ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

จิตแพทย์วิเคราะห์ "เค ร้อยล้าน" กับคำถามผู้ป่วยทางจิต

สังคม
11 พ.ค. 65
19:25
428
Logo Thai PBS
จิตแพทย์วิเคราะห์ "เค ร้อยล้าน" กับคำถามผู้ป่วยทางจิต
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
วิเคราะห์กรณี "เค ร้อยล้าน" กับคำถามแนวทางควบรักษาผู้ป่วยจิตเวชของไทย จิตแพทย์ ชี้หากเป็นผู้ป่วยทางจิตแต่ขาดยา ก็เท่ากับไม่ได้รักษา ชี้มีโอกาสเกิดพฤติกรรมที่รุนแรงได้ แนะคนในครอบครัวดูแลผู้ป่วยให้หายและกลับสู่สังคมได้

กรณีพฤติกรรม "นายคเณศพิศณุเทพ จักรภพมหาเดชา" หรือที่รู้จักในฉายา เค ร้อยล้าน ที่เห็นก่อความวุ่นวาย และล่าสุดมีกรณีทำร้ายร่างกายผู้อื่น ตำรวจยืนยัน มีประวัติเป็นผู้ป่วยจิตเวช ที่ต้องรักษา จึงมีคำถามว่า จะควบคุมดูแลคนกลุ่มนี้อย่างไร มีกฎหมายชัดเจนหรือไม่ตำรวจบอกว่าต้องดูเป็นกรณี 

เหตุการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้น จากบุคคลที่มีฉายาว่า เค ร้อยล้าน ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก หลังปรากฏคลิปวิดิโอทำร้ายร่างกาย ผู้หญิงคนหนึ่ง ที่บริเวณสกายวอล์กแยกปทุมวัน ช่วงเย็นวานนี้

 

มีการตั้งคำถามจากสังคมว่า เค ร้อยล้าน มีอาการทางจิตหรือไม่ เพราะพฤติกรรมหลายอย่างสร้างความตื่นตระหนก ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยงู หรือจอดรถยนต์ขวาง ที่กลางสี่แยกราชประสงค์ หลายครั้ง นอกจากนี้ยังมีประวัติ ถูกตำรวจจับที่ประเทศอินเดีย ในข้อหาก่อความวุ่นวาย

และตำรวจยืนยัน เค ร้อยล้าน มีประวัติรักษาอาการทางจิต ที่โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา แต่เขาปฏิเสธว่า ไม่ได้บ้า แม้จะยอมรับว่ากินยาตามแพทย์สั่ง ส่วนการกระทำของเขาเกิดจากความศรัทธาในสถาบันฯ และความเชื่อทางการเมืองส่วนตัว

หมอไม่ได้ระบุอะไร แต่ขอให้กินยาตรงตามเวลา 

ผู้ป่วยทางจิตขาดยามีผลต่อการรักษา 

ด้านนพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต และอดีตนายกสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ยอมรับว่า ผู้ป่วยที่ไม่ยอมรับตัวเอง และขาดการรักษาต่อเนื่อง จะส่งผลต่ออาการ อารมณ์จะแปรปรวน ควบคุมตัวเองไม่ได้ก่อเหตุกับคนรอบข้าง

ถ้าเราป่วย การที่ขาดยา ก็เท่ากลับไปเป็นภาวะการเจ็บป่วยเหมือนเดิม ถ้าเป็นโรคจิต ก็จะมีอาการทางจิต เช่น หูแว่ว ประสาทหลอน และอาการเหล่านี้จะมีพฤติกรรมรุนแรงได้

 

ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กล่าวว่า แต่ถ้าเป็นโรคอารมณ์สองขั้ว ช่วงที่เศร้าจะเศร้าจนใช้ชีวิต และทำงานตามปกติไมได้ แต่ถ้าช่วงที่ฟุ้ง จะมีพฤติกรรม เช่น การใช้จ่ายเงิน และความสัมพันธ์แบบคุกคามผู้อื่น  ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาการทางจิต หรือผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้ว มีอาการหลายระดับ และมักจะมีอาการเรื้อรัง กลับมาเป็นซ้ำได้ 

ส่วนการดูแลผู้ป่วย ครอบครัวมีส่วนช่วยสำคัญ ประกอบกับการกินยารักษาอาการตามแพทย์สั่ง ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิต ร่วมกับคนในสังคมได้ แต่หากผู้ป่วยขาดยา ไม่ได้รับการรักษาต่อเนื่อง อารมณ์จะแปรปรวน ควบคุมตัวเองไม่ได้ อาจไปก่อเหตุกับผู้อื่น ซึ่งกรณีนี้จะมีแพทย์เฉพาะทาง ที่จะชี้ว่าเข้าข่ายต้องถูกดำเนินคดีอย่างไร

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผบช.น.จ่อพิจารณาถอนประกัน "เค ร้อยล้าน" พบทำผิดซ้ำ

ตร.สน.ปทุมวัน ฝากขัง "เค ร้อยล้าน" คดีทำร้ายร่างกาย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง