ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ร้อนมาก! ชี้อุณหภูมิพุ่ง 40 องศาฯ ลากยาวถึงพ.ค.นี้

สิ่งแวดล้อม
31 มี.ค. 66
15:42
1,169
Logo Thai PBS
ร้อนมาก! ชี้อุณหภูมิพุ่ง 40 องศาฯ ลากยาวถึงพ.ค.นี้
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ฤดูร้อนปีนี้ลากยาวถึงต้นเดือนพ.ค. แนวโน้มเม.ย.นี้อุณหภูมิสูงถึง 43 องศาฯ ระบุ สุโขทัย ตาก ลำปาง แม่ฮ่องสอน คาดร้อนสุด แนะกลุ่มเสี่ยงเลี่ยงอยู่กลางแจ้งนานป้องกันฮีทสโตรก

วันนี้ (31 มี.ค.2566) น.ส.ชมภารี ชมภูรัตน์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์สภาพอากาศในประเทศไทยจะร้อนจัดยาวไปจนถึงช่วงเดือนต้นเดือนพ.ค.นี้ 

โดยในช่วงเดือนเม.ย.นี้ และจะร้อนจัดในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีอุณหภูมิสูงสุดถึง 40-43 องศาเซลเซียส ภาคกลาง
และภาคตะวันออกมีอุณหภูมิสูงสุดถึง 40-42 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิ 40 องศาเซียลเซียสขึ้นไป อยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และจังหวัดที่จะมีแนวโน้มอุณหภูมิสูงที่สุด คือ สุโขทัย ตาก ลำปาง แม่ฮ่องสอน

ข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่า ในช่วงเดือนเม.ย.-พ.ค.ถึงจะเป็นช่วงฤดูร้อน แต่จะมีวันที่ร้อนจัดเพียงแค่ 1-2 วันสลับเป็นระยะๆ ทั้งนี้ คาดการณ์อุณหภูมิสูงสุด วันที่ 31 มี.ค.-2 เม.ย.นี้ 40 องศาเซลเซียส วันที่ 3-5 เม.ย.นี้ 41 องศาเซลเซียส ส่วนวันที่ 6 เม.ย.นี้ 42 องศาเซลเซียส

ส่วนอุณหภูมิสูงสุด 5 อันดับแรก (30 มี.ค.)

  • เพชรบูรณ์ 40.7 องศาเซลเซียส
  • ตาก 40.3 องศาเซลเซียส
  • นครสวรรค์ 40.5 องศาเซลเซียส
  • ลพบุรี 40 องศาเซลเซียส
  • กาญจนบุรี 39.8 องศาเซลเซียส
  • กรุงเทพมหานคร 35 องศาเซลเซียส
  • บุรีรัมย์ 36.9 องศาเซลเซียส 

กลุ่มเสี่ยงสูงฮีทสโตรก 

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากสภาพอากาศในประเทศไทย ที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น อาจผลต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะโรคฮีทสโตรก ที่มีสาเหตุเกิดจากการที่ร่างกายอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่อุณหภูมิสูง และได้รับความร้อนมากเกินไป ทำให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติของสมองในส่วนการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ทำให้มีอุณหภูมิในร่างกายสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส ส่งผลต่อระบบไหลเวียนโลหิตและระบบสมอง

รวมทั้งผู้ที่มีความเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่ออกกำลังกายหรือทำงานใช้แรงงานอย่างหนักท่ามกลางอากาศร้อนเป็นเวลานาน เช่น คนงานก่อสร้าง ทหารเกณฑ์ เกษตรกร นักวิ่งมาราธอน ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ ดื่มน้ำในปริมาณน้อย ติดสุราทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่สูง กลุ่มสูงอายุ

กลุ่มเด็กเล็กที่มีความสามารถในการระบายความร้อนจากร่างกายได้น้อยกว่ากลุ่มวัยรุ่นที่มีร่างกายแข็งแรงปกติ คนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง รวมถึงผู้ที่ต้องใช้ยารักษาโรคบางชนิดเป็นยาที่กระตุ้น การขับปัสสาวะ ที่ขัดขวางกลไกการกำจัดความร้อนออกจากร่างกาย ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากความร้อน 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

รู้จัก "ฮีทสโตรก" ภัยความร้อนเกิน 40 องศาฯ ตายเฉลี่ย 33 คนต่อปี

"เอ๋ ชนม์สวัสดิ์" เสียชีวิตแล้ว ในวัย 55 ปี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง