4 ก.ค.ถือเป็นวันชาติสหรัฐฯ ไทยพีบีเอส ปฎิบัติการณ์ทวงคืนสมบัติชาติจากสหรัฐอเมริกา ปีที่ผ่านมาไทยสามารถทวงคืนสมบัติชาติ ชิ้นสำคัญจากสหรัฐฯกลับสู่มาตุภูมิได้ 2 ชิ้น หากจำกันได้ คือทับหลังหนองหงส์ จ.บุรีรัมย์ และทับหลังเขาโล้น จ.สระแก้ว โดยที่รัฐบาลไม่ต้องจ่ายเงินค่าทนาย เพื่อฟ้องร้องทวงคืนแม้แต่บาทเดียว
แต่ก็ยังมีโบราณวัตถุชิ้นสำคัญ ที่ต้องออกแรงทวงคืนอีกครั้งนั้นก็คือ "Golden Boy" ประติมากรรมสำริด พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 มูลค่านับร้อยล้านบาท ถูกจัดแสดง ไว้ในพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งในสหรัฐฯ ลงพื้นที่ไปกับนักวิชาการด้านโบราณคดี พบหลักฐานสำคัญ ยืนยันได้ว่ามีแหล่งกำเนิดใน จ.บุรีรัมย์
เขาให้คำยืนยันว่า กลุ่มที่ค้าขายโบราณวัตถุให้ราคาสูงถึง 1 ล้านบาท มันดีกว่าไปทำอย่างอื่นหากขุดโบราณวัตถุขายให้กับต่างชาติได้ 1 ล้านบาท
เพราะเป็นประติมากรรมสำริดปิดทองเกือบทั้งองค์ ผิวเรียบ งดงาม ทำให้นักสะสมถึงต้องการครอบครอง พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 หรือ "Golden Boy" เมื่อ 50 ปีที่ผ่านมามีการซื้อ-ขายพุ่งสูงถึง 1 ล้านบาท และเพราะยังมีฐานหินทรายที่ตั้ง หลักฐานชิ้นสำคัญเหลืออยู่ในบ้านยาง ต.ตาจง อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์
ทำให้ทนงศักดิ์ หาญวงษ์ นักโบราณคดีกลุ่มสำนึก 300 องค์ และทีมข่าวไทยพีบีเอสเดินทางมาที่นี่เพื่อหาหลักฐานเพิ่มเติม
หลักฐานคำบอกเล่าผู้ขุดพบ Golden Boy
ทนงศักดิ์ มั่นใจมากขึ้น เมื่อ Angela Chui นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ ในลอนดอน ส่งข้อมูลประติมากรรมสำริดขนาดใหญ่ จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ The Metropolitan เพราะความสวยงามโดดเด่นของประติมากรรมทำให้ได้ฉายา "GoldenBoy"
ขณะที่ ในหนังสือ Khmer Gold เขียนโดย Emma C.Bunker กับ Douglas Latchford อดีตพ่อค้าโบราณวัตถุสัญชาติไทย ที่พึ่งเสียชีวิตเมื่อปีที่ผ่านมา ในหนังสือยังระบุพิกัดพบที่บ้านยางอำเภอละหานอีกด้วย
การเดินทางมาพิสูจน์ความจริงครั้งนี้ ไทยพีบีเอสได้เจอกับครอบครัว "เป็ดสกุล" ผู้ที่ได้สัมผัส "Golden Boy" เมื่อ 50 ปีที่ผ่านมา ยังจดจำรายละเอียด และตำหนิ ได้อย่างแม่นยำ
ยายนิล วัย 67 ปี เล่าว่า พี่เขยขุดเจอเทวรูปจริง จากนั้นช่วยกันยกมาไว้บ้าน และเป็นคนไปตักน้ำในบ่อมาล้างดินออก แต่ชาวบ้านไม่รู้ว่าปลายทาง จะถูกส่งออกไปยังสหรัฐฯ
จำได้หมด เหมือนกับในรูปพี่ชายไปขุดเจอ หลังจากขุดเจอก็มีชาวต่างชาติมาบอกให้ชาวบ้านขุดต่อ แต่ก็เจอแค่องค์เดียว
ในสมัยนั้น กลุ่มนายทุนว่าจ้างให้ชาวบ้านขุดหาสมบัติถึงวันละ 100 บาท ทำให้ปราสาทบ้านยาง กลายเป็นบ่อน้ำขนาดใหญ่ ปัจจุบันไม่เหลือสภาพ เดิมให้เห็น ชาวบ้านปรับเป็นลานเอนกประสงค์ ทำให้กรมศิลปากร ไม่ได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน
Gloden Boy มีความสูง 110 เซนติเมตร ที่สันนิษฐานว่าประติมากรรมรูปฉลองพระองค์พระเจ้าชัยวร มันที่ 6 ผู้สร้างปราสาทหินพิมาย คือผ้านุ่งที่เป็นครีบยาวลงมา ชี้ชัดว่าศิลปะแบบพิมาย ไม่พบในกัมพูชา และเป็นประติมากรรมรูปคนไม่ใช่เทพเจ้า
สอดคล้องกับข้อมูล พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 นับถือศาสนาพุทธ ชาวบ้านยังให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการทวงคืนระบุว่าเมื่อปี 2558 มีชาวต่างชาติ เดินทางมาที่บ้านยาง เพื่อตามหาแหล่งกำเนิดGloden Boy
เขาก็มาถามผม ก็บอกว่าถ้ามีความผิดผมไม่บอก เขาต้องการรู้ว่าใช่องค์เดียวกันไหม ยืนยันว่าองค์เดียวกัน แต่รูปถ่ายเขาเผาทิ้ง กลัวความผิด
แม้จะมีพยานบุคคล และการบันทึกข้อมูล จากภัณฑ์รักษ์ และนายทุนต่างชาติ ประติมากรรมสำริด พบที่ปราสาทบ้านยาง นับเป็นเบาะแสสำคัญในการเริ่มต้น ทวงคืนสมบัติชาติจากสหรัฐฯอีกครั้ง
นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร ระบุว่า หลักฐานการทวงคืนยังขาดความสมบูรณ์ ได้มอบหมายให้ คณะกรรมการติดตามคืนโบราณวัตถุฯ ทำข้อมูลเพิ่มก่อน ก่อนรีบเร่งทวงคืน เพราะไม่อยากให้กระทบกับความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ
ดังนั้นหน้าที่ต่อไปของ ทนงศักดิ์ คือเร่งทำรายละเอียด พร้อมหลักฐาน เสนอคณะกรรมการติดตามคืนโบราณวัตถุฯ เพื่อนำสมบัติชาติ กลับคืนสู่อ้อมกอดชาวบ้านยางอีกครั้ง เพราะหากพิสูจน์ได้ว่าเป็นการลักลอบค้าโบราณวัตถุอย่างผิดกฎหมาย "Golden Boy"
อาจจะเป็นสมบัติชาติอีกชิ้น ที่ได้กลับคืนมาเหมือนทับหลังหนองหงส์ จ.บุรีรัมย์ และทับหลังเขาโล้น จ.สระแก้ว ที่จะบอกเล่าเรื่องราวของประวัติศาสตร์ของ 2 พระมหากษัตริย์ คือพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 แห่งที่ราบสูงโคราช และพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งโตนเลสาม ประเทศกัมพูชา
เปิดหลักฐานทวงคืนสมบัติชาติจากสหรัฐฯ ชาวบ้านขุดภูเขาหาสมบัติ ส่งขายตามใบสั่งนายทุนต่างชาติ ไทยจ่อทวง "Golden Boy” พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 มูลค่านับร้อยล้าน กลับสู่มาตุภูมิ#ทวงคืนสมบัติชาติ #ThaiPBSnews pic.twitter.com/pOSSOKWzi2
— Thai PBS News (@ThaiPBSNews) July 4, 2022