ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

จารึกไว้ในแผ่นดิน ผลงาน “ผู้ว่าฯหมูป่า" กู้ภัยถ้ำหลวง

สังคม
22 มิ.ย. 66
10:53
5,455
Logo Thai PBS
จารึกไว้ในแผ่นดิน ผลงาน “ผู้ว่าฯหมูป่า" กู้ภัยถ้ำหลวง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"ผมไม่ใช่พระเอก" ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ฝากผลงานสะท้อนภาวะผู้นำภารกิจช่วย 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง จ.เชียงราย เมื่อ 5 ปีก่อนจนได้รับฉายา "ผู้ว่าฯหมูป่า" และโครงการรับคนลำปางติดโควิดกลับบ้าน ผู้นำที่แก้ปัญหาในสถานการณ์ที่ไร้ทางออก

หากย้อนไปเมื่อ 5 ปีก่อน ภาพของ นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร อดีตผู้ว่าราชการเชียงราย ที่ยืนตากฝนบัญชาการเหตุการณ์ช่วยเหลือเด็ก และผู้ฝึกสอนฟุตบอล 13 คน ทีมฟุตบอลหมูป่า อะคาเดมีแม่สาย ที่เข้าไปติดในถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน เป็นเวลา 18 วัน ระหว่างวันที่ 23 มิ.ย.-10 ก.ค.2561

บทบาทการบัญชาเหตุการณ์ตลอดระยะเวลา 18 วัน ทำให้นายณรงค์ศักดิ์ได้รับการชื่นชม และเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไปจนได้รับฉายาว่า “ผู้ว่าฯหมูป่า”

“ใครที่บอกว่าไม่เสียสละไม่พร้อมจะทำงาน ใครจะกลับบ้านไปนอนกับลูกกับเมีย ให้เชิญเซ็นชื่อกลับบ้านไปเลย ผมจะไม่รายงานใครทั้งสิ้น แต่ถ้าใครอยากทำงาน ทุกนาที ให้คิดว่าเขาเป็นลูกเรา หัวหน้าหน่วยถ้าไม่อยู่ผมรายงาน ไม่ใช่ต้องอยู่ 24 ชม.ให้เปลี่ยนมือได้ มีลูกน้องที่ไว้ใจได้ ไม่ใช่ให้ผมต้องตามตลอด วันนี้เราจะช่วยได้กี่ชีวิตทั้ง 13 ชีวิต หรือกี่ชีวิตมีค่าเหมือนลูกของเรา ทุกคน ใครไม่พร้อมให้กลับบ้าน”

นายณรงศักดิ์ บัญชาการเหตุการณ์แข่งกับเวลาในภารกิจ 18 วันช่วย 13 ชีวิตที่ถ้ำหลวง จ.เชียงราย

นายณรงศักดิ์ บัญชาการเหตุการณ์แข่งกับเวลาในภารกิจ 18 วันช่วย 13 ชีวิตที่ถ้ำหลวง จ.เชียงราย

นายณรงศักดิ์ บัญชาการเหตุการณ์แข่งกับเวลาในภารกิจ 18 วันช่วย 13 ชีวิตที่ถ้ำหลวง จ.เชียงราย

คีย์แมสเซส ของนายณรงค์ศักดิ์ เกิดขึ้นเมื่อความเข้มข้น และความกดดันในการทำงานแข่งกับเวลาในเหตุการณ์ถ้ำหลวง เพื่อช่วยเหลือทั้ง 13 ชีวิต กลายเป็นตำนาน ที่คนทั้งโลกชื่นชม ต่อภาวะผู้นำของนายณรงค์ศักดิ์ ที่มีวิธีการแก้ปัญหากับสถานการณ์กู้ภัยในถ้ำ ที่ต้องระดมผู้เชี่ยวชาญถ้ำฝีมือดีระดับโลก ทั้งของไทยและต่างประเทศ และสรรพกำลังจากหลายศาสตร์เข้ามาที่ถ้ำหลวง

อ่านข่าวเพิ่ม เตรียมจัดพิธีรดน้ำศพสมเกียรติ "ผู้ว่าฯหมูป่า" วัดพระศรีฯ

การแถลงข่าวสถานการณ์การช่วยเหลือเด็ก ที่ต้องระดมทีมงานนับหมื่นคนจากไทยและทั่วโลก

การแถลงข่าวสถานการณ์การช่วยเหลือเด็ก ที่ต้องระดมทีมงานนับหมื่นคนจากไทยและทั่วโลก

การแถลงข่าวสถานการณ์การช่วยเหลือเด็ก ที่ต้องระดมทีมงานนับหมื่นคนจากไทยและทั่วโลก

"ผมไม่ใช่พระเอกตัวจริง" คืนหลังภารกิจสำเร็จ 

เพจ PR.Chiangrai ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย ไลฟ์คืนสุดท้ายที่เชียงราย เปิดใจนายณรงค์ศักดิ์ เมื่อวันที่ 16 ก.ค.2561 โดยใน 20 นาทีนั้น นายณรงค์ศักดิ์ กล่าวขอบคุณทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และบอกว่าตัวเองไม่ใช่พระเอกตัวจริงในภารกิจครั้งนี้ 

วันนี้ถือว่าภารกิจเบาลง ต้องขอบคุณพ่อแม่พี่น้องที่ให้กำลังใจ ขอขอบคุณจริง เพราะคนเป็นหมื่นในช่วง 10 กว่าวันที่เวียนเข้าไปช่วยงาน ทำอาหาร ซักผ้า ช่วยขนอุปกรณ์ โดยเฉพาะคนที่สำคัญที่สุดในมุมของผม คือพวกอาสาสมัครกับน้องๆ ทหาร ที่ช่วยขอท่อ ขนถังไปช่วยน้องๆในถ้ำ พวกนี้แทบจะไม่ได้โผล่หน้าในทีวีเลย วันๆเปียกทั้งตัว มีแต่ความชื้นความหนาว นี่คือพระเอกตัวจริง

นอกจากนี้ นายณรงค์ศักดิ์ ยังระบุว่าส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง 30 กว่าทีม ทีมหนึ่ง 10 กว่าคน ที่เดินอยู่บนดอยที่หาโพรงต่างๆ ขนอาหารขึ้นไปทีหนึ่ง 3 วันไม่ได้กลับ ให้ไปลุยทีละ 3 วัน นอนกับดินกินกับทราย คนกลุ่มนี้ที่ไม่ได้ออกทีวีเลย

พวกเขาที่อยู่เบื้องหลังเป็นพระเอก ทั้งหน่วยงานราชการ เอกชน และชาวต่างชาติเป็นหมื่นๆ คน พวกเขาคือจิกซอว์สำคัญที่ทำหน้าที่ของตัวเอง

ใจความสำคัญที่ผู้ว่าฯณรงศักดิ์ เล่าถึงเหตุการณ์ว่า คืนวันที่ 23 มิ.ย.มีการแจ้งว่ามีเด็ก 12 คนและ 1 คนเป็นโค้ชที่ติดถ้ำหลวง และไม่แน่ใจว่าหน้างานสถานการณ์เป็นอย่างไร เดินทางไปแล้วตกใจ

ณรงค์ศักดิ์ บอกว่า ปัญหาเยอะกว่าที่คิด จะมีอุปกรณ์ปั้มน้ำก็ไม่ได้ ส่งทีมกู้ภัยเข้าไป 3 ชั่วโมงก็ต้องกลับมา น้ำเต็มถ้ำ มีแผน 4 แผนคือการนำเด็กออกจากปากถ้ำ อุปสรรคคือเวลาและน้ำที่เต็มโถงถ้ำ ซึ่งมีทั้งการคิดแผนที่จะสูบน้ำออกจากถ้ำ การเจาะช่องเขาที่เป็นไปยากเพราะถ้ำลึกถึง 600 เมตร และไม่รู้ตำแหน่ง ต้องสูบให้ชนะน้ำ และอุดน้ำไม่ให้เข้าไปเติมได้กว่าวันละ 20,000 ลบ.ม.กั้นน้ำสูบน้ำออกและชนะน้ำ

วันแรกก็เหนื่อย แต่เมื่อทุกทีมไทย หน่วยซีลและทุกคนพร้อมก็หายเหนื่อย และสุดท้ายก็ช่วยทีมน้องกลับมาได้อย่างปลอดภัย และต้องมาถอดบทเรียนว่าจุดอ่อน จุดแข็ง และวางแผนในอนาคต

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดประวัติ ผู้ว่าฯหมูป่า "ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร"

ชวนคนป่วยโควิด-19 กลับบ้านรักษาตัว

ขณะที่อีกผลงานของนายณรงค์ศักดิ์ ก็คือช่วงการระบาดของสถานการณ์โควิด-19 เมื่อปีช่วงเดือนมิ.ย.2564 ซึ่งมีปัญหาคนติดเชื้อจำนวนมาก แ่ต่สถานพยาบาลไม่เพียงพอ และมีผู้คนในภูมิลำเนาต่างๆ ที่มาทำงานในกทม.

โดยผู้ว่าฯ ณรงค์ศักดิ์ เปิดศูนย์ประสานงานรับคนลำปางกลับบ้าน โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปางเปิดโครงการ “รับคนลำปางกลับบ้าน” สำหรับคนที่ติดโควิด-19 แล้วไม่มีเตียงรักษา หรืออยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 

ผลงานทั้งหมด ที่ผู้ว่าฯ หมูป่า ได้ฝากไว้ในแผ่นดินนี้ เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นภาวะความเป็นผู้นำ ท่ามกลางสถานการณ์ที่ไร้ทางออก ทำให้การสูญเสียครั้งนี้สะเทือนใจของคนไทยทุกคน

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งคร่าชีวิต "ณรงค์ศักดิ์" ผู้ว่าฯ หมูป่า

โค้ชเอก-ตี๋-หมอภาคย์ ร่วมไว้อาลัย "ผู้ว่าฯ หมูป่า"

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง