ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เช็กระดับเครียดมาก - เครียดน้อย "เสี่ยงโรค COVID-19"

สังคม
1 เม.ย. 63
13:21
1,505
Logo Thai PBS
เช็กระดับเครียดมาก - เครียดน้อย "เสี่ยงโรค COVID-19"
กรมสุขภาพจิต เผยระดับความเครียดของคนไทยต่อสถานการณ์ COVID-19 แนวโน้มเครียดมาก 5.8% หากเทียบกับ 2 สัปดาห์แรกของเดือนมี.ค.พบว่าเครียดมาก 2.7% และ 2.9% แต่ศูนย์ศบค.กังวลคนเครียดน้อยคือกลุ่มเสี่ยงต่อโรคได้ง่าย แนะนำเว้นระยะห่าง งดกิจกรรมสังคม พื้นที่เสี่ยง

วันนี้ (1 เม.ย.2563) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ในฐานะโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) แถลงข่าวสถานการณ์ตัวเลขผู้ติดเชื้อ COVID-19 ว่า จากการสำรวจการรับรู้ข้าวสาร พบว่าประชาชนตื่นตัวมากขึ้น หลายคนรับฟังข่าวสารมากกว่า 5 ชั่วโมง 1 ใน 5 ของประชาชนรับฟังข่าวสารมากขึ้น ส่วนความเชื่อมั่นใจมาตรการ อยู่ที่ 39.3% เชื่อมั่นปานกลาง

ตัวเลขที่จะเกิดในปลายสัปดาห์นี้ จนถึงสัปดาห์หน้า จะเป็นตัวเลขที่เป็นผลสัมฤทธิ์จากการทำงานของทุกหน่วยงานและจากความร่วมมือของประชา ชน โดยหวังว่าตัวเลขจะลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเป้าหมายที่ต้องการให้ทุกคนร่ววมือเว้นระยะห่างทางสังคมอยู่ที่ 90%

นอกจากนี้ยังมีการสำรวจในช่วง 3 สัปดาห์เกี่ยวกับการติดตามข่าวสาร COVID-19 พบว่า ช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนมี.ค.(ระหว่าง28-29) ประชาชนมีความเครียดมากที่สุด 3.7% เครียดมาก 5.8% เครียดปานกลาง 24.8% และกับเครียดน้อย 65.7%

ซึ่งหากเทียบกับ 2 สัปดาห์ก่อนคือช่วงแรกของเดือนมี.ค.พบว่าคนไทยมีระดับความเครียดมากสุด 1.7% เครียดมาก 2.7% เครียดปานกลาง14.1% และเครียดน้อย 81.5% ส่วนสัปดาห์ที่ 2 (21-25 มี.ค.) ระดับความเครียดมากสุด 1.2 % เครียดมาก 2.9 % เครียดปานกลาง 22.3.% และเครียดน้อย 73.6.% 

หมายความว่าคนที่ตระหนกก็มีบ้าง ต้องบอกว่าเครียดปานกลางดีที่สุด เพราะเครียดน้อยอาจจะยิ่งหย่อนในการปฏิบัติตัว

นอกจากนี้ นพ.ทวีศิลป์ กล่าวอีกว่า สำหรับมาตรการ Social distancing หากมีสมาชิกมากกว่า 1 คนในบ้าน ให้คิดเลยว่าคนอีกคนมีความเสี่ยงติดกับเรา หรืออาจไปสัมผัสเชื้อจากข้างนอกมาก ดังนั้น ขอย้ำให้ใช้มาตรการ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือบ่อยๆ อยู่ใน้บานก็ขอให้สวมหน้ากาก และขอให้เว้นระยะห่าง 2 เมตร เพราะละอองฝอยอาจจะทำให้เกิดการแพร่เชื้อได้

อยู่ด้วยกันได้ แต่ต้องอยู่ห่างๆกัน ถามว่าอีกนานไหม เมื่อเราเห็นตัวเลขยังทะยานเป็นร้อย ไม่ต้องจำกัดวัน ขอให้ทำไปเรื่อยๆ ขอความร่วมมือจากทุกคน

ชวนคนไทยร่วมมือเว้นระยะห่าง 90% ลดคนป่วย

ด้านนพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า การป้องกันการระบาดในวงกว้าง ต้องมีมาตรการสำคัญ คือการเว้นระยะห่างทางสังคม เพราะไวรัสไปไหนมาไหนเองไม่ได้ แต่มีบุคคลพาไป ดังนั้นการเว้นระยะห่างที่เหมาะคือ การอยู่ห่างกัน 2 เมตร

เมื่อมีมาตรการเว้นระยะห่าง ทำให้ต้องมีการปิดสถานที่ต่างๆ เช่น พื้นที่แสดงมหรสพ หรือ สนามมวย เพราะเป็นสถานที่ที่ไม่สามารถเว้นระยะห่างจากกันได้ จนเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาด ซึ่งที่ผ่านมา กรมสุขภาพจิตได้สำรวจว่าประชาชนกังวลกับปัญหา COVID-19 อย่างไรพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 15,838 คน มีความกังวลปานกลางมากที่สุด 76.17% ส่วนกังวลสูง 18.15% และกังวลต่ำ 5.68%

 

นอกจากนี้ จากการสำรวจมาตรการเว้นระยะห่างไทยมีเป้าหมายจะต้องทำให้ 80 ในสัปดาห์ที่ 3 เดือนมี.ค.พบว่า การเลี่ยงไปในสถานที่แออัดพบว่า 71.1% ทำบ่อยๆ 24.7 % ไม่ทำบ้าง-ทำบ้าง 4.2% ส่วนไม่ใกล้ชิดอยู่ห่าง 2 เมตร ทำประจำ 67.9% ทำบ่อยๆ 26.6% และทำบ้าง-ไม่ทำบ้าง 5.5%

ด้านพ.ญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ตอนนี้จากการประเมินพบว่าการปรับให้คนลดการเดินทาง และ work from home ยังมีตัวเลขอีกประมาณ 40% ซึ่งยังถือว่าน้อยไปตอนนี้ขอความร่วมมือออฟฟิสควรจะต้องมากถึง 70% และขอให้งดกิจกรรมทางชุมชนทุกเรื่อง เพื่อลดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาให้มากที่สุด

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

1 เดือนไทยป่วย 1,771 คน-เตือน กทม.แพร่เชื้อ 3 เท่า

อย.ถอนใบจดแจ้ง-เรียกคืน 24 เจลล้างมือแอลกอฮอล์ต่ำกว่า 70%

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง