เพราะไม่ใช่แค่หยิบๆจับๆสลับซ้ายขวา สองมือทำเพื่องานตรงหน้า หากแต่ขณะที่มือข้างหนึ่งจับ อีกข้างก็ยังต้องปั่น หมุนๆพันๆเพื่อให้ได้ ไจ ก่อนนำไปต้มย้อมสี ทอเป็นผืนผ้างามตามแต่ละท้องถิ่น นอกจากเป็นขั้นตอนกรอเส้นไหมที่คุ้นตา ลักษณะการใช้งานที่เรียกว่าแทบจะไม่ได้วางมือต้องถือต้องจับตลอด ยังทำให้อุปกรณ์สำคัญอย่าง ระวิง หรือที่ในบางท้องถิ่นเรียกว่า กง ถูกนำมาใช้สำนวน
![](https://news.thaipbs.or.th/media/TSNBg3wSBdng7ijM75Pooi4xe0PHQ9497Dhobm7wfsG.jpg)
โดยเปรียบการทำงานของเครื่องมือที่ต้องหมุนอยู่ตลอด คล้ายกับแรงมือของคนว่า มือเป็นระวิง
![](https://news.thaipbs.or.th/media/TSNBg3wSBdng7ijM75Pooi4xe0PHQ97GEXKS5pF5SV8.jpg)
ระวิง คือตัวปั่นด้าย เวลาทอผ้าไหมจะต้องปั่นไปเรื่อยไม่หยุด มือเป็นระวิง จึงเป็นอาการที่เราใช้มือทำงานโดยไม่ได้หยุดพัก คือทำโดยไม่หยุดหย่อน
![](https://news.thaipbs.or.th/media/TSNBg3wSBdng7ijM75Pooi4xe0PHRACKudOAi3jDPBB.jpg)
นอกจากเปรียบมือกับอุปกรณ์ทำมาหากิน สำนวนไทยยังมักเปรียบมือ กับการทำงาน หรือลักษณะงาน ซึ่งมีทำสุดกำลังความสามารถ และทำมากเกินกำลัง ในสำนวน เต็มไม้เต็มมือ และ งานล้นมือ
![](https://news.thaipbs.or.th/media/TSNBg3wSBdng7ijM75Pooi4xe0PHQ962P3RIHnAn5dI.jpg)
ในแง่ของอติพจน์ งานล้นมือ คืองานไม่ได้อยู่ในมือหรอก แต่มันเกิดจากการทำผ่านมือเรา ส่วน เต็มไม้เต็มมือ เป็นเรื่องของการบอกคุณลักษณะของคนที่มีงานเต็มหน้าตัก
แต่หากไม่อยากจับ ไม่อยากทำ ไม่อยากถือ สำนวนไทยจะใช้ วางมือ เป็นอีกความหมายแสดงว่า ไม่เอาเป็นธุระ เลิกกิจการ หรือไม่มีอะไรทำ