ในช่วงฤดูฝนฟ้าคะนองจะมีอีก 1 ปรากฏการณ์ที่น่าสนใจเกิดขึ้น คือ หรือเหตุการณ์แสงสว่างวาบชั่วคราวถือเป็นภาพที่มีโอกาสหาชมได้ยาก เพราะเกิดในเวลาเพียงไม่ถึง 3 วินาทีและผู้สังเกตการณ์ต้องอยู่ในระดับสูง จึงจะเห็นได้ชัดเจน
ภาพปรากฏการณ์สไปร์ท หรือ เหตุการณ์แสงสว่างงวาบชั่วคราวนี้ เป็นที่ถ่ายโดยภาพแรกๆ ที่กัปตันหนุ่ย หรือ ร.ต.ภคิน ทะพงค์ บันทึกไว้ได้ จากห้องนักบิน ขณะอยู่บนเส้นทางเมล์เบิร์น-กรุงเทพ ที่ระดับความสูง 38,000 ฟุต เหนือสุลาเวสีของอินโดนีเซีย วันอังคารที่ 11 มิ.ย.2562 เวลา 01:30 น. ที่ผ่านมา
ถือเป็นภาพแรกๆ ที่คนไทยสามารถบันทึกไว้ได้ ปรากฏการณ์สไปร์ทถือเป็นปรากฏการณ์ที่หาขมได้ยาก เพราะส่วนใหญ่ จะเกิดขึ้นเพียง 0.01 ถึง 3 วินาที และเกิดที่ระดับความสูงประมาณราว 65-70 กิโลเมตร
อาจมีเส้นสีแดงจางๆพุ่งสูงขึ้นไปถึงระดับ 90 กิโลเมตร หรือมีเส้นสีฟ้าๆ เรียกว่า เทนดริล ห้อยระบายย้อยลงมาถึงระดับ 24-32 กิโลเมตรลักษณะคล้ายแมงกระพรุนยักษ์ กว้างได้ถึง 50 กิโลเมตร
ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ ผู้ก่อตั้งชมรมคนรักมวลเมฆ กล่าวว่า บางครั้งจะเกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า เป็นแสงสีแดงรูปร่างคล้ายแมงกะพรุน ห้อยลงมา เป็นสิ่งที่ถ่ายภาพยาก เพราะเกิดได้นานสุดแค่ 2-3 วินาที แค่แวบเดียว ตอนที่เขาเคยเจอและถ่ายภาพครั้งแรก เพราะถ่ายวีดีโอและไปจับภาพได้
ปรากฏการณ์สไปร์ทเกิดร่วมกับฟ้าผ่าแบบบวกเสมอ เพราะปลดปล่อยประจุไฟฟ้าระหว่างบริเวณด้านบนของเมฆฝนฟ้าคะนอง ทำให้อิเลคตรอนต่างๆ ไปเสียดสีกับโมเลกุลของแก๊สในชั้นบรรยากาศ
ความต่างศักย์ระหว่างยอดเมฆกับบรรยากาศที่สูงไปชั้นของไอโอโนสเฟียร์ พอเกิดขึ้นอิเล็กตรอนถูกเร่ง และพุ่งไปชนพวกแก๊สต่างๆ ในบรรยากาศมีไนโตรเจนสูง พอชนกับไนโตรเจนที่รับพลังงานจึงเป็นแสงสีแดง
หลักฐานภาพแรกสุดที่ยืนยันว่าสไปร์ท มีอยู่จริงถ่ายได้เมื่อวันที่ 6 ก.ค.2532 โดยทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมินนีโซตา สหรัฐอเมริกา
ปรากฏการณ์สไปร์ท (Sprite) เป็นรูปแบบหนึ่งของปรากฏการณ์ที่เรียกแบบเหมารวมว่า เหตุการณ์แสงสว่างแบบชั่วคราว มักเกิดขึ้นร่วมกับพายุฝนฟ้าคะนอง ปรากฏการณ์นี้ไม่มีอันตรายใดๆ แต่ถือว่าหาชมได้ยาก เพราะเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ ระดับวินาที ผู้สังเกตการณ์ต้องอยู่ในระดับสูง หรือหากอยู่บนพื้นดิน ผู้ที่ฝึกสายตาในที่มืดก็อาจมองเห็นได้