ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"แอมไซยาไนด์" เข้าข่ายไซโคพาธ?

อาชญากรรม
28 เม.ย. 66
16:13
1,636
Logo Thai PBS
"แอมไซยาไนด์" เข้าข่ายไซโคพาธ?
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมสุขภาพจิต ยังอยู่ระหว่างตรวจสอบปม "แอม ไซยาไนด์" อ้างเคยรักษาอาการป่วยจิตเวชเมื่อ 5 ปีก่อน แต่ไม่มีผลทางคดี ระบุวิเคราะห์อาจเข้าข่าย "ไซโคพาธ" ขาดความสำนึกผิด

วันนี้ (28 เม.ย.2566) พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงคดีแอมไซยาไนด์ ซึ่งมีรายงานว่าเคยรักษาอาการป่วยทางจิตเวชเมื่อ 5 ปีก่อนว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบว่า ผู้ก่อเหตุเคยเป็นผู้ป่วยในสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์หรือไม่ เนื่องจากรายงานข่าวอ้างว่า เคยรักษาที่สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ จึงแจ้งไปทางสถาบันฯ ตรวจสอบ

การมารักษาในสถาบันฯไม่ใช่ประเด็นชี้ขาดว่าป่วย เพราะโรงพยาบาลศรีธัญญา ก็มีการรักษาและจ่ายยาอื่น เช่น นอนไม่หลับ

ส่วนผู้กระทำผิดอ้างป่วยจิตเวช แล้วจะได้รับโทษน้อยลง พญ.อัมพร กล่าวว่า ไม่จริง เพราะถ้าเกิดความผิด ก็ต้องรับโทษตามขบวนการยุติ เพียงแต่ศาลจะพิจารณาการลงโทษอย่างไร แต่ไม่ได้แปลว่าป่วยแล้วจะลอยนวล  

อ่านข่าวเพิ่ม สื่อดังโลก เกาะติดคดีวางยาไซยาไนด์

ชี้ "แอม ไซยาไนด์" เข้าข่ายไซโคพาธ

ส่วนลักษณะการลงมือของแอมไซยาไนด์ เข้าข่ายฆาตกรต่อเนื่อง หรือไซโคพาธ (Psychopath) หรือไม่นั้น อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า แพทย์ไม่สามารถมองใครแล้วบอกว่าเป็นโรคอะไรได้ เพราะผิดจรรยาบรรณของแพทย์ แต่หากเจาะที่พฤติกรรมตามที่สื่อถ่ายทอดมา ถ้าหากมีการวางยาหวังทรัพย์ โดยไม่คำนึงชีวิตผู้เสียหาย

ในมิติของจิตเวช จะเรียกเป็นนิสัย ไม่จัดถึงว่าเป็นโรคสัมพันธ์ เพียงแต่มีลักษณะของบุคคลนั้นๆ ไซโคพาธ แต่ปัจจุบันใช้คำว่าบุคลิกภาพต่อต้านสังคม (Antisocial) จะหมายถึงผู้ที่ไม่มีคุณธรรม จริยธรรม ไม่คำนึงถึงความรู้สึกของคนอื่น และใช้ความปรารถนาของตัวเองเป็นศูนย์กลาง

อ่านข่าวเพิ่ม "ไซโคพาธ" โรคขาดความสำนึกผิด ที่มักพบในฆาตกรต่อเนื่อง

พญ.อัมพร กล่าวว่า แม้ว่าจะเป็นบุคลิกภาพที่ไม่ใช่โรค แต่มีผลต่อการเกิดโรคทางจิตเวช เพราะการมีบุคลิกผิดปกติ ปรับตัวยาก ก็ก่อให้เกิดโรคทางจิตเวชบางอย่าง แล้วไปหนุนให้บุคลิกภาพนั้นให้รุนแรงขึ้น

การจะมองว่าเป็นโรคทางจิตเวช หรือเป็นเพียงพฤติกรรม จะต้องดูว่าอารมณ์ที่เป็นปัญหาหรือไม่ เช่น ไม่สามารถทำหน้าที่ หรือดำเนินชีวิตปกติได้ เช่น ทำงานกับใครไม่ได้ ใช้ชีวิตกับคนอื่นไม่ได้ ไปจนถึงการกระทำที่ละเมิดต่อกฎหมาย กระทบศีลธรรม หรือใช้สารเสพติด

อ่านข่าวเพิ่ม อะไรคือ? Sodium thiosulfate ยาแก้พิษไซยาไนด์

"แอม" ปรับตัวในเรือนจำ เครียดน้อยลง

น.ส.โศรยา ฤทธิอร่าม ผอ.ทัณฑสถานหญิงกลาง กล่าวว่า นางแอม หลังถูกควบคุมตัวในเรือนจำเป็นวันที่ 2 สามารถปรับตัวเข้ากับเรือนจำได้ดีขึ้น อยู่กับผู้ต้องขังอื่นในห้องกักโรค ทีมสหวิชาชีพและนักจิตวิทยาของเรือนจำ สังเกตพบว่าแอมพูดคุยกับผู้ต้องขังอื่น ทำให้ความเครียดลดน้อยลง แม้จะยังมีความวิตกกังวลอยู่เล็กน้อย แต่ไม่ถึงขั้นวันแรกที่เข้ามาในเรือนจำ ที่เครียดจนความดันขึ้นสูง จนต้องนำตัวส่งทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์

ส่วนอาการทางจิตของนางแอม ขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ ต้องรอให้แพทย์เป็นผู้สรุปข้อมูลอย่างละเอียด 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ค้นบ้านพี่สาว "แอม" พบสมุนไพร-แคปซูล รอผลพิสูจน์ไซยาไนด์

บันทึกโลก "ฆาตกรหญิง-ยาพิษ-ทรัพย์สิน"

อ.อ๊อด เปิดผลตรวจสารในกล่องพัสดุ "แอม" ใช้แก้พิษไซยาไนด์  

ข่าวที่เกี่ยวข้อง