ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"นานแค่ไหน" ที่เราจะรู้ว่า "พืช" ที่ค้นพบ เป็นครั้งแรกของโลก

สิ่งแวดล้อม
27 ต.ค. 65
16:44
469
Logo Thai PBS
"นานแค่ไหน" ที่เราจะรู้ว่า "พืช" ที่ค้นพบ เป็นครั้งแรกของโลก
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
นักพฤกษศาสตร์ยอมรับว่า ยังมีพืชดอกบนโลกนี้อีกมากกว่า 3 แสนชนิดที่ยังไม่ถูกค้นพบ การค้บพบพันธุ์พืชชนิดใหม่ที่เป็นครั้งแรกของโลกในแต่ละครั้ง จึงสร้างความตื่นตาตื่นใจให้แก่วงการพืชและระบบนิเวศของโลก

ในการค้นพบสิ่งมีชีวิตใหม่ของโลกแต่ละครั้ง จะต้องอาศัยขั้นตอน กฎระเบียบสากล เพื่อใช้ในการขอขึ้นทะเบียนเป็น สิ่งมีชีวิตใหม่"ครั้งแรกของโลก" สำหรับประเทศไทยเอง ก็มีขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อให้การรองรับ สิ่งมีชีวิตใหม่ในระบบนิเวศ และทำการประกาศเพื่อให้รู้โดยทั่วกัน 

หลังการประกาศ "พันธุ์พืชหรือพันธุ์สัตว์ชนิดใหม่ของโลก" ในแต่ละครั้ง สังคมโซเชียลส่วนใหญ่มักจะมีคำถามตีกลับมาว่า

“มีมานานแล้ว”
“เกิดมาก็มีแล้ว”
“ที่จริงมันคือ ... ต่างหาก”


ไทยพีบีเอสออนไลน์ ชวนไขข้อข้องใจไปด้วยกัน กับความสงสัยที่ว่า ถึงจะเป็นพืชหรือสัตว์ชนิดใหม่ก็จริง แต่ทำไมหน้าตาคับคล้ายคับคลากับพืชหรือสัตว์ท้องถิ่นที่เห็นได้ทั่วไป

 

พันธุ์พืชใหม่ คืออะไร

คือพันธุ์พืชชนิดหนึ่งที่อยู่ในการศึกษาวิจัยของนักปรับปรุงพันธุ์พืชภายใน 1 ปี โดยที่พันธุ์พืชชนิดนั้นๆ ไม่มีการนำส่วนขยายพันธุ์มาใช้ประโยชน์ใดๆ ทั้งการขายหรือจำหน่าย ทั้งในและนอกราชอาณาจักร

พันธุ์พืชชนิดนั้นๆ ต้องมีความแตกต่างจากพันธุ์พืชอื่นที่ปรากฏอยู่ในวันที่ขอจดทะเบียน

รายละเอียดของความแตกต่างนั้น เกี่ยวข้องกับ ลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อการเพาะปลูก การบริโภค เภสัชกรรม การผลิตหรือการแปรรูป รวมถึงมีความแตกต่างจากพันธุ์พืชอื่นด้วย

ตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 มาตรา 11 และมาตรา 12 กำหนดให้มีการจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ โดยให้พิจารณาถึงคุณสมบัติและองค์ประกอบของพันธุ์พืชที่ขอจดทะเบียน ดังนี้

     1. มีความใหม่ (Commercial Novelty) คือพันธุ์พืชที่ไม่เคยถูกนำไปทำประโยชน์ใดๆเลย

     2. มีความแตกต่างจากพันธุ์อื่นอย่างเด่นชัด (Distinctness) คือมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ซึ่งเป็นผลเนื่องจากการแสดงออกของสภาพทางพันธุกรรมที่แตกต่างจากพันธุ์อื่น

     3. มีความสม่ำเสมอ (Uniformity) มีความสม่ำเสมอของลักษณะประจำพันธุ์ เนื่องจากการแสดงออกของสภาพทางพันธุกรรมที่จำเพาะต่อพันธุ์พืชนั้น

     4. มีความคงตัว (Stability) แสดงลักษณะประจำพันธุ์ได้ในทุกครั้งของการผลิต

เมื่อนักปรับปรุงพันธุ์ได้ศึกษาและวิจัย จนครบทั้งในแง่ของระยะเวลาและคุณสมบัติต่างๆ ตามที่ พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 มาตรา 11 และมาตรา 12 กำหนดไว้แล้ว จึงจะส่งเรื่องเพื่อขอจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่

 

การยื่นขอจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ 

     1. การตั้งชื่อพันธุ์พืชใหม่ ให้ตั้งชื่อเป็นภาษาไทย หากมีชื่อเป็นภาษาอื่นก็ให้ใช้อักษรไทย และชื่อพันธุ์พืชจะต้องไม่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้

               1.1) เป็นหรือคล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย พระปรมาภิไธยย่อ หรือพระนามาภิไธยย่อ หรือ นามพระราชวงศ์
               1.2) ไม่สุภาพ หรือขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
               1.3) สื่อความหมายไปในทางเกินความจริงหรือโอ้อวด
               1.4) เป็นหรือคล้าย ชื่อสามัญ ชื่อชนิด หรือชื่อสกุลของพืช
               1.5) เป็นหรือคล้าย ชื่อพันธุ์พืชอื่นในวงศ์เดียวกันที่มีอยู่ แพร่หลายทั่วไป
               1.6) เป็นคำสมาส หรือคำสนธิ ของชื่อพันธุ์พืชในวงศ์เดียวกัน ที่ไม่ใช่พ่อ–แม่พันธุ์ของพันธุ์พืชนั้น
               1.7) มีคำนำหน้า เช่น ศาสตราจารย์ หม่อม พลเอก นาย
               1.8) อาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิด

                    หมายเหตุไม่ใช้บังคับแก่กรณีที่มีการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่บุคคล หรือเนื่องในวาระพิเศษต่างๆ ในกรณีดังกล่าว ให้ผู้ขอพิจารณาตั้งชื่อได้ตามความเหมาะสม โดยให้อยู่ในความเห็นชอบของอธิบดีกรมวิชาการเกษตร

     2. ขั้นตอนการจดทะเบียน


     3. ขั้นตอนการออกหนังสือรับรองพันธุ์พืชขึ้นทะเบียน


นอกจากรายละเอียดความซับซ้อนทางพันธุกรรมที่จะต้องใช้ความรอบคอบในการทำการศึกษาวิจัยแล้ว การใช้ระยะเวลาในขั้นตอนการวิจัย การยื่นเรื่องลงทะเบียนต่างๆ ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้การประกาศชื่อพันธุ์พืชชนิดใหม่ของโลกในแต่ละครั้ง อาจจะสร้างความสงสัยต่อสังคมเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะในภูมิภาคที่พบเจอหรือรู้จักพันธุ์พืชชนิดนั้นอยู่แล้ว

ความล่าช้าที่หลายคนมอง ไม่ได้เป็นดั่งที่หลายคนคิด เพราะการจะแต่งตั้งพันธุ์พืชชนิดใหม่ของโลก ย่อมต้องใช้ระยะเวลาศึกษาอย่างละเอียดเป็นสำคัญ เพื่อให้ชัดเจน และมั่นใจได้ว่า พันธุ์พืชชนิดนั้นๆ เป็นอีกหนึ่งความหลากหลายทางระบบนิเวศของไทย และสามารถแสดงให้ทั่วโลกได้เห็นถึงความร่ำรวยทางทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทยด้วย

ที่มา : กลุ่มวิจัยการคุ้มครองพันธุ์พืช สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง