ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

จับยุงก้นปล่องบนเกาะช้างตรวจ "มาลาเรียโนวไซ"

สังคม
26 พ.ค. 65
12:39
1,705
Logo Thai PBS
จับยุงก้นปล่องบนเกาะช้างตรวจ "มาลาเรียโนวไซ"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ทีมวิจัยความความหลากหลายทางชีวภาพของยุงพาหะนำโรค วช.เก็บตัวอย่างยุงก้นปล่องบนหมู่เกาะช้าง จ.ตราด เพื่อตรวจหาเชื้อโรคมาลาเรียโนวไซ หลังมีรายงานพบผู้ติดเชื้อแล้วกว่า 10 คน

กรณีพบการติดเชื้อมาลาเรียโนวไซ ระบาดในพื้นที่จ.ตราด ระนอง และสงขลา ทำให้กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เก็บตัวอย่างเลือดจากลิงในพื้นที่ เช่น บนเกาะช้าง จ.ตราด

วันนี้ (26 พ.ค.2565) ไทยพีบีเอส ลงพื้นที่ร่วมกับนักวิจัย โครงการวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพของยุงพาหะนำโรค สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อการเก็บรวบรวมยุงพาหะ นำโรคมาลาเรียในจุดที่พบผู้ป่วย โดยเฉพาะในพื้นที่ป่า และหมู่เกาะชายแดนของประเทศไทย เพื่อหาคำตอบว่ายุงก้นปล่องสายพันธุ์ใด ที่เป็นพาหะนำโรคมาลาเรียชนิดโนวไซที่แท้จริง  

ล่าสุดทีมวิจัยนำโดย ผศ.ดร.ธนวัฒน์ ชัยพงศ์พัชรา หัวหน้าโครงการวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพของยุงพาหะนำโรคในพื้นที่หมู่เกาะชายแดนของประเทศไทย ลงพื้นที่สำรวจเก็บตัวอย่างยุงพาหะ บริเวณจุดที่พบผู้ป่วยติดเชื้อมาลาเรีย ชนิดโนวไซ บนเกาะช้าง จังหวัดตราด หลังพบผู้ป่วยในพื้นที่จังหวัดตราดรวม 11  คน ในจำนวนนี้ 9 คน อยู่ที่อ.เกาะช้าง

 

เป้าหมายของการจับยุง เพื่อศึกษาและจำแนกชนิดพันธุ์ยุงก้นปล่องที่เป็นพาหะนำโรคมาเลเรียชนิดโนวไซที่แท้จริง จากยุงพาหะนำโรคมาเลเรีย 5 ชนิดพันธุ์ นอกจากนี้ยังตรวจสอบการกลายพันธุ์ของยีนที่สัมพันธุ์กับการดื้อต่อสารกำจัดแมลง ข้อมูลทั้งหมดจะนำไปสู่การควบคุมโรคติดต่อจากสัตว์ให้มีประสิทธิภาพ

โดยพลบค่ำทีมเจ้าหน้าที่วิจัย นั่งนิ่งๆให้ตัวเองถูกยุงกัดซึ่งเป็นหนึ่งในเทคนิคที่ใช้ตัวเองเป็นกับดักล่อยุง เพื่อให้ยุงก้นปล่องมาเกาะ และจับยุง ส่วนอีกหนึ่งวิธีคือใช้สัตว์ สำหรับครั้งนี้นักวิจัยเลือกใช้ควายเป็นกับดักล่อยุง นักวิจัยยังใช้น้ำแข็งแห้ง ที่มีคุณสมบัติเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ ผสมกับสารเลียนแบบเหงื่อคน เป็นกับดักล่อยุงด้วยเช่นกัน

การเลือกใช้กับดักล่อยุงที่แตกต่างกัน จะทำให้ได้ยุงก้นปล่องตัวเมียหลากหลายชนิดพันธุ์ พฤติกรรม การเข้ากัดเบื้องต้น เนื่องจากยุงก้นปล่อง แต่ละชนิดจะมีพฤติกรรมการกัดกินเลือดสิ่งมีชีวิตไม่เหมือนกัน ยุงบางชนิดชอบกินเลือดคน บางชนิดชอบกินเลือดสัตว์ หรือบางชนิดเข้ากับดักมากกว่าใช้สัตว์เป็นเหยื่อล่อ

เป้าหมายค้นหายุงก้นปล่องที่มีรายงานเป็นพาหะนำโรคมาลาเรีย และบนเกาะช้างก็พบโรคมาลาเรีย แต่ยังไม่มีการยืนยันว่าตัวไหนเป็นพาหะของเชื้อมาลาเรียโนวไซ

 
 
ยุงก้นปล่องเพศเมีย ที่นักวิจัยตรวจพบว่า เป็นพาหะนำโรคมาเลเรียตัวนี้ ถูกเก็บตัวอย่างได้บริเวณกลางสวนยางพารา ต.เกาะช้างใต้  เป็นยุงก้นปล่องในกลุ่มอะน็อคฟิลิส ไดรัส ซึ่งเป็น 1 ใน 5 สายพันธุ์ที่พบว่า เป็นพาหะนำโรคมาลาเรียในประเทศไทย

จากนี้นักวิจัย ต้องนำไปจำแนกชนิดที่แท้จริงด้วยวิธี PCR ทางห้องปฏิบัติการ ตรวจหายีนส์ดื้อยากำจัดแมลง และความแปรผันในระดับพันธุกรรมอื่นๆ เพื่อทำความเข้าใจยุงพาหะนำโรคในเชิงลึก และ ยืนยันพาหะนำโรคมาลาเรียโนวไซที่แท้จริง

คณะวิจัยแบ่งพื้นที่สำรวจยุงพาหะนำโรคบนเกาะช้างเป็น 3 ส่วน คือบริเวณโซนเหนือ ต.เกาะช้าง โซนแนวชายทะเลฝั่งบ้านคลองพร้าว และบริเวณสวนยางพาราและพื้นที่ป่า ต.เกาะช้างใต้
พบยุงก้นปล่องพาหะนำโรคสำคัญกระจายตัวอยู่บริเวณใกล้พื้นที่ป่า โดยเฉพาะโซนใต้ของเกาะช้าง พบประชากรยุงก้นปล่องหนาแน่น
 
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
 
 
 
 
 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง