ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

24 พ.ค.นี้ ชวนร่วมเดินรณรงค์กู้โลกร้อน

สิ่งแวดล้อม
23 พ.ค. 62
15:59
639
Logo Thai PBS
24 พ.ค.นี้ ชวนร่วมเดินรณรงค์กู้โลกร้อน
นัดรวมพลเยาวชน นักเรียน ประชาชนร่วมกิจกรรมเดินรณรงค์แก้ปัญหาภาวะโลกร้อน ภายใต้แคมเปญ "โดดเรียน ขาดงาน มาเดินขบวน" ระยะทาง 2 กิโลเมตรจากสนามกีฬาแห่งชาติมาที่แยกราชประสงค์ หวังกระตุ้นภาครัฐออกกฎหมาย มาตรการในการลดใช้พลาสติกและเพิ่มป่า

วันนี้ (23 พ.ค.2562) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊ก กลุ่ม Climate Strike Thailand และ Too Young to Die เชิญชวนประชาชน และกลุ่มเยาวชน ออกมาเดินรณรงค์แก้ไขปัญหาโลกร้อน ในวันพรุ่งนี้ (24 พ.ค.) ภายใต้แคมเปญ "โดดเรียน ขาดงาน มาเดินขบวน" โดยจะเดินจากสนามกีฬาแห่งชาติ มาที่แยกราชประสงค์ ระยะทาง 2 กิโลเมตร เริ่มกิจกรรมตั้งแต่เวลา 11.00 น.

จุดประสงค์หลักของการรณรงค์ใน เพื่อกระตุ้นภาศรัฐ และเอกชนให้ผลักดันกฎหมาย มาตรการ และนโยบายเรื่องการลดพลาสติก และการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และกระตุ้นบุคคลทั่วไปหันมาใส่ใจ โดยปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวันของตัวเอง

โดยมีเป้าหมายการลดปริมาณการปล่อยคาร์บอน ลดพลาสติกและเพิ่มพื้นที่ ป่า ก่อนที่โลกเราจะร้อนเกินอุณหภูมิ 1.5 องศาเซลเซียส เนื่องจากมองว่าสิ่งที่ได้ผลที่สุดคือ การหยุดใช้พลังงานถ่านหิน ที่ทุกคนสามารถช่วยได้ง่ายๆ เช่น การขับรถน้อยลง ปิดไฟที่ไม่ใช้ และไม่ซื้อของที่ไม่จำเป็น ถ้าทุกคนใช้น้อยลง อุตสาหกรรมก็จำเป็นต้องผลิตน้อยลง

ภาพ:เฟซบุ๊ก Climate Strike Thailand

ภาพ:เฟซบุ๊ก Climate Strike Thailand

ภาพ:เฟซบุ๊ก Climate Strike Thailand

 

กระแสรณรงค์ครั้งนี้ เริ่มมาจากสาวน้อยชาวสวีเดน เกรตา ธุนเบิร์ก วัย 16 ปี ผู้จุดประกายการประท้วงปัญหาภาวะโลกร้อนของนักเรียนนักศึกษาทั่วโลก ได้เข้าร่วมการประท้วงสัปดาห์ที่ 7 ของเด็กนักเรียนเบลเยียม ที่โดดเรียนประท้วงในหลายเมืองทั่วประเทศ เมื่อช่วงเดือนก.พ.ที่ผ่านมา

สำหรับประเทศไทย เพื่อแก้ปัญหาขยะพลาสติกและโฟมให้สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐ หลังคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบร่าง Road Map การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ.2561-2573 ด้านการจัดการขยะพลาสติกแบบบูรณาการของหน่วยงาน ทั้งการลดและเลิกใช้พลาสติก โดยใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปีนี้จะเลิกใช้พลาสติก 3 ชนิด คือ พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม พลาสติกผสมสารอ๊อกโซ่ และพลาสติกผสมสารไมโครบีท

ส่วนในปี 2565 จะเลิกใช้ อีก 4 ชนิด คือ พลาสติกหูหิ้วที่มีความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน กล่องโฟมบรรจุอาหาร หลอดพลาสติก ยกเว้นกรณีมีความจำเป็นต้องใช้สำหรับเด็ก คนชรา และผู้ป่วย และแก้วพลาสติกแบบบาง ประเภทใช้ครั้งเดียว

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวดี ! 8 เดือนไทยลดขยะถุงพลาสติก 1,300 ล้านใบ

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง