จากการสันนิษฐานว่า "ลาวครั่ง" เป็นชื่อของภาษาและกลุ่มผู้มีเชื้อสายลาวกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอาศัยอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย เช่น จ.นครปฐม สุพรรณบุรี ชัยนาท อุทัยธานี ฯลฯ

ลาวครั่งมักเรียกตนเองว่า “ลาวขี้ครั่ง” หรือ “ลาวคั่ง” ความหมายของคำว่า "ลาวครั่ง" ยังไม่ทราบความหมายที่แน่ชัด บ้างสันนิษฐานว่า มาจากคำว่า “ภูฆัง” ซึ่งเป็นชื่อของภูเขาที่มีลักษณะคล้ายระฆัง อยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองหลวงพระบางในประเทศลาว

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เชื่อแน่ว่า ชาวลาวครั่งถูกกวาดต้อนเข้ามาในประเทศไทยในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี พ.ศ.2321 และในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พ.ศ.2334 เพราะไทยยกกองทัพไปตีเมืองหลวงพระบาง และกวาดต้อนครอบครัวของชาวลาวมาในช่วงนั้น
ลักษณะทั่วไปของลาวครั่ง คือมีรูปร่างค่อนข้างไปทางสูงหรือสันทัด ทั้งหญิงและชายผิวค่อน ข้างเหลือง ตาสองชั้น ใบหน้าไม่เหลี่ยมมากจมูกมีสันผมเหยียดตรง ชอบนุ่งผ้าซิ่นคลุมเข่า นุ่งซิ่น มีดอก

ส่วนชื่อเรียกลาวคั่ง หรือลาวครั่ง สันนิษฐานได้ว่าอาจมาจาก 2 แหล่งคือ
1.มาจากชื่อของภูเขา ในอาณาจักรหลวงพระบาง ที่มีรูปร่างเหมือนระฆัง ทำให้เรียกชื่อตามนั้น คอ ลาวภูฆัง และเรียกเพี้ยนกลายเป็น “ลาวครั่ง”
2.สันนิษฐานว่า สาเหตุที่เรียกชื่อกลุ่มของตนเองมาตั้งแต่โบราณว่า “ลาวครั่ง” เป็นการเรียกตามชื่อของครั่ง ที่นิยมนำมาใช้ย้อมสีผ้าให้เป็นสีแดง เพื่อใช้ในการทอเป็นเครื่องนุ่งห่มการแต่งกายด้วยผ้าทอพื้นบ้าน

ลาวครั่งมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ในการทอผ้า เพื่อใช้ในชีวิตประจำวันและใช้ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะเทศกาลต่าง ๆ และสามารถรักษาวัฒนธรรมของตนเองไว้ได้อย่างเหนียวแน่น การทอผ้าลวดลายที่มีเอกลักษณ์ คือ ผ้าขิด ผ้าจกและผ้ามัดหมี่ ทอทั้งผ้าฝ้ายและผ้าไหม

ผ้าทอที่ใช้ในพิธีทางศาสนา ผ้าคลุมหัวนาค ผ้าห่อคัมภีร์ ผ้าทอใช้ในชีวิตประจำวัน ผ้าซิ่น ผ้าขาวม้า หมอนน้อย หมอนเท้า ถุงขนมเส้น และมีการจดังานประเพณีท้องถิ่นที่ได้ ยึดถือกันมายาวนาน
ขอบคุณข้อมูล : อบต.แม่ลาด อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร / เว็บไซต์มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร