ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

One Day Trip นั่ง "รถไฟลอยน้ำเที่ยวเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์" ปี 2566

ไลฟ์สไตล์
27 ต.ค. 66
06:00
43,393
Logo Thai PBS
One Day Trip นั่ง "รถไฟลอยน้ำเที่ยวเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์" ปี 2566
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เช็กตารางเดินรถไฟลอย กับขบวนรถพิเศษนำเที่ยว เส้นทาง "กรุงเทพ - เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์" เปิดจำหน่ายตั๋ว วันแรกเมื่อวันที่ 25 พ.ย. จองเลย พร้อมเปิดให้บริการเที่ยวแรก 4 พ.ย.นี้

กลับมาอีกครั้งกับขบวนรถพิเศษนำเที่ยวเส้นทาง "กรุงเทพ - เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์" เปิดประสบการณ์เที่ยวชิว ชมวิวสวยไปกับขบวนรถไฟ ใครที่ยังไม่เคยสัมผัสอาจต้องลองสักครั้ง ปีนี้ 2566 การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดจำหน่ายตั๋ว วันแรกเมื่อวันที่ 25 พ.ย. พร้อมเปิดให้บริการเที่ยวแรก 4 พ.ย.นี้

การรถไฟแห่งประเทศไทย

การรถไฟแห่งประเทศไทย

การรถไฟแห่งประเทศไทย

เช็กตารางเดินรถไฟลอยน้ำ

ตารางบริการรถไฟลอยน้ำขบวนรถพิเศษนำเที่ยวเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เปิดให้บริการแบบเช้าไปเย็นกลับ วันเสาร์ และ วันอาทิตย์ ตลอดเดือน พ.ย.2566 - ม.ค.2567 รวม 24 วัน มีกำหนดวันบริการ ดังนี้

  • วันที่ 4, 5, 11, 12, 18, 19, 25, 26 (รวม 8 วัน) พ.ย.2566
  • วันที่ 2, 3, 9, 10, 16, 17, 23, 24 (รวม 8 วัน) ธ.ค.2566
  • วันที่ 6, 7, 13, 14, 20, 21, 27, 28 (รวม 8 วัน) ม.ค.2566

หมายเหตุ : ขบวนรถงดให้บริการช่วงวันหยุดเทศกาลปีใหม่ วันที่ 30 - 31 ธ.ค.2566

นอกจากนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย ยังเปิดให้บริการตู้โดยสารพิเศษจัดเฉพาะเช่าเหมาคัน สำหรับนักท่องเที่ยว ที่ต้องการเดินทางเป็นหมู่คณะ สามารถเช่าพ่วงเพิ่มไปกับขบวนรถนำเที่ยวดังกล่าวได้ด้วย 

สำหรับผู้สนใจสามารถติดต่อซื้อตั๋วโดยสาร และสำรองที่นั่งล่วงหน้า (สูงสุดไม่เกิน 30 วัน) ด้วยระบบ D-Ticket หรือที่สถานีรถไฟทุกแห่งทั่วประเทศ

วิธีการและ ช่องทางการจอง/สำรองที่นั่งของการรถไฟแห่งประเทศไทย

  1. จองผ่านช่องจำหน่ายตั๋วที่สถานีรถไฟได้ทุกสถานี
  2. จองผ่าน CALL CENTER 1690
    • ต้องสำรองล่วงหน้ามากกว่า 5 วันโดยไม่นับวันเดินทาง ไม่เกิน 30 วัน
    • เตรียมชื่อ - สกุล หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เดินทางทุกท่าน
    • เจ้าหน้าที่จะออกรหัสรับตั๋วให้
    • ผู้โดยสารนำรหัสรับตั๋วไปชำระเงินที่สถานีรถไฟ ภายในเวลา 24 ชั่วโมง
  3. จองผ่านเว็บไซต์ www.dticket.railway.co.th
  4. จองผ่าน Mobile Application : D-ticket

ข้อมูลเพิ่มเติม Facebook ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย

การรถไฟแห่งประเทศไทย

การรถไฟแห่งประเทศไทย

การรถไฟแห่งประเทศไทย

อัตราค่าโดยสาร "ผู้ใหญ่ - เด็ก" ราคาเดียวกัน

รถธรรมดา ชั้น 3 (พัดลม)

  • กรุงเทพ - เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ - กรุงเทพ ไป-กลับ ราคา 330 บาท
  • สระบุรี/แก่งคอย - โคกสลุง ไป-กลับ ราคา 330 บาท
  • เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ - กรุงเทพ เฉพาะเที่ยวกลับ ราคา 150 บาท

รถปรับอากาศ ชั้น 2

รถนั่งปรับอากาศ (JR-WEST)

  • กรุงเทพ - เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ - กรุงเทพ ไป-กลับ ราคา 500 บาท
  • สระบุรี/แก่งคอย - โคกสลุง ไป-กลับ ราคา 500 บาท
  • เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ - กรุงเทพ เฉพาะเที่ยวกลับ ราคา 250 บาท
 การรถไฟแห่งประเทศไทย

การรถไฟแห่งประเทศไทย

การรถไฟแห่งประเทศไทย

รถนั่งปรับอากาศ (OTOP TRAIN และรถนั่ง/นอนปรับอากาศ JR-WEST)

  • กรุงเทพ - เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ - กรุงเทพ ไป-กลับ ราคา 590 บาท
  • สระบุรี/แก่งคอย - โคกสลุง ไป-กลับ ราคา 590 บาท
  • เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ - กรุงเทพ เฉพาะเที่ยวกลับ 250 บาท
  • รถธรรมดา ชั้น 3 (รถโถง) เดินทางระยะสั้น ไม่สำรองที่นั่ง
  • สระบุรี/แก่งคอย - โคกสลุง ไป-กลับ ราคา 200 บาท

จุดเริ่มต้น "รถไฟลอยน้ำ" เที่ยว "เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์"

ไปเที่ยวพักผ่อน สัมผัสบรรยากาศอย่างเดียวอาจยังไม่พอ ต้องเสริมเรื่องราวน่ารู้ว่าก่อนจะเป็น "รถไฟลอยน้ำ" ขบวนรถพิเศษนำเที่ยว "กรุงเทพ - เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์" จะยิ่งช่วยทำให้การเดินทางสนุกขึ้น

"ขบวนรถไฟลอยน้ำ" เป็นขบวนรถไฟที่วิ่งลัดเลาะตามอ่างเก็บน้ำ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และมองออกไปนอกหน้าต่าง จะดูคล้ายกับรถไฟแล่นไปบนผิวน้ำ รถไฟขบวนนี้ จึงได้ชื่อว่า "รถไฟลอยน้ำ"

การรถไฟแห่งประเทศไทย

การรถไฟแห่งประเทศไทย

การรถไฟแห่งประเทศไทย

หากย้อนไปเดิม ขบวนรถไฟลอยน้ำ เป็นทางรถไฟสายกรุงเทพ - บัวใหญ่ - หนองคาย อยู่ในบริเวณลุ่มน้ำป่าสักใน อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี ต่อมาพื้นที่ดังกล่าวถูกพัฒนาเป็นเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ตามโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อใช้กักเก็บน้ำ รวมทั้งมีการสร้างทางรถไฟยกระดับขึ้นเหนือน้ำ เพื่อใช้สัญจรไปยังจังหวัดต่าง ๆ นั้นจึงเป็นที่มาของรถไฟขบวนนี้

กำหนดเวลาเดินรถไฟพิเศษนำเที่ยว กรุงเทพ – เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

กำหนดเวลาเดินรถไฟพิเศษนำเที่ยว กรุงเทพ – เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

กำหนดเวลาเดินรถไฟพิเศษนำเที่ยว กรุงเทพ – เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

เช็กตาราง ทริปนี้ได้เที่ยวที่ไหนบ้าง

สำหรับตารางการเดินรถ ขบวนรถพิเศษนำเที่ยว กรุงเทพ - เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ - กรุงเทพ ขบวนที่ 921/926 เริ่มออกจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) เวลา 06.00 น. ถึง จุดชมวิว "รถไฟลอยน้ำ" กลางเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เวลา 09.25 น.

ขบวนรถจะหยุดกลางสันเขื่อนมีเวลาให้นักท่องเที่ยวได้ชื่นชม ความงดงาม 20 นาที และเดินทางไปที่สถานีโคกสลุง มีเวลาให้นักท่องเที่ยวได้เดินชม ชิม ช้อป สินค้าพื้นเมือง OTOP พร้อมทั้งอาหารและของฝากที่ขึ้นชื่อของจังหวัดลพบุรี ประมาณ 30 นาที

จากนั้นขบวนรถจะพานักท่องเที่ยวกลับมาเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เวลา 10.35 น. นักท่องเที่ยวสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามอัธยาศัย

ไม่ว่าจะเป็นเดินเล่นชมวิวริมอ่างเก็บน้ำ เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ลุ่มน้ำป่าสัก นั่งรถตัวหนอนไหว้พระใหญ่ รับประทานอาหารกลางวันจากร้านค้าของกลุ่มชุมชนท้องถิ่น หรือท่องเที่ยวรอบนอกตัวเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ โดยใช้บริการรถตู้ของกลุ่มรถตู้ชุมชนหน้าเขื่อนฯ ที่นำมาให้บริการเป็นพิเศษ อัตราค่าบริการท่านละ 70 บาทตลอดเส้นทาง

ขบวนรถพิเศษนำเที่ยว กรุงเทพ - เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

ขบวนรถพิเศษนำเที่ยว กรุงเทพ - เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

ขบวนรถพิเศษนำเที่ยว กรุงเทพ - เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

นำชมสถานที่ท่องเที่ยวทุ่งทานตะวัน ทุ่งดอกดาวกระจายและทุ่งหญ้าหลากสีที่บานสะพรั่งสวยงาม ณ บ้านกล้วย & ไข่ คาเฟ่ เดินทางต่อเพื่อไปชมสวนเฟิร์นยักษ์ บนพื้นที่กว่า 4 ไร่ สามารถถ่ายรูปกับบรรยากาศสไตล์ชิคๆ ที่จุดชุมวิว ณ ไร่ทรัพย์ประยูร

จากนั้น ขบวนรถเที่ยวกลับออกจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เวลา 15.30 น. ถึงสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) เวลา 18.50 น. นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นลงตามจุดต่าง ๆ โดยมีสถานีที่หยุดรับ-ส่ง ได้แก่ สถานีชุมทางบางซื่อ, ดอนเมือง, รังสิต อยุธยา, สระบุรี และชุมทางแก่งคอย

 

ขบวนรถพิเศษนำเที่ยว กรุงเทพ - เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

ขบวนรถพิเศษนำเที่ยว กรุงเทพ - เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

ขบวนรถพิเศษนำเที่ยว กรุงเทพ - เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

กิจกรรมนี้ นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ หัวหน้าสำนักงานผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จะเป็นการช่วยสนับสนุนการเดินทางท่องเที่ยว และกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศให้กลับมาฟื้นตัวได้ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่ก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ กระจายรายได้ สร้างความเข้มแข็งสู่เศรษฐกิจฐานราก และชุมชน

เที่ยวลพบุรี บ้านหลวงรับราชทูต (บ้านวิชาเยนทร์) 

หากพูดถึง จ.ลพบุรี จังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายแห่ง เช่น พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ พระปรางค์สามยอด ทุ่งดอกทานตะวัน ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และได้ชื่อว่าเป็นจังหวัดที่มีลิงอาศัยอยู่มาก นับว่าเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว

พื้นที่ของ จังหวัดลพบุรี เคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายสมัย เดิมเรียก ละโว้ นับตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ มีหลักฐานที่สำคัญคือ พระปรางค์สามยอด (อยู่ในเขตอำเภอเมืองลพบุรี) เป็นศิลปะเขมรสมัยบายน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 และมีศาลพระกาฬซึ่งเก่าแก่ในสมัยเดียวกัน

ศาลพระกาฬ จ.ลพบุรี

ศาลพระกาฬ จ.ลพบุรี

ศาลพระกาฬ จ.ลพบุรี

นอกจากนี้ในช่วงนี้ก็มีกระแสละครดัง "พรหมลิขิต" ที่มีตัวละครชื่อ แม่มะลิ (มารี กีมาร์) ที่มีการพูดถึง เมืองละโว้ ทำให้เมืองลพบุรีกลับมาได้รับการพูดถึงกันอีกครั้ง 

คุณพี่ช่วยพาข้าไปหาแม่มะลิ ที่เมืองละโว้ได้หรือไม่เจ้าคะ

ททท. สำนักงานลพบุรี ได้อธิบายว่า มารี กีมาร์ มีชื่อตัวว่า มารีอา กียูมาร์ ดึ ปีญา หรือที่เรารู้จักกันในนาม ท้าวทองกีบม้า เป็นภริยาของ พระยาวิไชเยนทร์ (วิชาเยนทร์) หรือ คอนสแตนติน ฟอลคอน ขุนนางกรีกคนสำคัญที่รับราชการในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

ณ เวลานั้นท้าวทองกีบม้าและพระยาวิไชเยนทร์ ได้พำนักอยู่ที่เมืองละโว้ (ลพบุรี) สถานที่พำนักตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ปัจจุบันกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณสถานที่สำคัญของจังหวัด ที่ชาวลพบุรีรักและหวงแหน นามว่า "บ้านหลวงรับราชทูต (บ้านวิชาเยนทร์)"

ภาพ www.lopburi.org

ภาพ www.lopburi.org

ภาพ www.lopburi.org

บ้านหลวงรับราชทูต (บ้านวิชาเยนทร์) สร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 2228 (ราว 338 ปี) เพื่อใช้รับรองคณะราชทูตชาวตะวันตกที่มาเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ณ เมืองละโว้ (ลพบุรี) ต่อมาสมเด็จพระนารายณ์ได้พระราชทานให้เป็นที่พักของ พระยาวิชาเยนทร์

บริเวณด้านใน แบ่งเป็นด้านตะวันออกเป็นบ้านพักของคณะทูตชาวฝรั่งเศส ด้านตะวันตกเป็นบ้านพักของพระยาวิชาเยนทร์ และท้าวทองกีบม้า ส่วนกลางเป็นที่ตั้งของโบสถ์คริสต์ศาสนา ที่สถาปัตยกรรมเป็นแบบเรอเนสซองส์ ผสมสถาปัตยกรรมไทย แห่งแรกของไทย และของโลก

หากไป จ.ลพบุรี ก็อย่าลืมแวะไปกันสักครั้ง 

ปักหมุดปฏิทินเที่ยว "จ.ลพบุรี" เดือน ต.ค. - ธ.ค.2566

ไม่เพียงแต่ "รถไฟลอยน้ำ" ปลายปีเช่นนี้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานลพบุรี ยังแนะนำ ที่เที่ยวในจังหวัดที่น่าสนใจในอีกหลายสถานที่ หลายกิจกรรม ดังนั้นเตรียมตัวให้พร้อมวางแผนเดินทาง เก็บกระเป๋า แล้วออกไปเที่ยวกัน

  • THAIFIGHT เศรษฐีเรือทอง ณ วัดพุน้อย ต.ชอนม่วง อ.บ้านหมี่ วันที่ 29 ต.ค.
  • เขาพระงาม เทโวโนหณะ ณ วัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร ต.เขาพระงาม อ.เมือง วันที่ 30 ต.ค.
  • ประเพณีตักบาตรลูกอม ณ วัดโคกสำราญ ต.โคกสลุง อ.พัฒนานิคม

เดือน พ.ย.2566

  • งานปิดทองชักรูปหลวงปู่ทอกรัก ณ วัดอัมพวัน ต.บางขันหมาก อ.เมือง 3-5 พ.ย.
  • ลพบุรีกลางแปลง (ดูหนัง 3 มิติ) ณ ลานเบียร์ตาหนวด (เขาจีนแล) อ.เมือง 24 พ.ย.
  • งานเลี้ยงโต๊ะจีนลิง ณ พระปรางค์สามยอด ต.ท่าหิน อ.เมือง วันที่ 25 พ.ย.
ศาลพระกาฬ จ.ลพบุรี

ศาลพระกาฬ จ.ลพบุรี

ศาลพระกาฬ จ.ลพบุรี

  • เทศกาลดนตรี Sunflower Festival ณ ทุ่งทานตะวันไร่บุปผชาติ อ.พัฒนานคม วันที่ 25 พ.ย.
  • ประเพณีลอยกระทงย้อนยุคละโว้ธานี ณ วงเวียนสระแก้ว อ.เมือง วันที่ 26-27 พ.ย.
  • งานฤดูหนาวลพบุรี ณ โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย อ.เมือง วันที่ 28 พ.ย. - 7 ธ.ค.
  • เทศกาลทุ่งทานตะวันลพบุรี เดือน พ.ย. -ม.ค. ของทุกปี
  • รถไฟลอยน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ วันที่ 4,5,11,12,18,19,25,26 พ.ย. ทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ ตลอดเดือน พ.ย. - ม.ค.67

เดือน ธ.ค.2566

  • งานฤดูหนาวลพบุรี ณ โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย อ.เมือง วันที่ 28 พ.ย. - 7 ธ.ค.
  • ทำบุญเมืองลพบุรี ณ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ และวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อ.เมือง วันที่ 25 ธ.ค.
  • เทศกาลทุ่งทานตะวันลพบุรี เดือน พ.ย. -ม.ค. ของทุกปี
  • รถไฟลอยน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ วันที่ 2, 3, 9, 10, 16, 17, 23, 24 ธ.ค.67 ทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ ตลอดเดือน พ.ย. - ม.ค.67

อ่านข่าวอื่น ๆ

“รถไฟลอยน้ำ” กรุงเทพ-เขื่อนป่าสักฯ วันเดียวเที่ยวคุ้ม

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง