ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

พาครูดูถ้ำ เสริมหลักสูตรเด็กนักเรียน

สังคม
9 พ.ค. 62
12:05
879
Logo Thai PBS
พาครูดูถ้ำ เสริมหลักสูตรเด็กนักเรียน
ผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยา พาครูท้องถิ่นสายวิทย์สำรวจโลกถ้ำวิทยา ยกระดับหลักสูตรมัธยม จ.เชียงราย เชื่อมศาสตร์หลายแขนง ส่งผลเด็กได้หวงแหนรู้คุณค่าร่วมรักษาทรัพยากรท้องถิ่น

วันนี้ (9 พ.ค.2562)ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณถ้ำทรายทอง ซึ่งอยู่ในพื้นที่ขุนน้ำนางนอน ภายในพื้นที่วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยา นำโดยนายชัยพร ศิริพรไพบูลย์ นำคณะครูกว่า 10 คนที่สอนในระดับชั้นมัธยม ศึกษา และประถมศึกษา จากโรงเรียนในเขตพื้นที่อ.แม่ สาย และ อ.แม่จัน พร้อมด้วยศึกษานิเทศก์ สพป.เชียงราย เขต 3 เดินทางเข้าไปภายในตัวถ้ำทรายทองเมื่อวันที่ 6 พ.ค. เพื่อศึกษาข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวกับเปลี่ยนแปลงของโลก และดาราศาสตร์

โดยกลุ่มครูทั้งหมดสอนอยู่ในสายฟิสิกส์  เคมี ชีววิทยาดาราศาสตร์โลก และวิชาคณิตศาสตร์ จุดมุ่งหมายเพื่อเก็บข้อมูลการสำรวจภายในตัวถ้ำทรายทอง ไปปรับใช้กับหลักสูตรการสอนนักเรียน

 

 

เรียนรู้ผ่านกาลเวลาสู่หลักสูตรการศึกษา

ในระหว่างการเข้าสำรวจ ทางนายชัยพรได้อธิบายเกี่ยวกับการเกิดขึ้นของหินงอกหินย้อย ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะเวลาและปริมาณน้ำที่ไหล และความเข้มข้นของสารหินปูนที่อยู่ในถ้ำ ถ้ามีน้ำมากแต่สารหินปูนน้อยหินงอกหินย้อยจะเกิดน้อย แต่ถ้ามีน้ำเยอะแต่สารหินปูนมากด้วยจะเกิดได้หินงอกหินย้อยได้มากและมีขนาดใหญ่ การใช้เครื่องเลเซอร์เก็บข้อมูล เพื่อทำแผนที่ถ้ำ ที่จะทำให้เกิดความแม่นยำมากขึ้นทั้งความกว้าง ยาว ความสูง และความกว้างของบริเวณถ้ำช่วงที่เดินผ่าน

โดยใช้มาตรการตามหลักการสำรวจของประเทศอังกฤษ พร้อมได้สาธิตให้กลุ่มครูได้เห็นและเปิดให้ซักถามได้ ซึ่งกลุ่มครูให้ความสนใจสอบถามเป็นระยะตลอดการสำรวจ โดยการสำรวจถ้ำส่วนหนี่งจะใช้ กฎของปาสคาล หรือ ตรีโกณมิติ มาร่วมด้วย ซี่งได้แนะนำให้กลุ่มครู นำไปแนะนำเด็กนักเรียนต่อเพื่อให้เข้าใจและเห็นภาพได้ง่ายขึ้น

 

ไขความลับโพรงถ้ำ

นอกจากนี้ ยังได้อธิบายเกียวกับอุณหภูมิในถ้ำที่รู้สึกไม่เหมือนกันตอนอยู่ภายในนอกถ้ำ ซี่งนายชัยพร กล่าวว่า อยู่ที่การเคลื่อนไหวของลม ซึ่งอาจมาจากช่องลม หรือโพรงที่เกิดขึ้นภายในถ้ำ  ซึ่งการวัดอุณหภูมิเพื่อเปรียบเทียบ เพราะโดยทั่วไปถ้าอุณหภูมิข้างนอกร้อนกว่า แต่ข้างในถ้ำจะเย็นกว่า  และถ้าพื้นที่นอกถ้ำหนาวหรือเย็นกว่า ข้างในถ้ำจะมีอุณหภูมิอุ่นกว่า

จากนั้นเมื่อเดินถึงช่วงโถงหลักของถ้ำ จะพบรอยแตกรอยเลื่อนของหิน ซึ่งเป็นการอธิบายว่าเป็นส่วนที่ทำให้พื้นถ้ำไม่เท่ากัน และมีส่วนที่เป็นกรวดทรายทับเป็นชั้นๆ ในถ้ำทำให้ถ้ำบางช่วงมีลักณะเอียง ซี่งเกิดจากหินปูนเข้าไปเคลือบ และทำให้น้ำที่เคยไหลได้ถูกกัดเซาะหายไป ซี่งในอดีตมีร่องรอยชี้ชัดว่าในตัวถ้ำแห่งนี้มีลักษณะสวยงาม และมีลักษณะที่ชี้ชัดว่าตัวถ้ำทรายทองมีสภาพเป็นหินอ่อนไม่ใช่หินปูน แม้จะพบสารหินปูนอยู่ในตัวถ้ำนี้จำนวนมาก 

 

 

ส่วนที่เม็ดๆ คล้ายกับกากเพชรแวววาวปรากฏอยู่บริเวณผนังถ้ำ และหินงอกหินย้อย   เป็นผลึกแคลไซต์ ซึ่งหลายคนเมื่อเห็นมีความเข้าใจว่าเป็น ซิลิกา หรือ ซิลิกอนไดออกไซด์ ซึ่งในภายในถ้ำทรายทองแห่งนี้ สามารถพบได้เกือบตลอดในช่วงที่มีการสำรวจ และทำให้เห็นเงาสะท้อนจากแสงไฟฉาบระยิบระยับสวยงามคล้ายกากเพชร นอกจากนี้ เมื่อเดินต่อไป ยังพบกับก้อนสีดำยึดติดอยู่บนเพดานถ้ำ เป็นบางช่วง ซี่งนายศิริพร อธิบายว่า บางคนนึกว่าเป็นเหล็กไหล แต่ที่จริงจาการที่เคยเข้ามาสำรวจและศึกษาที่ผ่านมามีความชัดเจนว่าเป็น แร่แมงกานิส แต่เมื่อโดนอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีดำ

 

 

หนุนท้องถิ่นร่วมอนุรักษ์อย่างยั่งยืน

ยังมีอีกหลากหลายประเด็นที่นายชัยพร ได้อธิบายให้กลุ่มครูได้รับฟังอย่างน่าสนใจ ซึ่งการให้ครูเข้ามาร่วมเรียนรู้การสำรวจ นายชัยพร ในฐานะคณะกรรมการบริหารจัดการถ้ำแห่งชาติ ระบุว่า จะทำให้คนท้องถิ่นที่เป็นเจ้าของพื้นที่เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมต่อทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดขึ้น

ปกติถ้ำที่เปิดให้ท่องเที่ยวในปัจจุบัน มีความเสี่ยงที่เกิดการเสื่อมสลาย หรือพัง จากนักท่องเที่ยวส่วนหนี่ง  การบริหารจัดการไม่ดีส่วนหนี่ง และจากธรรมชาติส่วนหนึ่ง การดึงกลุ่มครูซึ่งเป็นแม่พิมพ์ที่ดีในการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจให้กับเด็กๆ ได้ต่อไปอย่างมีข้อมูลที่ถูกต้องและได้เห็นของจริงดั

นายชัยพ บอกว่า มั่นใจว่าทั้งครูนักเรียนและบุคคลที่เกี่ยวข้องจะช่วยกันดูแลถ้ำซี่งเป็นทรัพยากรในพื้นที่ของตัวเอง ซึ่งตอนนี้มีวิชาที่เกี่ยวข้องกับถ้ำโดยตรงทั้งสายวิทยาศาสตร์หลากสาขา วิชาพื้นฐานและวิชาประยุกต์ ซึ่งเราสามารถชี้ไปได้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างภูเขาหินปูน ถ้ำ และ ระบบนิเวศน์รอบข้าง รวมถึงการเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวกับมนุษย์โบราณและมนุษย์ปัจจุบัน ซี่งมีหลายส่วนที่เราสามารถศึกษาวิวัฒนาการเหล่านี้ได้ เพราะถ้ำมีวิวัฒนาการมานานพอสมควร และเกิดในลักษณะที่บ่งบอกได้ว่าจะเปลี่ยนสภาพไปในทิศทางใด

 

 

 

