ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"บุหรี่ไฟฟ้า" มีสารพิษ เสพติด อันตราย

สังคม
30 พ.ค. 66
08:07
6,119
Logo Thai PBS
"บุหรี่ไฟฟ้า" มีสารพิษ เสพติด อันตราย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
9 เหตุผลสำคัญประเทศไทยต้องคงมาตรการห้ามนำเข้าและขายบุหรี่ไฟฟ้าที่เข้มงวด พบเป้าหมายของผู้ผลิตบุหรี่ไฟฟ้า คือ เด็กและเยาวชน โดยสารนิโคตินที่มีอยู่ในบุหรี่ไฟฟ้าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งผู้สูบและผู้ที่อยู่รอบข้าง

เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม 2566 โดยองค์การอนามัยโลกได้กำหนดประเด็นของการรณรงค์ไว้ว่า “Grow food, not tobacco” เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาในปัจจุบันที่ประเทศไทยเกิดการแพร่ระบาดของบุหรี่ไฟฟ้า โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน ดังนั้น มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ และภาคีเครือข่ายควบคุมการบริโภคยาสูบ จึงกำหนดคำขวัญรณรงค์วันงดสูบบุหรี่โลก ประจำปี 2566 คือ “บุหรี่ไฟฟ้ามีสารพิษ เสพติด อันตราย”

อ่านข่าว : 31 พฤษภาคม วันงดสูบบุหรี่โลก

ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 ที่สำรวจพบคนไทยสูบบุหรี่ไฟฟ้าเกือบ 80,000 คน และในจำนวนนี้มากกว่าครึ่งเป็นเยาวชนอายุ 15-24 ปี จะเห็นได้ว่าบุหรี่ไฟฟ้าจะกลายเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้น ประเทศไทยจำเป็นต้องคงมาตรการห้ามนำเข้าและขายบุหรี่ไฟฟ้าที่เข้มแข็งต่อไป

เหตุผลสำคัญ 9 เหตุผล ห้ามนำเข้าและขายบุหรี่ไฟฟ้า

1.เป้าหมายของผู้ผลิตบุหรี่ไฟฟ้า คือ เด็กและเยาวชน
2.บุหรี่ไฟฟ้าเป็นต้นทางของการสูบบุหรี่ธรรมดาของเด็กและเยาวชน
3.บุหรี่ไฟฟ้าเป็นอันตราย ทำลายสุขภาพ
4.นิโคติน ทำให้เสพติด อันตรายเกินคาด
5.บุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ช่วยให้เลิกบุหรี่ได้จริง
6.บุหรี่ไฟฟ้าส่งผลเสียต่อสังคมมากกว่าผลดี
7.บุหรี่ไฟฟ้าจะทำให้ไทยถอยหลังในการควบคุมยาสูบ
8.การห้ามจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า คือ มาตรการสำคัญ ในการปกป้องเด็กจากการตกเป็นเหยื่อ
9.ควรยึดนโยบาย "ปลอดภัยไว้ก่อน" เพราะชีวิตคนไทยมีค่าเกินกว่าจะเอาไปเสี่ยง

นายแพทย์เฉลิมพล โอสถพรมมา ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา

นายแพทย์เฉลิมพล โอสถพรมมา ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา

นายแพทย์เฉลิมพล โอสถพรมมา ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา

บุหรี่ไฟฟ้ามีสารนิโคติน เป็นสารที่ทำให้เกิดการเสพติด 

นายแพทย์เฉลิมพล โอสถพรมมา ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา กล่าวถึงอันตรายต่อสุขภาพของบุหรี่ไฟฟ้า ว่า บุหรี่ไฟฟ้าเป็นผลิตภัณฑ์เสพยาสูบ หรือเสพนิโคตินที่ใช้การทำให้สารน้ำเกิดความร้อน และระเหย เป็นไอน้ำมาให้สูด/สูบ โดยที่ไม่เกิดควันจากการเผาไหม้ ผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้าในตลาดมากกว่าร้อยละ 95 มีสารนิโคตินเป็นส่วนผสมอยู่ในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า

การสูบบุหรี่ไฟฟ้าทำให้ติดสารนิโคตินได้ และในส่วนละอองควัน ที่สูดเข้าปอดนอกจากมีสารนิโคตินแล้ว ยังพบสารเคมีจำนวนมากที่ใช้ในกระบวนการผลิตและปรุงแต่งกลิ่นรส เช่น แอลดีไฮด์ โพลีไซคลิค อะชิโตนและโครเมียม ซึ่งสารเคมีเหล่านั้นล้วนแต่เป็นอันตรายต่อร่างกาย รวมทั้งเป็นสารก่อให้เกิดมะเร็ง

อ่านข่าว : หมอชวนลด ละ เลิก “สูบบุหรี่” สาเหตุก่อโรคถุงลมโป่งพอง-มะเร็งปอด

สารนิโคติน ที่มีอยู่ในบุหรี่ไฟฟ้ามีผลต่อสุขภาพ

1.ระบบประสาทส่วนกลาง : ทำให้เกิดอาการ เวียนหัววิงเวียนรบกวนการนอนหลับผิดปกติ ปวดหัว และมีความเสี่ยงต่อการไหลเวียนของเลือด

2.ระบบ ทางเดินอาหาร : อาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร โรคท้องร่วง คลื่นไส้ ปากแห้ง กรดไหลย้อนอาหาร ไม่ย่อย และโรคมะเร็ง

3.ระบบกล้ามเนื้อ : การเสื่อมของกระดูกสันหลัง ปวดข้อ และการสั่นของร่างกาย

4.ระบบหัวใจและหลอดเลือด : เกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง และเพิ่มการเกาะเป็นก้อนในกระแสเลือด อัตราการ เต้นของหัวใจผันผวน ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น โรคหลอดเลือดหัวใจ หัวใจเต้นเร็ว และหัวใจเต้นผิดจังหวะ

5.ระบบหายใจ : หายใจถี่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หลอดลมหดเกร็ง และโรคมะเร็ง

เลิกบุหรี่แล้วดีอย่างไร

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ระบุถึงการเลิกระยะเวลาการเลิกบุหรี่ที่มีผลต่อสุขภาพ

- 20 นาที ความดันเลือดและชีพจรจะเต้นในระดับปกติ
- 8 ชั่วโมง ระดับออกซิเจนในเลือดจะคืนสู่ระดับปกติ
- 2 วัน การรับรู้รสและกลิ่นจะดีขึ้น
- 2-12 สัปดาห์ ระบบหายใจดีขึ้น ไม่เหนื่อยง่าย
- 3-6 เดือน ปัญหาการไอลดลง ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น
- 5 ปีขึ้นไป ลดโอกาสเกิดโรคหัวใจและมะเร็งปอด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

พิษร้าย "บุหรี่ไฟฟ้า" ทำลายสมองเด็ก วิจัยพบสารเคมี 2 พันชนิด

บุหรี่ไฟฟ้า? สินค้าต้องห้ามครอบครองผิดกฎหมาย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง