ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ทำไมต้องจับ "เหี้ย" สัตว์ป่าคุ้มครองสู่เมนูอาหารป่า

สิ่งแวดล้อม
2 มี.ค. 66
15:45
3,056
Logo Thai PBS
ทำไมต้องจับ "เหี้ย" สัตว์ป่าคุ้มครองสู่เมนูอาหารป่า
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"ชุดจับเหี้ย" เขตห้ามล่าสัตว์ป่าพันธุ์ท้ายนรสิงห์ ระบุคนจับเหี้ยต้องมีความชำนาญเพื่อให้ได้ตัวเป็นๆ ใช้เหยื่อล่อ ยันมีกลุ่มคนนิยมเมนูเนื้อเหี้ยปรุงอาหารป่า แทนเนื้อแลน ไม่เชื่อเนื้อมากพอทำลูกชิ้นปลา ยันไม่สามารถนำไข่มาเพาะเป็นตัวได้ จึงไม่ปลดล็อกเลี้ยงได้
ผมจับเหี้ยมา 20 ปีมากกว่า 3,000 ตัวในพื้นที่แม่กลอง สมุทรสงคราม จับเหี้ยไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องเป็นคนชำนาญถึงจะได้ตัวเป็นๆ ต้องเรียนรู้จากพฤติกรรมของเขาเพื่อปรับใช้

นายพจน์ ทับประทุม อดีตหัวหน้าเขตห้ามล่าพันท้ายนรสิงห์ จ.สมุทรสงคราม กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช หัวหน้าชุดพันท้ายนรสิงห์ ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์

หลังกระแสข่าวการจับตัวเงินตัวทอง หรือตัวเหี้ย ส่งขายให้ร้านอาหารป่าในพื้นที่ภาคตะวันออก และบ้างก็ว่านำไปแปรรูปเป็นลูกชิ้นปลา สร้างความตื่นตกใจให้กับคนที่นิยมกินลูกชิ้น

ภาพ:กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ภาพ:กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ภาพ:กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

อดีตหัวหน้าชุดจับเหี้ย บอกว่า ผู้ที่จะจับตัวเหี้ยให้ยังมีชีวิต ต้องมีความชำนาญ และความสามารถเฉพาะ เนื่องจากต้องใช้แร้วในการดักจับ และใช้เหยื่อที่มีทั้งของสด และซากหัวปลา พุงปลา ไปล่อเพราะจะกลิ่นจะดึงดูดให้เหี้ยมากินเหยื่อได้ไม่ยาก 

การล่อเหี้ย ใช้เศษปลาจากโรงงาน พวกหัวปลา ไส้ พุงปลา เอามาหมักให้มีกลิ่น และของสด แต่ถ้านำไปดัก และต้องไปสำรวจจุดที่จะไปวางแร้ว เช่น บ่อเลี้ยงปู เลี้ยงปลา แถวพื้นที่ จ.สมุทรสงคราม 

การวางต่อครั้งวางคราวละ 30-40 และย้ายจุดที่พบร่องรอยเพิ่มจำนวน และใส่อาหารเพิ่มลงไปในแต่ละวัน ต้องดูสภาพพื้นที่ว่าตัวเหี้ยไม่อยู่ในที่โล่ง และนอนหลับบนต้นไม้ เพื่อระวังภัย แต่ถ้าไม่มีจะขุดโพรงดินลึก พบว่าตัวเหี้ยปรับตัวได้ดี มันไม่ชอบอยู่กลางแดด ชอบอยู่ในพุ่มไม้

การดักไม่ยาก ใช้แร้วในการดัก แต่เหี้ยจะหลงกลหรือไม่ ขึ้นกับสภาพอากาศ ร้อนมากเหี้ยจะไม่กินเหยื่อ แต่ถ้าฝนตกพรำๆ อากาศชื้น ช่วงเย็น 4-5 โมงเย็นจะออกหากินเหยื่อ ถ้าดักจะได้เวลาช่วงค่ำๆ ส่วนมากจะติดช่วงเย็นๆ
ภาพ:กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ภาพ:กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ภาพ:กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ทำไมต้องกินเหี้ย ที่ไหนนิยม

นายพจน์ บอกว่า จากที่เป็นข่าวที่ จ.สุพรรณบุรี เชื่อว่าน่าจะมีคนดักเป็น โดยการทำแร้วไปดัก ทำให้มีการจับได้คราวละมากๆ และตัวเหี้ยไม่ตาย ซึ่งจากประสบการณ์ แต่ละครั้งทำแร้ว 100 คัน โอกาสที่ดักได้ 30 ตัวหรือ 30%ส่วนขนาดของตัวเหี้ยที่ดักจับได้ ถ้าสมบูรณ์ใหญ่สุด 50 กม.ตัวขนาด 3 เมตร แต่ถ้าขนาดเล็กยาว 50-60 เมตร หนักแค่ 3-5 กก.

โดยการจับเหี้ยของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าพันท้ายนรสิงห์ เป็นการจับเพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของเหี้ยที่มีมากในชุมชน และจะนำไปเลี้ยงที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าเขาสน ก่อนจะฟื้นฟูและปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ

ส่วนการแอบอ้างเนื้อเหี้ย เป็นเนื้อแลน เท่าที่ทราบฮิตในพื้นที่ภาคตะวันออก แถว จันทบุรี ระยอง ตราด ก่อนหน้าเคยมีรายงานชำแหละ และขนจากแถวแม่กลอง แค่ยังดักจับไมได้ กระทั่งมาปีนี้จับได้แถวสุพรรณบุรี 

คนที่กินเหี้ย เพราะเหมือนเนื้อไก่ กินดีกว่าจระเข้ นิยมนำมาผัดเป็นอาหารป่า เฉพาะบ้องตันที่ติดหนัง จะกรึบๆ เชื่อว่าคนที่กินก็รู้ว่าเป็นตัวเหี้ย เพราะตัวแลนหากินยาก อยู่ป่าเต็งรัง ประชากรน้อยกว่า การล่ายากกว่า

อ่านข่าวเพิ่ม รู้จักสัตว์ป่าคุ้มครอง "วงศ์เหี้ย" 4 ชนิดในไทย

ภาพ:กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ภาพ:กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ภาพ:กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

อดีตหัวหน้าชุดพันท้ายนรสิงห์ บอกว่า ส่วนตัวไม่เชื่อว่าจะเอาเนื้อเหี้ยไปทำลูกชิ้นปลาได้ เพราะคงไม่คุ้ม ต้องใช้เนื้อมาก เนื้อเหี้ยจะมีแค่ช่วงขา แขนหน้า และส่วนที่เป็นบ้องตันเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การที่มีการจับและล่าตัวเหี้ย ส่วนหนึ่งเพราะเหี้ยสร้างความเดือดร้อนรำคาญ โดยเฉพาะพื้นที่บ่อเลี้ยงปลา บ่อกุ้ง ทำให้ต้องมีการจับออก และเคยเจอวางยาเบื่อตัวเหี้ยตายจำนวนมาก

เหี้ยยังเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง แม้จะมั่นใจว่าจะไม่สูญพันธุ์ในธรรมชาติ เพราะออกไข่ 40-50 ฟอง ฝังกลบอย่างดี สังเกตว่าหากช่วงไหนที่ไม่ได้จับเว้นไป 3-4 ปีก็จะมีรุ่นเล็กโตขึ้นวนกลับมา

หากถามถึงความหนาแน่นของตัวเหี้ย อดีตหัวหน้าชุดพันท้ายนรสิงห์ บอกว่า ตัวเหี้ยไม่สูญพันธุ์แน่นอน ยังมีมากทั่วทุกที่ที่มีแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร ใต้ถุนบ้านที่ติดลำคลอง ทิ้งเศษอาหารลงมา แต่การกำจัดออกระบบทำไม่ได้ เพราะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง 

ก่อนหน้านี้ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน เคยทดลองพบว่าไข่ 40 ฟองอาจพบว่ามันยากมาก แค่พลิกก็จะฝ่อแล้ว การเพาะยาก ดังนั้นจึงตอบคำถามว่าทำไมกรมอุทยานฯถึงยังไม่ให้เพาะเลี้ยงเหี้ยเชิงการค้า

ที่ผ่านมา เหี้ยยังถูกคุกคาม ถูกล่ามาเป็นอาหาร ใช้เป็นส่วนประกอบยารักษาโรค ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง และอื่นๆ อีกมากมาย กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช คุ้มครองสัตว์ตระกูลเหี้ย 4 ชนิดคือ ตัวเงินตัวทอง หรือเหี้ย ตัวตะกวดหรือแลน ตุ๊ดตู่ และเห่าช้าง ห้ามมิให้ผู้ใดล่าหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าคุ้มครอง หรือซากสัตว์ป่าดังกล่าว หากฝ่าฝืนมีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

CIB ยันโรงงานชำแหละ "ตัวเหี้ย" ไม่ส่งทำลูกชิ้นปลา

ยังไม่ชัด! อุทยานฯ ขยายผล "ลูกชิ้นเนื้อเหี้ย" แต่พบขายเนื้อร้านอาหารป่า

บุกจับแก๊งค้าสัตว์ป่า พบของกลาง "เหี้ย 32 ตัว 59 ซาก-เต่านับร้อย"

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง