุดสายสำคัญของโลก เชื่อมมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรแอตแลนติกเข้าด้วยกัน สามารถร่นระยะการเดินเรือได้ถึง 22,500 กิโลเมตร
อ่านข่าว : ปะการังเขากวาง "เกาะยักษ์ใหญ่" ป่วยโรค SCTLD ทช.เก็บเนื้อเยื่อ
การเดินเรือสินค้าในคลองปานามา
กลับมาที่ประเทศไทย ก็เคยมีโครงการขุดคลองบริเวณ "คอคอดกระ" ในเขตบ้านทับหลี ต.มะมุ อ.กระบุรี จ.ระนอง กับ อ.สวี จ.ชุมพร เพื่อเชื่อมมหาสมุทรอินเดียกับทะเลจีนใต้ แต่ด้วยเหตุผลเรื่องแผ่นดินที่ถูกแบ่งแยก เกี่ยวเนื่องกับความมั่นคง รวมถึงงบประมาณในการขุดคลองที่ไม่ใช่น้อย เผลอๆ ใช้มากกว่า "แลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง" ทั้งโครงการเสียอีก โครงการคอคอดกระจึงถูกพับไป
แผนที่คอคอดกระ บริเวณที่แคบที่สุดของไทย
ไม่ขุดก็สร้างเอา
หากมองในแง่เศรษฐกิจ พื้นที่เมืองท่าที่เป็นแหล่งชุมชนคนเดินเรือบรรทุกสินค้า น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ เครื่องจักร สินค้าอุปโภค-บริโภค ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะอยู่ที่ "ช่องแคบมะละกา" ช่องแคบที่มีความยาวกว่า 930 กม. ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรมลายู (มาเลเซียตะวันตก) กับเกาะสุมาตราของประเทศอินโดนีเซีย รองลงมาคือ ช่องแคบซุนดา บริเวณเกาะสุมาตรา และ ช่องแคบลอมบอก บริเวณเกาะบาหลี
ช่องแคบมะละกา
เนื่องจากร่องน้ำขนส่งหลักตั้งอยู่ระหว่างมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก ทำให้ ช่องแคบมะละกา เป็นหนึ่งในเส้นทางเดินเรือที่สำคัญที่สุดในโลก คาดว่าใน 1 ปีมีเรือบรรทุกสินค้าผ่านบริเวรนี้ไม่ต่ำกว่าแสนลำ
นั่นหมายถึงรายได้มหาศาลที่แบ่งกันเอง 3 ประเทศ มาเลเซีย สิงคโปร์ และ อินโดนีเซีย
ไม่เฉพาะเรือบรรทุกสินค้าจากฝั่งประเทศทางแปซิฟิก เช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เกาหลี ที่เดินทางผ่านช่องแคบมะละกาเพื่อไปยังฝั่งมหาสมุทรอินเดียเท่านั้น หลายหลากผลิตภัณฑ์จากฝั่งยุโรป หรือจากประเทศอินเดียเอง ก็ต้องถูกขนส่งไปยังประเทศแถบแปซิฟิก โดยผ่านช่องแคบมะละกาเช่นกัน
ประเทศไทยเองก็เช่นกัน
จุดรับส่งสินค้าทางเรือของไทยคือ ท่าเรือกรุงเทพ และ ท่าเรือแหลมฉบัง ที่ไม่ว่าจะรับหรือส่งก็ต้องผ่านช่องแคบมะละกา เมื่อประกอบกับงบประมาณการขุดคลองที่มากเกินไป และปัญหาด้านความมั่นคงที่เป็นที่ถกเถียงกันในสังคมไม่รู้จบ
การสร้างเส้นทางบนบกจึงเป็นวิธีแก้ปัญหาที่เหมือนจะตรงจุด (แต่อาจไม่ตรงใจ)
โครงการ แลนด์บริดจ์ เป็นการสร้างเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างท่าเรือทั้ง 2 แห่ง ที่อยู่ใน จ.ชุมพร และ จ.ระนอง ประกอบด้วยทางหลวงพิเศษขนาด 6 ช่องจราจร ทางรถไฟขนาดรางมาตรฐาน 2 ทาง และระบบการขนส่งทางท่อ
ที่มา : สถาบันพัฒนาประชาสังคม
หากโครงการนี้สำเร็จเพียงแค่เฟสแรกเท่านั้น จะทำให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางการเดินเรือแห่งใหม่ของโลกในทันที เรือบรรทุกสินค้าจากหลายประเทศจะเข้ามาใช้บริการ แลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง เพื่อย่นเวลาและระยะทาง จากที่ต้องอ้อมลงไปผ่านช่องแคบมะละกา รวมถึงการขนส่งทางเรือของไทยก็เช่นกัน ที่จะได้ประโยชน์ไปด้วย
เหรียญมี 2 ด้านเสมอ
ถ้ามองเพียงด้านเศรษฐกิจ ก็แทบจะหาข้อปฎิเสธไม่ได้เลยที่จะไม่สร้างแลนด์บริดจ์ เพราะนั่นหมายถึงไทยกำลังจะแบ่งเค้กชิ้นโตจาก 3 ประเทศเจ้าของรายได้ "ช่องมะละกา" เฟสแรกของโครงการที่จะสร้างเพียงแค่เส้นทางที่ผ่าน 2 จังหวัด ก็คาดว่าจะทำรายได้ในประเทศหลายร้อยล้านบาทต่อปีแล้ว
ไทยจะมีจุดพักก๊าซธรรมชาติ ไว้แต่ละฝั่งทะเล ยกตัวอย่าง เมื่อเรือจากฝั่งแปซิฟิกมา ก็ไม่จำเป็นต้องข้ามไปฝั่งอินเดียเพื่อบรรทุกก๊าซธรรมชาติ แต่สามารถมาจอดรอรับที่ท่าเรือชุมพรได้เลย เพราะสร้างระบบขนส่งทางท่อเตรียมไว้แล้ว
เรือบรรทุกก๊าซธรรมชาติ
แต่อีกด้าน การทำประชาพิจารณ์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประชาชนในพื้นที่และผู้ประกอบการก็ยังกังวลเรื่องผลกระทบต่อธรรมชาติ ที่ต้องทำลายป่าเพื่อสร้างถนนและทางรถไฟ รวมถึงการสร้างท่าเรือที่จะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ วิถีชีวิต และการทำการประมง
และถ้านับเวลาปัจจุบัน ด้วยงบประมาณราว 500,000 ล้านบาทที่พอๆ กันระหว่าง 2 นโยบายใหญ่รัฐบาลเพื่อไทย
ดิจิทัล วอลเล็ตแจกเงิน 10,000 บาท VS โครงการแลนด์บริดจ์
ทำให้เกิดคำถามในสังคมเป็นวงกว้าง
แต่ไม่ใช่คำถามที่ว่าโครงการไหนดีกว่ากัน เพราะเอาเข้าจริง ก็ไม่มีคำตอบที่ฟันธงได้แน่ชัด คนที่ไม่อยากได้เงินหมื่นก็อาจมองว่า แลนด์บริดจ์ คือการพัฒนาและกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศได้อย่างมั่งคั่งและยั่งยืน ในขณะที่ีอีกหลายคนก็มองว่า เงินหมื่น ใครๆ ก็อยากได้ ยิ่งในสภาวะปากท้องยังชีพยากแบบนี้ มีคนให้ก็ต้องรับไว้
แต่คงเป็นคำถามที่ว่า รัฐบาลจะเอาเงินมาจากไหน ภาษีประชาชน หรือ เงินกู้ ที่สุดท้ายประชาชนก็เป็นคนจ่ายหนี้ให้อีก และความคุ้มค่าจะอยู่ที่ไหน ระหว่าง คน หรือ โครงการ ?
ภาพประกอบข่าว
ที่มา : IPDefenseForum, Urbancreature, ลงทุนแมน, กระทรวงคมนาคม
อ่านข่าว :
รู้จัก "วุฒิพงศ์ ทองเหลา" สส.ปราจีนบุรี หลังก้าวไกลขับพ้นพรรค
รู้จัก "สส.ปูอัด" ไชยามพวาน มั่นเพียรจิตต์ ถูกตัดสิทธิ ปมคุกคามทางเพศ
#ปูอัด ขึ้นเทรนด์ X เรียกร้อง สส.ก้าวไกล ลาออก ปมคุกคามทางเพศ