ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

บ่อ 'ขยะศรีเทพ' กระบวนการยุติธรรมสิ่งแวดล้อม ความหวังชุมชน

สิ่งแวดล้อม
12 ส.ค. 65
15:41
735
Logo Thai PBS
บ่อ 'ขยะศรีเทพ' กระบวนการยุติธรรมสิ่งแวดล้อม ความหวังชุมชน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ชาวบ้านม่วงชุม ที่ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ต้องทนกับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมมานานกว่า 4 ปี กระทั่งล่าสุด ศาลปกครองนครสวรรค์มีคำพิพากษาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และบริษัทเอกชน เร่งระงับเหตุ ภายใน 30 วัน ใช้เวลาเพียง 3 เดือนหลังชาวบ้านยื่นฟ้อง

แม้ ทองสุก ทองดีกัน ชาวบ้านม่วงชุม ต.คลองกระจัง อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ จะกังวลเรื่องสารปนเปื้อน ในน้ำประปาหมู่บ้าน แต่ด้วยภาระค่าใช้จ่ายทำให้หญิงวัย 70 ปี คนนี้ ยังคงต้องใช้น้ำประปาหมู่บ้าน หุงข้าว ล้างจาน และซักผ้า

 

เธอบอกว่า ถึงแม้ว่าน้ำประปาจะไม่ได้ใช้ดื่ม แต่น้ำฝนรองไว้ใช้ดื่ม ก็เสี่ยงต่อการปนเปื้อนจากฝุ่น ที่ฟุ้งกระจายมาจากโรงงานคัดแยกฝังกลบขยะ

 

“น้ำประปา” บ้านม่วงชุม ต.คลองกระจัง อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา ถูกกรมควบคุมมลพิษ ประกาศให้ อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง หลังบ่อบาดาลใกล้เคียงกัน ตรวจพบ โลหะหนัก สารอินทรีย์ระเหยง่าย และสารพิษ ในตัวอย่างน้ำใต้ดิน ซึ่งมีค่าสัมพันธ์กับน้ำชะขยะภายในกิจการและคัดแยกฝังกลบขยะ

แต่สำหรับครอบครัว ที่พอจะแบกภาระค่าน้ำเพิ่ม อีกเดือนละ กว่า 1,000 บาท พวกเขาเลือกจ่าย เพื่อแลกกับไม่ต้องเสี่ยงรับสารปนเปื้อนจากน้ำประปา เข้าสู่ร่างกาย แต่ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ กลิ่นเหม็น เพราะบ้านอยู่ห่างจาก กิจการคัดแยกและฝังกลบขยะ เพียง 100 เมตร

 

 

แม่ของเธอที่พักอาศัยอยู่ด้วยกัน เริ่มมีอากาศผื่นคัน ในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา เธอตั้งข้อสังเกตว่าอาจเกิดจากน้ำประปาหมู่บ้าน ที่ก่อนหน้านี้ในครอบครัวใช้กิน แม้แพทย์ไม่สามารถระบุได้ว่าอาการแพ้ที่เกิดขึ้นมาจากสาเหตุอะไร แต่หลังจากซื้อน้ำดื่ม มาทดแทนน้ำประปา อาการของแม่ก็ดีขึ้น

 

กรณีนี้ ชาวบ้าน 14 คน ยื่นฟ้องหน่วยงานรัฐ และบริษัทเอกชน ใช้เวลาเพียง 3 เดือน ศาลปกครองนครสวรรค์ พิพากษา ให้ผู้ถูกฟ้อง ระงับเหตุ และฟื้นฟูภายใน 30 วัน

 

อ่านเพิ่มเติม : ศาลสั่งเร่งฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม คดีบ่อขยะศรีเทพ

TheEXIT ย้อนกลับไปตรวจสอบ “คดีปกครองด้านสิ่งแวดล้อม” จากการรวบรวมข้อมูลขององค์กรพัฒนาเอกชน พบ ทั่วประเทศ มีคำพิพากษามาแล้ว 44 คดี บางคดีที่ใช้ระยะเวลานานหลายปี

สุรชัย ตรงงาม จากมูลนิธินิติธรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างกรณีชาวบ้านคลิตี้ล่างฟ้องกรมควบคุมมลพิษ ในฐานะหน่วยงานรัฐที่มีอำนาจในการควบคุมฟื้นฟูจากมลพิษตามกฎหมาย พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 แต่ละเลยและล่าช้าในการดำเนินงานจนเกิดความเสียหายต่อชาวบ้านและสิ่งแวดล้อม

กรณีนี้ต่อสู้คดีในชั้นศาลกว่า 9 ปี จนศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาว่า ให้กรมควบคุมมลพิษ จัดทำแผนงาน วิธีการและดำเนินการฟื้นฟูตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำ ดิน พืชผักให้ครอบคลุมทุกทุกฤดูกาลละ 1 ครั้งเป็นเวลา 1 ปี จนกว่าจะพบว่า ค่าสารตะกั่วในดิน น้ำ พืชผักอยู่ในค่ามาตรฐาน พร้อมจ่ายเงินชดเชยค่าอาหารจากการที่ไม่สามารถใช้ทรัพยากรต่างๆในพื้นที่มาบริโภคได้ 94 เดือน เป็นเงินรายละ 177,199 บาท ภายในระยะเวลา 90 วัน

ในมุมมองของ 'สุรชัย' ในฐานะผู้ช่วยเหลือการยื่นฟ้องของชาวบ้านคลิตี้ล่าง บอกว่า หากเทียบระยะเวลาในชั้นศาล ถือว่า คดีบ่อขยะศรีเทพ มีคำตัดสินออกมาเร็ว เพราะใช้ระยะเวลาเพียง 3 เดือน เห็นข้อแตกต่าง และแนวทางการพิจารณาคดีด้านสิ่งแวดล้อมของศาลที่พัฒนาขึ้น

"ปัจจัยสำคัญที่เห็นได้ชัดจากทั้ง 2 คดี คือ ข้อมูลทางวิชาการในการยื่นฟ้อง พบว่าคดีบ่อขยะศรีเทพ มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมควบคุมมลพิษ และกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เข้าไปเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญ ต่างจากคดีคลิตี้ ที่กว่าจะมีหน่วยงานเข้าไปร่วมตรวจสอบก็ใช้ระยะเวลานาน ส่วนปัจจัยอื่นๆ ก็มีเรื่องกระบวนการของศาลที่เปลี่ยนไป รวมไปถึงการฟ้องของชาวบ้านศรีเทพ เป็นการฟ้องแบบไม่เรียกค่าเสียหาย"

 

 

ความคืบหน้าในกระบวนการยุติธรรมสิ่งแวดล้อม ที่เกิดขึ้น ยังเดินหน้าสู่การที่ กรมควบคุมมลพิษ เสนอแก้ไข พระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม ปี 2535 ให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมสามารถส่งเรื่องให้คณะกรรมการอัยสูงสุดฟ้องคดี แทนชาวบ้านได้

ชมย้อนหลัง : 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง