ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

กกต.-คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ถอดบทเรียนเลือกตั้ง 2566

การเมือง
19 ก.ย. 66
20:59
833
Logo Thai PBS
กกต.-คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ถอดบทเรียนเลือกตั้ง 2566
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กกต.จับมือ จุฬาฯ ร่วมถอดบทเรียนการเลือกตั้ง 2566 พบ ปชช. 55.6 % พอใจการประกาศผล ส่วนผู้สมัคร สส. 54.8% ไม่พึงพอใจการจัดเลือกตั้งสุจริตโปร่งใส เสนอ กกต.ลาออกทั้งชุด ตัดสิทธิ์ทำงานต่อ "ปริญญา" เสนอใช้ไปรษณีย์เป็นหน่วยเลือกตั้งล่วงหน้า แก้ รธน.จัดการปัญหา

วันนี้ (19 ก.ย.2566) สำนักงาน กกต. และคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมทำแบบประเมินผลและถอดบทเรียนการจัดการเลือกตั้ง สส.ปี 2566 นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต. หวังการถอดบทเรียนจะทำให้การเลือกตั้งครั้งต่อไปสุจริตเที่ยงธรรมมีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับของประชาชน

รศ.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานผลการศึกษาประเมินการเลือกตั้ง สส.ปี 2566 ยืนยันข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลตรงไปตรงมาจากการสำรวจความเห็น ส่วนข้อเสนอแนะจะเป็นการวิพากษ์วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ เรื่องการรับรู้ข่าวจำนวน 2,643 คน ในพื้นที่ 24 จังหวัด โดยในความคิดเห็นของประชาชน 5,354 คน ใน 30 จังหวัด

และพบว่าประชาชนร้อยละ 55.6 พอใจการประกาศผลการเลือกตั้ง ส่วนร้อยละ 21.3 ไม่พอใจ ขณะที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งร้อยละ 25.8 พึงพอใจและเห็นว่าการเลือกตั้งเป็นไปอย่างบริสุทธิ์โปร่งใสและเป็นธรรมเป็นมืออาชีพ ขณะที่ร้อยละ 54.8 ไม่เห็นด้วย ทั้งนี้มีประชาชนร้อยละ 19.4 ไม่ต้องการตอบ

ในการเลือกตั้งวันที่ 14 พ.ค.ที่ผ่านมา ในช่วงเวลาการเลือกตั้งพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ไปใช้สิทธิ์ช่วงเวลา 08.00-15.00 น. มากที่สุด รองลงมาเป็นช่วงเวลา 15.01-17.00 น.

ซึ่งปัจจุบันการรับข้อมูลข่าวสารการเลือกตั้งจะมาจากทีวี และในจำนวนที่ใกล้เคียงกันคือรับทราบข้อมูลจากโซเชียลมีเดียเฟซบุ๊ก และจะนำไปสู่ข้อเสนอแนะภายหลังว่า กกต. จะปรับยุทธศาสตร์การสื่อสารอย่างไร

นอกจากนี้ยังพบว่าการสื่อสารของ กกต. ยังไม่ถึงประชาชน ทั้งเอกสารถึงผู้ทีสิทธิ์เลือกตั้ง ข้อมูลหน่วยเลือกตั้งและการลงคะแนน โดยสิ่งที่เป็นประเด็นมากที่สุดคือความเห็นต่อกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง แต่ประชาชนให้คะแนนยังก้ำกึ่งเนื่องจากเกิดปัญหาในการจัดการเลือกตั้ง ส่วนการนับคะแนนยังมีผลประเมินในระดับปานกลาง

และสิ่งที่มีข้อเสนอให้มีการปรับปรุงจัดการเลือกตั้งมีจำนวนมากถึง 4,000 คำตอบ เป็นเรื่องการปรับปรุงการทำงานให้มีมาตรฐานของ เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง (กปน.) การประกาศรับรองให้เร็วขึ้น และการประชาสัมพันธ์ รวมถึงการขาดแคนทรัพยากรในการเลือกตั้ง

ส่วนเรื่องที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องการให้ กกต. ปรับปรุงการลงคะแนนเลือกตั้งโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาเสริม

- ต้องการให้ กกต.ไม่ได้มาจากการแต่งตั้งของสำนักงานหรืออำนาจ คสช. ที่อาจไม่มีความเป็นธรรมทางการเมือง

- ทำบัตรเลือกตั้งให้มีข้อมูลผู้สมัครและพรรคการเมืองเพื่ออำนวยความสะดวกผู้สูงอายุ

- ประกาศผลคะแนนอย่างเป็นทางการเร็วกว่าเดิม

- ความโปร่งใสและความรวดเร็วในการตรวจรับรอง สส. พี่ตามกฏหมายปัจจุบันใช้ระยะเวลากว่า 60 วัน ทำให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยในความไม่ชอบมาพากล

และยังมีข้อเสนอแนะให้ กกต. ลาออกไปทั้งชุด และตัดสิทธิ์เข้าทำงานต่อในอนาคต และเสนอแนะให้ตรวจสอบความสุจริตจากการนับคะแนนเลือกตั้งให้เข้มงวดมากขึ้น โดยเฉพาะเปิดให้ประชาชนสามารถขอติดตามผลคะแนนเลือกตั้งได้

ประเด็นข้อเสนอให้มีเวลาเตรียมการจัดการเลือกตั้งนานขึ้นและเสนอให้มีการจัดการเลือกตั้งล่วงหน้ามากกว่า 1 วัน ทำเป็นศูนย์เลือกตั้งล่วงหน้าตามที่ต่าง ๆ เช่น ออสเตรเลีย ให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้ามากกว่า 1 วัน เปิดเลือกตั้งล่วงหน้าระหว่างวันที่ 9 - 20 พ.ค. และยังพบปัญหาการสื่อสารประชาสัมพันธ์ กกต.การจัดการงบประมาณที่เหมาะสม ซึ่งมีการใช้งบประมาณ 4,657 ล้านบาท

รวมถึงการปรับปรุงวิธีขั้นตอนอุปกรณ์ในการทำงาน โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่นการนับคะแนน การรายงานในแบบฟอร์ม สส. 5/5 ยังไงก็เสนอเรื่องปรับองแก้กฎหมายที่เป็นอุปสรรค เช่นการแบ่งเขตต้องให้มีสัดส่วนประชากรต่างกันไม่เกินร้อยละ 10 หรือบัตรเลือกตั้งพรรคเดียวกันควรเป็นหมายเลขเดียวกันทั้ง สส.เขต และบัญชีรายชื่อ สุดท้ายการสร้างความเชื่อมั่นศรัทธากลับคืน

น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิช สส.เพื่อไทย ยังสะท้อนปัญหาเรื่องบัตรเลือกตั้งพรรคเดียวเบอร์ต่างกัน เนื่องจากทำให้ประชาชนเกิดความสับสนและไม่ได้สะท้อนเจตจำนงของประชาชนในการเลือกตั้งอย่างแท้จริง

นายปริญญา เทวานฤมิตนกุล นักวิชาการคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์กล่าวถึงระบบการเลือกตั้งที่การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมามีจำนวนบัตรเสียจำนวนมาก รวมถึงบัตรการงดออกเสียงของประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง โดย สส.เขตมีบัตรเสียร้อยละ 3.69 ขณะที่แบบบัญชีรายชื่อ 3.82 ชี้ว่าเป็นปัญหาที่บัตรเลือกตั้ง

พร้อมกันนี้ตั้งข้อสังเกตว่าพรรคการเมืองที่ได้หมายเลขประจำพรรคเลขหลักเดียวได้รับคะแนนบัญชีรายชื่อจำนวนมากผิดสังเกต อาจเป็นไปได้ว่าเกิดจากการกล่าวผิด ยังเสนอ กกต. ให้ทำให้ไปรษณ์ทุกที่เป็นหน่วยเลือกตั้งล่วงหน้า

นอกจากนี้ยังยังกล่าวถึงปัญหาการแบ่งเขตที่ทำให้ประชาชนสับสน ก่อนจะเสนอให้มีการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อขจัดปัญหาการเลือกตั้ง

อ่านข่าวอื่นๆ

แจ้ง 2 ข้อหา-ตั้งกก.สอบการเงิน สบอ.6 ยักยอก 9.5 ล้านบาท

จับกระแสการเมือง : วันที่ 19 ก.ย. 66 จัดโควต้าเก้าอี้ประธาน กมธ.ไม่ลงตัว ส่อเค้าวุ่นจ่อจับฉลาก

ชำแหละงบฯ งานมหกรรมพืชสวนโลก จ.อุดรธานี การเบิกจ่ายส่อล่าช้า

ข่าวที่เกี่ยวข้อง