ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

หมอโพสต์ "นกตะขาบดง" โดนฝุ่นจิ๋วร่วง-พบปอดอักเสบรุนแรง

สิ่งแวดล้อม
9 มี.ค. 66
17:14
1,887
Logo Thai PBS
หมอโพสต์ "นกตะขาบดง" โดนฝุ่นจิ๋วร่วง-พบปอดอักเสบรุนแรง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สัตวแพทย์ มก.โพสต์พบ "นกตะขาบดง" โดนฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ในกทม.ถึงขั้นร่วง เอ็กซเรย์พบปอดอักเสบรุนแรงทั้ง 2 ข้าง คาดเป็นสาเหตุให้ร่วงพื้น เพราะนกจะแสบตา แสบคอ หายใจไม่ถนัด

ปัญหาคุณภาพอากาศในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรบานต่อเนื่อง ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อคน ล่าสุดเฟซบุ๊ก Save Gurney Pitta โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า วันนี้อากาศในกรุงเทพฯ แย่มากปกคลุมไปด้วย PM 2.5 เข้มข้น ที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในเมือง

ยกตัวอย่างเช่น นกตะขาบดง Oriental Dollarbird ตัวเต็มวัยในภาพนี้ ซึ่งเป็นนกขนาดกลาง ลำตัวมีหลากสี สวยมาก ปกติเป็นนกที่พบตามป่า บางครั้งก็อพยพผ่านกรุงเทพฯ  พบได้ในหลายพื้นที่ และน่าจะเป็นชนิดย่อย Eurystomus orientalis cyanicollis ที่พบทางภาคตะวันตก ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้

นกตัวนี้ อ่อนแรง และตกลงมาหน้าบ้านหลังหนึ่ง บริเวณใกล้สวนลุมพินี กลางเมืองกรุงเทพเลย โชคดีที่มีคนใจดีนำมาพบสัตวแพทย์

จากถ่ายภาพทางรังสีวิทยาพบว่ากระดูกหักตามร่างกายไม่หัก แต่ปอดอักเสบรุนแรงทั้ง 2 ข้างซึ่งน่าจะเป็นสาเหตุหลักของอาการป่วย

นกตัวนี้น่าจะรู้สึกแสบตา แสบคอ หายใจไม่ถนัด สุดท้ายร่างกายแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ลดลง จนร่างกายอ่อนแรง วิงเวียน หน้ามืดแล้วก็ตกลงมาจากท้องฟ้า ซึ่งอาการนี้ก็จะเกิดในคนเช่นเดียวกัน 

และนี่คือตัวชี้วัด “คุณภาพอากาศในเขตเมือง” ได้เป็นอย่างดีเพราะทุกอย่างมันจะเวียนกลับมาที่มนุษย์ ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของปัญหานี้ แต่สรรพสัตว์ที่ตัวเล็กกว่า จะได้รับผลกระทบและแสดงอาการป่วยให้เห็นชัดเจนก่อน

อ่านข่าวเพิ่ม เช็กด่วน! กทม.ฝุ่นจิ๋วเกิน 7 วันติดอะไรที่ต้องห้ามทำ

เปิดสาเหตุนกกลุ่มเสี่ยงเจอฝุ่นจิ๋วร่วง

นอกจากนี้ ยังยกตัวอย่างผลกระทบต่อนกที่อาศัยอยู่บนดอยทางภาคเหนือท่ามกลางไฟป่า และ PM2.5 ว่าจะได้รับผลกระทบว่านก "ไม่มีกระบังลม" ที่เป็นอวัยวะที่กั้นระหว่างช่องอก และช่องท้องเช่นเดียวกับคน ดังนั้น เวลานกสูดหายใจเข้าไป ลมหายใจก็จะผ่านหลอดลม ปอด และไปเก็บอยู่ในถุงลมภายในร่างกาย

พอหายใจออก อากาศภายในถุงลม ก็จะไหลออกมาผ่านปอดอีกครั้ง ไปที่หลอดลม และออกจากร่างกาย เพราะฉะนั้นการหายใจเข้า-ออกของนกเพียงครั้งเดียว จะมีการแลกเปลี่ยนออกซิเจน 2 ครั้งที่ปอด

แต่เมื่อในอากาศ มีคาร์บอนไดออกไซด์ และ PM2.5 มากกว่าปกติจากไฟป่า หรือ เผาไร่ คาร์บอนไดออกไซด์ และ PM2.5 ก็จะเข้าไปสู่ปอดของนก 2 ครั้ง ในทุกครั้งที่มีการหายใจ และสร้างความเสียหายต่อร่างกายนกมากกว่าคน เพราะรับมลพิษที่เข้มข้นเท่ากัน แต่นกมีร่างกายเล็กกว่ามาก

ทั้งหมดนี้ก็อยากจะขอเตือนดังๆ ไปอีกที ให้ทุกคนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โปรดหันมาใส่ใจปัญหาสิ่งแวดล้อมรอบตัว และช่วยกันแก้ไขเท่าที่ตนจะทำได้ให้มากที่สุด เพราะธรรมชาติได้ส่งสัญญาณเตือนมาอย่างชัดเจน 

(ภาพ น.ส.ณัฐรุรี คำชมภู นักวิทยาศาสตร์ ชำนาญการ โรงพยาบาลสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กทม.)

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ฝุ่นพิษคลุม 70 พื้นที่ กทม. PM2.5 เกินเกณฑ์ระดับสีส้ม-สีแดง

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง