ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

วันแม่ 2566 : เป็นคุณแม่ ได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง

สังคม
8 ส.ค. 66
07:48
12,549
Logo Thai PBS
วันแม่ 2566 : เป็นคุณแม่ ได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
รวมสิทธิสวัสดิการต่างๆ จากภาครัฐของคนมีลูก​ ใครที่กำลังเตรียมตัวเป็นคุณแม่ หรือกำลังจะมีสมาชิกใหม่ในครอบครัวมีสิทธิได้รับสวัสดิการต่างๆ จากทางภาครัฐ

ในช่วงเทศกาลวันแม่แห่งชาติ 12 ส.ค.ที่ให้ความสำคัญรำลึกถึงพระคุณของผู้เป็นแม่ และเมื่อถึงวันที่หลาย ๆ ผู้หญิงหลายคนต้องกลายเป็นคุณแม่ ก็มีสิทธิและสวัสดิการที่ช่วยแบ่งเบาภาระของคุณแม่ได้ในหลายมาตรการ

อ่านข่าว 12 สิงหาคม "วันแม่แห่งชาติ 2566" มีความเป็นมาอย่างไร 

เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด (แรกเกิด-6 ปี)

ภาครัฐ มีโครงการที่ช่วยเหลือพ่อแม่หลายโครงการ โดยหนึ่งในสวัสดิการที่ภาครัฐจะช่วยเหลือ ซึ่งดูแลโดย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) คือ เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด (แรกเกิด-6 ปี) เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็กในครอบครัวที่มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาท/ปี โดยจะช่วยเหลือเป็นเงินให้กับผู้ปกครองจำนวน 600 บาท/เดือน ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี เพียงการลงทะเบียนครั้งเดียว (ยกเว้นมีลูกเพิ่ม)

เงินดังกล่าวจะถูกโอนเข้าบัญชีพ่อแม่ทุกวันที่ 10 ของเดือน หากตรงกับวันเสาร์-อาทิตย์ จะจ่ายให้ล่วงหน้าในวันทำการทั้งนี้ คุณแม่สามารถลงทะเบียนรับเงินอุดหนุนบุตรได้ที่พื้นที่ที่เด็กแรกเกิดและผู้ปกครองอาศัยอยู่จริง

วันแม่ 2566 : เป็นคุณแม่ ได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง

วันแม่ 2566 : เป็นคุณแม่ ได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง

วันแม่ 2566 : เป็นคุณแม่ ได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง

เงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัวยากจน (แรกเกิด - 18 ปี, 20 ปี)

นอกจากนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ยังมอบเงินสงเคราะห์ให้กับครอบครัวผู้มีรายได้น้อยและเดือดร้อนด้านการเงินจนไม่สามารถเลี้ยงดูเด็กได้ โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือ 1,000 บาท/คน/เดือน หากมีลูก 2 คนขึ้นไปหรือมีสิทธิได้เงินสูงสุด 3,000 บาท/เดือน

อ่านข่าว หนุนเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วนถึง 6 เดือน หลังพบเด็กได้กินเพียง 28% 

นอกจากนี้ยังมี กระทรวงแรงงานที่ให้สิทธิตอบแทนสำหรับผู้ประกันตน และเพื่อแบ่งเบาภาระในการเลี้ยงดูบุตร  คือ เงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคม (แรกเกิด - 6 ปี) โดยสำนักงานประกันสังคมจะให้กับผู้ประกันตน ม.33 และ 39 และ 40 (ทางเลือกที่ 3) โดยจะได้รับเงินเดือนละ 800 บาท และ 200 บาท (สำหรับมาตรา 40 ทางเลือกที่ 3)  

ทั้งนี้ เงินสงเคราะห์บุตร เหมาจ่ายเดือนละ 800 บาทต่อบุตร 1 คน อายุบุตรตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนครั้งละไม่เกิน 3 คน 

สำหรับผู้ประกันตน ม.40 ทางเลือกที่ 3 จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรรายเดือน คนละ 200 บาท อายุบุตรตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ คราวละไม่เกิน 2 คน โดยจะโอนเงินเข้าบัญชีคุณพ่อหรือคุณแม่ในทุกสิ้นเดือนในวันทำการสุดท้ายของเดือน

คุณแม่ที่เป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ยังสามารถเบิกค่าตรวจ-ฝากครรภ์ ค่าคลอดบุตร เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร และเงินสงเคราะห์บุตรจากการมีลูกได้ ดังนี้ 

ค่าตรวจและค่าฝากครรภ์ ในอัตราเหมาจ่าย 5 ครั้ง รวม 1,500 บาท 

อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 500 บาท

อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 300 บาท

อายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์แต่ไม่เกิน 28 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 300 บาท

อายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์แต่ไม่เกิน 32 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 200 บาท

​อายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์ถึง 40 สัปดาห์ขึ้นไป จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 200 บาท

นอกจากนี้ยังมี ค่าคลอดบุตร โดยเหมาจ่าย 15,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง

รวมถึงยังมี เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร เหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน ทั้งนี้ หากคุณแม่มีบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธิดังกล่าว  

ทั้งนี้ คุณแม่ที่เป็นผู้ประกันตนสามารถตรวจสอบสิทธิประกันสังคม เงื่อนไขและติดต่อยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาที่สะดวก ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข

อ่านข่าว 10 สายพันธุ์ "ดอกมะลิ" น่าปลูก ดอกไม้แทนรักบริสุทธิ์ของแม่ 

วันแม่ 2566 : เป็นคุณแม่ ได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง

วันแม่ 2566 : เป็นคุณแม่ ได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง

วันแม่ 2566 : เป็นคุณแม่ ได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง

ลาคลอดได้ 90 วัน

นอกจากนี้ คุณแม่ยังมีสิทธิที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ที่จะลางาน ด้วย ไม่ว่าจะเป็นคุณแม่ที่รับราชการ ทำงานภาคเอกชนข้าราชการ คุณแม่ที่เป็นข้าราชการมีสิทธิลาคลอดบุตรได้ 90 วัน โดยได้รับเงินเดือนและมีสิทธิลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องได้ไม่เกิน 150 วันทำการ โดยไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือน

คุณแม่ที่เป็นลูกจ้างประจำ มีสิทธิลาได้ 90 วันและมีสิทธิลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องโดยรับค่าจ้างไม่เกิน 30 วันทำการและรวมอยู่ในวันลากิจส่วนตัว 45 วันทำการด้วย

คุณแม่ที่เป็นพนักงานราชการ มีสิทธิลาได้ 90 วัน ได้รับค่าตอบแทนระหว่างลาคลอดบุตรจากส่วนราชการ 45 วันทำการและอีก 45 วัน ได้รับจากประกันสังคม

ช่วยสิทธิประโยชน์ได้ภาษี 

นอกจาก สิทธิประโยชน์และสิทธิด้านต่าง ๆ ยังมีมาตรการทางภาษี ที่ค่าใช้จ่ายบางส่วนสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ดังนี้

"ค่าลดหย่อนบุตร" คุณแม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรได้คนละ 30,000 บาท แต่หากเป็นลูกคนที่ 2 เป็นต้นไปที่เกิดตั้งแต่ปี 61 หรือหลังจากนี้ จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรได้คนละ 60,000 บาท

"ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร" คุณแม่สามารถนำค่าฝากครรภ์และคลอดบุตรมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินท้องละ 60,000 บาท

อย่างไรก็ตาม ค่าลดหย่อนหากคุณแม่มีสิทธิสวัสดิการที่สามารถเบิกได้ เช่น ประกันสังคม หรือ เงินอุดหนุนบุตรของกรมกิจการเด็กและเยาวชนที่กล่าวมาข้างต้น หรือ เป็นสวัสดิการของนายจ้าง จะต้องหักออกจากสิทธิสวัสดิการที่เบิกได้นั้นด้วย

วันแม่ 2566 : เป็นคุณแม่ ได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง

วันแม่ 2566 : เป็นคุณแม่ ได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง

วันแม่ 2566 : เป็นคุณแม่ ได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง

สิทธิเด็กไทย

นอกจากนี้ จากการที่ ประเทศไทยได้ลงนามเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เมื่อวันที่ 12 ก.พ.2535 จึงได้มีการบังคับใช้สิทธิตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Right of the Child) ซึ่งตัวอนุสัญญาฯ มีทั้งหมด 54 ข้อ แต่สาระสำคัญนั้นจะครอบคลุมเรื่องสิทธิของเด็ก 4 ด้านด้วยกันยับตั้งแต่เกิดจนโต ดังนี้ 

ข้อมูล : https://info.go.th/  

สิทธิเด็กไทย ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก

นอกจากนี้ เนื่องจากการที่ประเทศไทยได้ลงนามเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เมื่อวันที่ 12 ก.พ.2535 จึงได้มีการบังคับใช้สิทธิตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Right of the Child) ซึ่งตัวอนุสัญญาฯ มีทั้งหมด 54 ข้อ แต่สาระสำคัญนั้นจะครอบคลุมเรื่องสิทธิของเด็ก 4 ด้านด้วยกันตั้งแต่เกิดจนโต ดังนี้

สิทธิที่จะมีชีวิตรอด เริ่มตั้งแต่เกิดครอบคลุมสิทธิที่จะมีชีวิตรอดปลอดภัย, สิทธิที่จะได้รับการแจ้งเกิด, สิทธิที่จะมีชื่อ, สิทธิที่จะได้รับสัญชาติ, สิทธิที่จะได้รับการเลี้ยงดูจากพ่อแม่และได้รับการปกป้องคุ้มครองอย่างเหมาะสม

สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง โดยเด็กจะได้รับความคุ้มครองจากการทารุณกรรมทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็น การทารุณกรรมทางร่างกาย จิตใจ, การทารุณกรรมทางเพศ, รวมถึงการล่วงละเมิดทางเพศ, การใช้ประโยชน์จากเด็กในทุกรูปแบบ เช่น การค้าประเวณีเด็ก การขายเด็ก การนำเด็กไปใช้ขอทาน หรือการลักพาเด็ก, การคุ้มครองในเรื่องสารเสพติด สารอันตราย สารมีพิษ และสิ่งเสพติด

อ่านข่าว ที่มาที่ไป "ดอกมะลิ" สื่อรักวันแม่ 

สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา โดยเด็กมีสิทธิที่จะได้รับการพัฒนาในด้านต่าง ๆ เช่น การพัฒนาในระดับปฐมวัย, การศึกษาอย่างมีคุณภาพ หรือ ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี, ได้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อที่หลากหลาย โดยมีพ่อแม่เป็นผู้คอยช่วยแนะนำ, เด็กที่มีความจำเป็นพิเศษ เช่น เด็กพิการ ต้องได้รับการดูแลให้มีชีวิตที่ดี ได้รับโอกาสพัฒนาและการศึกษาที่เหมาะสมจนเติบโตพึ่งพาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ ตลอดจนมีส่วนร่วมในชุมชน, สิทธิด้านการพัฒนานี้ยังรวมถึงการต่อยอดไปสู่ทักษะเฉพาะต่าง ๆ

สิทธิที่จะมีส่วนร่วม คือ เป็นสิทธิที่ให้ความสำคัญกับ การแสดงออกด้านความคิด, การแสดงออกด้านการกระทำ, การตัดสินใจและการปกป้องเรียกร้องผลกระทบที่มีผลกับชีวิตความเป็นอยู่ของเด็ก แต่ต้องไม่กระทบสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 

12 สิงหาคม "วันแม่แห่งชาติ 2566" มีความเป็นมาอย่างไร  

หนุนเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วนถึง 6 เดือน หลังพบเด็กได้กินเพียง 28%  

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง