วันนี้ (9 มี.ค.2566) ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร สรุปผลการตรวจวัด PM2.5 เมื่อเวลา 05.00-07.00 น. โดยตรวจวัดได้ 56-99 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) ซึ่งค่า PM2.5 มีแนวโน้มลดลง แต่ยังเกินมาตรฐานทุกพื้นที่ โดยอยู่ในระดับ "สีแดง" มีผลกระทบต่อสุขภาพ และอยู่ในระดับ "สีส้ม" เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM2.5 ได้ 56-96 มคก./ลบ.ม. มีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับเมื่อวาน (8 มี.ค.) ในช่วงเวลาเดียวกัน และพบว่าเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 70 พื้นที่ โดยแขวงบึงกุ่ม เขตบึงกุ่ม วัดค่าฝุ่นได้สูงสุด 96 มคก./ลบ.ม. คุณภาพอากาศอยู่ในระดับ "สีแดง" มีผลกระทบต่อสุขภาพ
- กรุงเทพเหนือ พื้นที่เขตหลักสี่ บางเขน จตุจักร
- กรุงเทพตะวันออก พื้นที่เขตบึงกุ่ม มีนบุรี ประเวศ
- กรุงเทพกลาง พื้นที่เขตสัมพันะวงศ์ วังทองหลาง พระนคร
- กรุงเทพใต้ พื้นที่เขตบางนา สาทร ยานนาวา
- กรุงธนเหนือ พื้นที่ทวีวัฒนา ตลิ่งชัน บางกอกใหญ่
- กรุงธนใต้ เขตหนองแขม ภาษีเจริญ บางบอน
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องซึ่งคาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่น PM2.5 ในช่วงวันที่ 9-13 มี.ค. การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างอ่อน อยู่ในสภาวะอากาศปิดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ฝุ่น PM2.5 เกิดการสะสมตัวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จนถึงวันที่ 9 มี.ค.
ช่วงวันที่ 10-12 มี.ค. อากาศเริ่มอยู่ในสภาวะเปิด การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ดี ส่งผลให้ฝุ่น PM2.5 เกิดการสะสมตัวมีแนวโน้มลดลง ในช่วงนี้มวลอากาศเย็นยังแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน แต่เริ่มมีกำลังอ่อนลง มีอากาศเย็นตอนเช้า กลางวันอากาศร้อน ลมทิศตะวันออก ตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้ พัดปกคลุม มีกำลังอ่อนถึงปานกลาง
ทั้งนี้ ช่วงวันที่ 12-14 มี.ค. อากาศจะเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง โดยประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นได้ จากอิทธิพลของมวลอากาศเย็นเกิดการปะทะกันกับมวลอากาศร้อนทำให้มีพายุฤดูร้อน ลมกระโชกแรง มีฟ้าร้อง ฟ้าผ่าและลูกเห็บตกได้
ขณะที่วานนี้ (8 มี.ค.) จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติ บริเวณพื้นที่ กทม. 2 จุด คือ เวลา 13.16 น. แขวงลำผักชี เขตหนองจอก และเวลา 13.16น. แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
2 เดือน ป่วยจากมลพิษทางอากาศ 1.32 ล้านคน
เช็กด่วน! กทม.ฝุ่นจิ๋วเกิน 7 วันติดอะไรที่ต้องห้ามทำ
"หมอนิธิพัฒน์" ห่วงแม่ตั้งครรภ์รับฝุ่น PM2.5 สูงเสี่ยงลูกพิการแรกคลอด