ต่อยอดความรู้ครูสู่ห้องเรียน

ด้านน.ส.กานดา ช่วงชัย ครูวิทยะฐานะเชี่ยวชาญ โรงเรียนแม่จันวิทยาคม อ.แม่จัน จ.เชียงราย กล่าวว่า การได้มาร่วมครั้งนี้ เพราะทราบมาว่า มีผู้เชี่ยวชาญด้านถ้ำเช่น นายชัยพร ได้ลงพื้นที่มาสำรวจด้ ทำให้ต้องการเรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวถ้ำทรายทองเพิ่มเติมด้วย เนื่องจากก่อนหน้านี้ได้เคยเข้าสำรวจถ้ำหลวง และเคยพาเด็กนักเรียนมาทัศนศึกษาหลายปีแล้ว ซึ่งเป็นการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นในโรงเรียน การที่มีนักธรณีวิทยามาให้ความรู้เพิ่มเติม จึงเป็นการต่อยอดความรู้ของครูให้มีความรู้เพิ่มเติมไปด้วย และทำให้ทั้งครูและลูกศิษย์ซึ่งเป็นคนท้องถิ่นอยู่แล้วเกิดกระบวนการมีส่วนร่วมและทำให้เห็นผลตอบรับที่ชัดเจนจากตัวเด็กนักเรียนที่เกิดการหวงแหนธรรมชาติ รู้คุณค่าของทรัพยากร 

 

โดยที่ผ่านมา เคยจัดกิจกรรมที่พาเด็กๆ ไปเรียนรู้เรื่องถ้ำ หรือ บ่อน้ำร้อนแล้วเด็กๆ กลับไปต่อยอดเอง ด้วยการเขียนจดหมายถึงนายกรัฐมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัด ว่าขอให้ช่วยดูแลถ้ำต่อไปอย่างไร หรือ เขียนจดหมายถึงคุณหมอ สอบถามไปว่าบ่อน้ำร้อนแถวบ้าน จะสามารถนำน้ำมาดื่มกินได้หรือไม่ อยากให้คุณหมอช่วยทำวิจัยหรือมีคำตอบให้ ซี่งเป็นสิ่งที่เด็กๆ นักเรียนได้เรียนรู้กันเอง ครูเป็นเพียงผู้ให้ข้อมูลและนำพาเด็กไปเรียนรู้

 

 

เตรียมปรับใช้หลักสูตรวิทย์-ดาราศาสตร์

การให้ข้อมูลก็บเด็ก ต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง เพราะเราเป็นครู การใส่ข้อมูลที่เราไม่รู้จะทำให้เกิดการคลาดเคลื่อน เหมือนกับการขอลงพื้นที่มาติดตามทีมสำรวจที่เป็นผู้เชี่ยวชาญมากๆ

การลงพื้นที่กับนายชัยพรครั้งนี้ จะทำให้ได้รับความรู้มากมายเช่นกัน ที่ผ่านมามีเด็กนักเรียนบางคนเมื่อได้เรียนรู้เกี่ยวกับศาสตร์ถ้ำวิทยา หรือ แขนงที่เกี่ยวกับทรัพยากร แล้วไปต่อยอดมุ่งมั่นจนสอบเข้าเรียนในระดับ ปริญญาตรี เกี่ยวกับศาสตร์ด้านเหล่านี้โดยเฉพาะ และกลับมาให้คำแนะนำครูและรุ่นน้องรุ่นต่อรุ่น ซี่งทำให้เห็นชัดเจนว่ากระบวนการเรียนการสอนที่ทำให้เด็กได้เรียนรู้ของจริงนอกห้องเรียนไปด้วยมีประโยชน์มากที่ทำให้เกิดการรู้คุณค่าทรัพยาการและร่วมกันเป็นส่วนหนี่งในการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน 

สำหรับหลักสูตรการสอนที่จะนำไปปรับในวิชาเรียน ประกอบหลักสูตรวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์โลก เช่น โครงสร้างภายในโลกแบ่งชั้นเปลือกโลก เนื้อโลกแก่นโลก ที่มีองค์ประกอบทางเคมีต่างกัน การเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา เช่น การผุพังอยู่กับที่ การกร่อน การสะสมตัวของตะกอน ทำให้เกิดภูมิลักษณะต่างๆ โดยอาศัย น้ำ ลม แรงโน้มถ่วง สภาพอากาศและปฏฺิกิริยาเคมี  ระบบน้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน และน้ำบาดาล ทั้งการเรียนรู้เพื่อด้านการฟื้นฟูแหล่งน้ำ การป้องกันและแก้ปัญหาคุณภาพน้ำ และข้อมูลเกี่ยวกับภัยพิบัติ เป็นต้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง