ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

33 รพ. ตกลงเงื่อนไขใหม่ ตายผิดธรรมชาติ "ผ่าชันสูตรทุกศพ"

อาชญากรรม
29 เม.ย. 66
10:10
2,799
Logo Thai PBS
33 รพ. ตกลงเงื่อนไขใหม่ ตายผิดธรรมชาติ "ผ่าชันสูตรทุกศพ"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
การพบผู้เสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับ "แอม" มากกว่า 10 คน ทำให้สังคมตั้งคำถามกับกระบวนการยุติธรรมเรื่องการตรวจชันสูตรศพ หากเจ้าหน้าที่รัดกุมมากกว่านี้อาจจับกุมผู้ก่อเหตุ และช่วยไม่ให้มีผู้เสียชีวิตมากขึ้น ตรงนี้ถือเป็นช่องโหว่ของกฎหมายหรือไม่?

วันนี้ (29 เม.ย.2566) ทีมข่าวไทยพีบีเอสได้สอบถามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชศาสตร์ ให้ข้อมูลว่าปกติขั้นตอนการพิสูจน์ศพ เมื่อพนักงานสอบสวนไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ ก็จะตามแพทย์ไปร่วมตรวจสอบด้วย จากนั้นแพทย์จะทำความเห็นเบื้องต้น เขียนใบรายงานชันสูตรพลิกศพในที่เกิดเหตุ 1 ใบ และออกหนังสือรับรองการตาย 1 ใบ กรณีไม่มีการส่งศพไปผ่าพิสูจน์

อ่าน : ตร.ยืนยัน 13 ผู้เสียชีวิตโยง "แอม" - เร่งหาหลักฐานเพิ่มในรถต้องสงสัย

ขณะที่หลักปฎิบัติ อำนาจในการตัดสินใจผ่าพิสูจน์ศพเป็นของพนักงานสอบสวน ในฐานะหัวหน้าทีมชันสูตรพลิกศพในที่เกิดเหตุ เมื่อแพทย์ไม่สามารถหาสาเหตุการตายที่ชัดเจนได้และเป็นการตายที่ผิดธรรมชาติ 5 ลักษณะ ได้แก่

  1. การฆ่าตัวตาย
  2. ถูกผู้อื่นทำให้ตาย
  3. สัตว์ทำร้าย
  4. ตายโดยอุบัติเหตุ
  5. ตายโดยไม่ปรากฎเหตุ

จะต้องส่งศพไปผ่าพิสูจน์ หาสาเหตุที่แน่ชัด

แต่หากญาติไม่ติดใจ และพนักงานสอบสวนเห็นด้วยกับญาติ ก็จะไม่มีการส่งผ่า

แต่เมื่อต้องออกใบรับรองการตาย เพื่อให้ญาตินำศพไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนา จึงต้องเขียนเหตุผลการเสียชีวิต เช่นระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว หรือหัวใจวายเฉียบพลัน เพราะไม่มีร่องรอยบาดแผล ถูกทำร้ายหรือฆ่าตัวตาย

จากปัญหาที่พบล่าสุดจึงได้มีข้อตกลงร่วมกัน 33 โรงพยาบาล ในการตรวจนิติเวช

หากไม่สามารถระบุถึงการเสียชีวิตที่แท้จริงได้ให้ผ่าชันสูตรทุกศพ

อ่าน : ตำรวจ สตม.ให้ปากคำสงสัยภรรยาถูก "แอม" วางยาที่มุกดาหาร

ยืนยัน "ไม่เสียค่าใช้จ่าย" หากญาติขอผ่าชันสูตรศพ 

ข้อกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายจนทำให้ญาติเลือกที่จะไม่ติดใจผ่าชันสูตรศพนั้น นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อธิบายว่าเรื่องนี้รัฐบาลมีงบประมาณจัดสรรให้อยู่แล้ว และหากไม่เพียงพอก็สามารถใช้งบของโรงพยาบาลมาช่วยได้

หากญาติติดใจ ก็สามารถร้องขอได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายค่าดำเนินการใดๆ เว้นแต่ค่าใช้จ่ายส่วนอื่นๆ นอกเหนือจากของโรงพยาบาล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง