ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ชาวบ้านอ่าวกุ้ง หวั่นท่าเรือยอร์ชทุบหม้อข้าวทะเลภูเก็ต

สิ่งแวดล้อม
4 มิ.ย. 61
12:51
2,831
Logo Thai PBS
ชาวบ้านอ่าวกุ้ง หวั่นท่าเรือยอร์ชทุบหม้อข้าวทะเลภูเก็ต
กลุ่มอนุรักษ์อ่าวกุ้ง สะท้อนความสวยงามของทุ่งปะการังอ่าวกุ้ง ต.ป่าคลอก จ.ภูเก็ต หลังแผนการก่อสร้างท่าเรือจอดเรือยอร์ช ของเอกชนที่ห่างจากปะการัง 62 ไร่เพียงแค่ 2 กิโลเมตร อาจจะได้รับผลกระทบจากตะกอน การขุดร่องน้ำ และทำลายฐานทรัพยากรทะเลภูเก็ต
ไม่คิดว่าจะมีคนสนใจมากขนาดนี้ การพบเห็นทุ่งปะการัง ถือเป็นเรื่องปกติ สำหรับชาวประมงบ้านอ่าวกุ้ง เพราะชาวบ้านหากินอยู่แถวทุ่งปะการัง เห็นความสมบูรณ์ของทะเลแห่งนี้ 

นายออส สมทิพย์ ชาวประมงพื้นบ้านอ่าวกุ้ง จ.ภูเก็ต ผู้ถ่ายภาพทุ่งปะการังคนแรกๆ ก่อนนำไปโพสต์ และได้รับความสนใจจากนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

จนนำมาสู่การลงพื้นที่ตรวจสอบโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือมารีน่า ในพื้นที่บ้านอ่าวกุ้ง ต.ป่าคลอก จ.ภูเก็ต ท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ จอดเรือได้จำนวน 72 ลำ มูลค่ากว่า 120 ล้านบาท ซึ่งมีพื้นที่ตั้งท่า เรือที่ประมาณ 2 กิโลเมตรห่างจากทุ่งปะการัง ทำให้คนที่นี่เกิดตลอดจนกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ พวกเขากังวลว่า ท่าเรือกำลังจะเปลี่ยนสิ่งเหล่านี้

 

นายออส สมทิพย์ ชาวประมงพื้นบ้านอ่าวกุ้ง จ.ภูเก็ต

นายออส สมทิพย์ ชาวประมงพื้นบ้านอ่าวกุ้ง จ.ภูเก็ต

นายออส สมทิพย์ ชาวประมงพื้นบ้านอ่าวกุ้ง จ.ภูเก็ต

กังวลทุบหม้อข้าวเลี้ยงปากท้อง-ธุรกิจท่องเที่ยว

นายพิเชษฐ์ ปานดำ สมาชิกชมรมอนุรักษ์ป่าชายเลนอ่าวกุ้ง จ.ภูเก็ต บอกว่า อ่าวกุ้ง และพื้นที่ใกล้เคียง เป็นทะเลน้ำตื้น มีฐานทรัพยากรทางทะเล แหล่งอาหาร ป่าชายเลน แนวปะการังน้ำตื้นที่สมบูรณ์มาก หลังจากผ่านช่วงความเสื่อมโทรมจากสัมปทานตัดป่าชายเลนเผาถ่าน และทำนากุ้ง ในช่วงหลังปี 2535 ถึงปัจจุบันทรัพยากรฟื้นตัวจนมีป่าชายเลนถึง 3,000 ไร่ ในทะลมีปะการังเราก็เห็นว่าสมบูรรณ์

เขาอธิบายว่า ถ้ามองภูเก็ตออกเป็น 2 ฝั่ง โดยหันหน้าออกทะเลอันดามัน ภูเก็ตฝั่งตะวันตก คือ ป่าตอง หาดกะตะ หาดกะรน เหมาะทำการท่องเที่ยว แต่ฝั่งตะวันออกของเกาะภูเก็ต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอ่าวพังงาที่ครอบคลุมพื้นที่ภูเก็ต พังงา กระบี่ เป็นแหล่งอาหารที่สมบูรณ์ของทรัพยากร ปลา กุ้ง มีเส้นแบ่งการแบ่งตามธรรมชาติ เวลาการออกแบบการพัฒนาจังหวัดจึงต้องคำนึงถึงความยั่งยืน

เราให้ความหมายอ่าวกุ้ง ในฐานะเป็นแหล่งผลิตอาหาร บ้านอนุบาลสัตว์น้ำ มองเห็นมุมในการดำรงชีพ ชาวบ้านทำประมงส่งอาหารให้ฝั่งการท่องเที่ยว ถ้าจะมีโครงการพัฒนาสร้างท่าเรือยอร์ช แล้วต้องทำลายทุ่งปะการัง ตัดป่าชายเลน ผมฟันธงว่าไม่เหมาะสมแน่อน หากเจ้าของโครงการลองเปลี่ยนมุมมองว่าทำบ้านพักบนฝั่งให้คนมาเสพความสวยงามแทนน่าจะดีกว่าขุดปะการังทิ้ง

ชี้ทุ่งปะการังเขากวางโผล่แค่ 2 ชั่วโมง


พิเชษฐ์ บอกว่า ทุ่งปะการังเป็นทรัพยากรส่วนร่วมต้องช่วยกันออกแบบและดูแลรักษา ชาวบ้านอ่าวกุ้งช่วยกันดูแลมาตลอด 30 ปี เป็นสิ่งที่เราภูมิใจว่านี่คือผลพวงที่เป็นรูปธรรมที่เราลุกขึ้นมาช่วย และรัฐเข้ามาช่วยดูแล ตีมูลค่าเป็นตัวเงินไม่ได้

หากอยากเห็นทุ่งปะการัง มีเวลาแค่ 2 ชั่วโมงเท่านั้น เพราะทุ่งปะการังเขากวาง จะโผล่พ้นน้ำแค่ช่วงวันขึ้น 1-3 ค่ำเท่านั้น เพราะเป็นช่วงน้ำใหญ่ คือช่วงน้ำลงช่วงเช้ามืด ปะการังจะโผล่ขึ้นมา เต็มที่ไม่เกิน 2 ชั่วโมง หรือเรียกว่าจะเห็นชัดเจน มีเวลาจำกัดกล่าวคือ 15 วันจะได้เห็นแค่ 3 วันเท่านั้น และใน 3 วันไม่เกิน 2 ชั่วโมง ชาวบ้านที่นี่ เห็นมานานแล้วแต่เห็นถึงความสมบูรณ์ช่วง 5-6 ปี

สมาชิกชมรมอนุรักษ์ป่าชายเลนอ่าวกุ้ง ยอมรับว่าเสียดาย หากจะถูกทุบแหล่งอาหารของจากโครงการท่าเรือยอร์ช ก่อนหน้านี้เริ่มที่เรารู้ว่าจะมีโครงการในช่วงเดือน เม.ย.2559 หลังจากทางบริษัทที่ปรึกษารับทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เชิญชาวบ้านจากหลายหมู่บ้านเข้าร่มประชุม เพื่อรับฟังความเห็น

พบข้อพิรุธตกสำรวจปะการัง-อ้างตัดป่าทำทางเข้าท่าเรือ


ครั้งแรกยอมรับว่า ยังไม่คัดค้านโครงการ เพราะเขาบอกว่าจะสร้างพื้นที่ในที่ดินของตัวเองที่เตรียมไว้ แต่ชาวบ้านเสนอว่าขอให้เพิ่มเติมรายละเอียด เรื่องป่าชายเลนใกล้พื้นที่โครงการ เพราะชาวบ้านได้รับธงพระราชทานตั้งแต่ปี 2545 ให้ดูแลป่าชายเลนแปลงนี้ และขอให้นำเสนอข้อมูลต่างๆ รอบด้านก่อนจะเสนอให้คชก.พิจารณา ซึ่งสอดคล้องกับที่ตัวแทนจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง บอกว่าแถวนี้มีความละเอียดอ่อน และเป็นแหล่งน้ำตื้นควรต้องศึกษาอย่างรอบคอบ หากจะนำเรือเข้ามาท่าเรือต้องขุดลอกร่องน้ำ

กระทั่งในการนัดประชาพิจารณ์รอบที่ 2 ในเดือนต.ค.2560 เริ่มพบความผิดปกติข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน เช่น บอกว่าในรัศมี 1 กิโลเมตรไม่มีแนวปะการัง และเรื่องป่าชายเลน ที่เจอปัญหาก็เริ่มมีการบุกรุกพื้นที่เสียหายให้เสื่อมโทรม เพื่อรอการขุดลอกร่องน้ำ จน ทช.เข้ามาตรวจยึดพื้นที่ ซึ่งในเวทีกลับไม่บอกว่าเป็นท่าจอดเรือเก่าของชาวบ้าน จึงเห็นความไม่ชอบมาพากล จนต้องกลับมาดูข้อมูลกันอย่างจริงจังเพื่อยืนยันว่าพื้นที่ที่ป่าชายเลน

ในทะเล มีทุ่งปะการัง โดยทช.สำรวจพบว่ามีพื้นที่ทั้งหมด 547 ไร่ มีความสมบูรณ์ปานกลาง และที่โผล่เป็นทุ่งปะการังถือว่าสมบูรณ์ 62 ไร่ ทุ่งกัลปังหาสีแดง 12 ไร่ เป็นพันธุ์ที่หายาก ตรงนี้เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าข้อมูลไม่ตรงกัน ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ จึงต้องแจ้งให้สาธารณะรับรู้ และโพสต์ข้อมูลจนทำให้กระแสตื่นตัวในเรื่องนี้

ล่าสุดชาวบ้านร่วมกับทางทช.เร่วมกันทำแนวเขตจะล้อมรอบแนวปะการังที่โผล่ขึ้นมาระยะทาง 300 เมตร และช่วงระหว่างบนเกาะที่จะเดินไปดูปะการังกั้นแนวเขต ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นเร่งด่วน และต่อไปจะผลักดันให้อยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ เพราะเราคิดปะการังเป็นทรัพยากรส่วนร่วมต้องช่วยกันดูแล

 

 อ่านข่าวเพิ่มเติม

ทช.ชี้ปะการังอ่าวกุ้ง-ป่าชายเลนสมบูรณ์ไม่เหมาะสร้างท่าเรือ

เปิดแผนสร้างท่าจอดเรือยอร์ช 72 ลำ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง