ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สธ.เผย 3 ปีไทยใช้งบฯ รับมือโควิด 4.4 แสนล้านบาท

สังคม
6 มี.ค. 66
16:03
350
Logo Thai PBS
สธ.เผย 3 ปีไทยใช้งบฯ รับมือโควิด 4.4 แสนล้านบาท
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สธ.เผยผลศึกษาไทยใช้จ่ายด้านสาธารณสุขรับมือ "โควิด" 3 ปี รวม 444,294 ล้านบาท กว่าครึ่งเป็นค่าบริการสุขภาพ ทั้งตรวจคัดกรอง รักษาพยาบาล ค่าฉีดวัคซีน

เมื่อวันที่ 5 มี.ค.2566 นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ หัวหน้าที่ปรึกษาระดับกระทรวง (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ 11) ในฐานะประธาน คณะกรรมการประมวลสถานการณ์โรคโควิด-19 กระทรวงสาธารณสุข (MOPH Intelligence Unit : MIU) เปิดเผยผลการศึกษาของโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เกี่ยวกับการเงินการคลังสุขภาพ เพื่อตอบสนองต่อการระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย พบว่า แหล่งงบประมาณหลักด้านสาธารณสุขในการรับมือโควิด-19 มาจากงบกลางและงบเงินกู้ กรอบวงเงิน 1 ล้านล้านบาทและ 500,000 ล้านบาท

โดยค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขในการรับมือโควิด-19 ระหว่างปี 2563-2565 รวมทั้งสิ้น 444,294 ล้านบาท เป็นค่าบริการสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโควิด 19 เช่น ค่าตรวจคัดกรอง ค่ารักษาพยาบาล ค่าฉีดวัคซีน เป็นต้น ในสัดส่วนมากที่สุดประมาณ 260,174 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 59 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด

ตามด้วยการจัดซื้อและบริหารจัดการวัคซีน รวม 77,987 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17 และค่าตอบแทน เยียวยา ชดเชยและเสี่ยงภัยสำหรับบุคลลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข รวมถึงผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง 57,499 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 13 ส่วนที่เหลือเป็นค่ายาและวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ พื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐ และองค์กรการวิจัยและพัฒนา ฯลฯ

นพ.รุ่งเรือง กล่าวอีกว่า สถานะเงินบำรุงของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่า เพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับสถานะเงินบำรุงก่อนการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เช่นเดียวกับภาพรวมของรายได้และอัตราการเพิ่มของสินทรัพย์ของโรงพยาบาลเอกชนที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น บ่งบอกว่าเงินที่อุดหนุนโรงพยาบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพียงพอในการรับมือกับโควิด-19

ส่วนภาวะล้มละลายจากค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของครัวเรือนไทยในช่วงที่มีการระบาด ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับสถานการณ์ก่อนการระบาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งครัวเรือนที่มีรายได้น้อยที่สุด พบว่ามีความเสี่ยงล้มละลายลดลงร้อยละ 30-33

อย่างไรก็ตาม แม้รัฐบาลพยายามสร้างกลไกการตัดสินใจด้านการคลังสุขภาพในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ให้แตกต่างจากสถานการณ์ปกติ แต่กฎระเบียบและวิธีการใช้เงินไม่ได้แตกต่างจากกลไกเดิมมากนัก ส่งผลต่อความรวดเร็วในการตอบสนองต่อการระบาดของโรค

อ่านข่าวอื่นๆ

สธ.จับตาสงกรานต์-เปิดเทอมเสี่ยง "โควิด" ขาขึ้น

สถาบันโรคผิวหนังพร้อมฉีดวัคซีนไฟเซอร์รุ่นใหม่ เริ่ม 7 มี.ค.นี้

"หมอกฤตไท" ตั้งคำถามปัญหาฝุ่น PM2.5 "ต้องซื้ออากาศหายใจจริงๆ เหรอ"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง