ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

อุทยานฯ แจงรั้วกันช้าง 3 เขตป่าอนุรักษ์คืบหน้า 80%

สิ่งแวดล้อม
21 ก.พ. 65
17:43
662
Logo Thai PBS
อุทยานฯ แจงรั้วกันช้าง 3 เขตป่าอนุรักษ์คืบหน้า 80%
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมอุทยานฯ ยอมรับรั้วป้องกันสัตว์ป่า 3 โครงการที่แม่วงก์ ป่าสลักพระ และสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้งล่าช้า ชี้เกิดจากฝนตก ผลกระทบโควิด-19 แถมราคาก่อส้างแพงขึ้นจาก 1.49-2.6 ล้านบาทเป็น 7 ล้านบาทต่อ กม. คาดแล้วเสร็จเดือน มี.ค.นี้

วันนี้ (21 ก.พ.2565) นายสมหวัง เรืองนิวัติศัย รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวถึงความคืบหน้าการก่อสร้างรั้วป้องกันสัตว์ป่าออกนอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ และสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้งว่า กรมอุทยานฯ ยังคงแก้ปัญหาสัตว์ป่านอกเขตป่าอนุรักษ์ต่อเนื่อง

โดยเฉพาะพื้นที่มีปัญหาสัตว์ป่าออกมาสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนรอบพื้นที่ป่าอนุรักษ์ คือ พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จ.กาญจนบุรี ก่อสร้างรั้วกันช้างกึ่งถาวร 13 กม. อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จ.นครสวรรค์ ก่อสร้างรั้วกันช้างกึ่งถาวร 10 กม.พร้อมระบบเตือนภัยพลังงานแสงอาทิตย์ 12 กม.

นายสมหวัง กล่าวว่า รั้วกันช้างออกแบบที่มีมาตรฐาน เทคนิคตามหลักวิศวกรรม พร้อมติดตั้งระบบไฟฟ้าป้องกันช้าง ตอนนี้ยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ และต้องติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมอีกหลายอย่าง เนื่องจากมีอุปสรรคฝนตกหนักในพื้นที่จนเกิดน้ำท่วมขัง ไม่สามารถนำเข้าอุปกรณ์เข้าพื้นที่ และปัญหาแรงงานจากโควิด-19 จึงเกิดความล่าช้าในการก่อสร้าง   

ภาพรวม 3 โครงการใน 3 พื้นที่ป่าอนุรักษ์คืบหน้า 80% เหลือเพียงติดระบบไฟฟ้าป้องกันช้าง และยังไม่ได้ส่งมอบงาน โดยคณะกรรมการตรวจการจ้างได้กำชับให้ผู้รับจ้างทำการแก้ไขและส่งวิศวกรไปตรวจสอบแล้ว แต่คาดว่าจะแล้วเสร็จมี.ค.นี้

ส่งทีมตรวจสอบสัปดาห์หน้า-งบเพิ่ม 7 ล้านต่อกม. 

นายสมปอง ทองสีเข้ม ผอ.สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า กรณีมีบางพื้นที่ถูกช้างป่าทำลายจนรั้วพังก่อนจะก่อสร้างเสร็จ ทำให้ต้องส่งคณะกรรมการตรวจการจ้างลงพื้นที่กำชับให้ผู้รับจ้างเร่งแก้ไข พร้อมส่งทีมวิศวกรลงตรวจสอบเพิ่มเติมสัปดาห์หน้า แต่ยอมรับว่าช้างป่าเป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการในการทำลายสิ่งกีดขวาง และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น รั้วกัน จึงต้องปรับแผนสร้างรั้วกันที่มีความแข็งแรงกว่าเดิม และต้องใช้งบสูงตามไปด้วย

 

ตอนนี้ราคาก่อสร้างรั้วอยู่ระหว่าง 1.49-2.6 ล้านบาท ต่อ 1 กม. อาจต้องปรับไปถึง 7 ล้านบาทต่อ 1 กม. เพื่อให้สิ่งปลูกสร้างมีความแข็งแรง และป้องกันช้างออกมาจากเขตป่าเต็มศักยภาพ 100%

เพราะต้องก่อสร้างระยะทางหลายกม.แล้ว รวมทั้งหาแนวทางอื่นๆ ที่จะช่วยประหยัดงบให้มากที่สุด ด้วยการเข้าไปฟื้นฟูแหล่งอาหาร และที่อยู่อาศัยของช้างป่าในเขตป่าลึกต่อเนื่อง เพื่อให้ผืนป่ามีความสมบูรณ์ ลดอัตราช้างออกนอกพื้นที่มาหากิน ปัญหาระหว่างคนกับช้างป่าลงด้วย

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดบ้านกลางป่า "พญาแร้ง" ก่อนส่งตัว 14 ก.พ.นี้

สำเร็จ! “พญาแร้ง" คู่แรก กลับบ้าน "ห้วยขาแข้ง" ในรอบ 30 ปี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง