ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เผยโฉมหน้า “ตุ๊กแก” สัตว์ป่าคุ้มครองของไทย

สิ่งแวดล้อม
23 มี.ค. 60
16:02
27,579
Logo Thai PBS
เผยโฉมหน้า “ตุ๊กแก” สัตว์ป่าคุ้มครองของไทย
กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กำหนดตุ๊กแก 19 ชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองภายใต้ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า 2535 หากจับมีโทษจำคุก 4 ปี ปรับ 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ข่าวการประกาศรับซื้อตุ๊กแกบ้าน ราคา 1 ล้านบาท หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าประเทศไทยมี "ตุ๊กแกป่า"เป็นสัตว์ป่า คุ้มครองถึง 19 ชนิด ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช บอกว่า ขณะนี้มีการประกาศรายชื่อตุ๊กแกป่าของไทย จำนวน 19 ชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ในลำดับที่ 49-67 ของบัญชีรายชื่อแนบท้าย ได้แก่
1.ตุ๊กแกเขาหินทราย (Gekko petricolus)
2.ตุ๊กแกบ้านสีเทา (Gekko smithii)
3.ตุ๊กแกบินหางแผ่น (Ptychozoon kuhli)
4.ตุ๊กแกบินหางเฟิร์น (Ptychozoon lionatum)
5.ตุ๊กแกป่าคอขวั้น (Cyrtodactylus oldhami)
6.ตุ๊กแกป่าโคนนิ้วติด (Cyrtodactylus brevipalmatus)
7.ตุ๊กแกป่าจารุจินต์ (Cyrtodactylus jarujini)
8.ตุ๊กแกป่าจุดลายผีเสื้อ (Cyrtodactylus papilionoides)
9.ตุ๊กแกป่าดงพญาเย็น (Cyrtodactylus angularis)
10.ตุ๊กแกป่าตะวันออก (Cyrtodactylus intermedius)
11.ตุ๊กแกป่าใต้ (Cyrtodactylus pulchellus)
12.ตุ๊กแกป่าไทรโยค (Cyrtodactylus feae)
13.ตุ๊กแกป่าน้ำหนาว (Cyrtodactylus interdigitalis)
14.ตุ๊กแกป่าพม่า (Cyrtodactylus variegatus)
15.ตุ๊กแกป่ามลายู (Cyrtodactylus consobrinus)
16.ตุ๊กแกป่าลายจุด (Cyrtodactylus peguensis)
17.ตุ๊กแกป่าลายสี่ขีด (Cyrtodactylus quadrivirgatus)
18.ตุ๊กแกหลังจุดคู่ (Gekko monarchus หรือ Gekko tuberculatus)
19.ตุ๊กแกหัวโต (Aeluroscalabotes felinus)

โดยหลายปีที่ผ่านมา ได้มีการสำรวจชนิดและสายพันธุ์ของตุ๊กแกป่า พบเป็นชนิดใหม่ๆ แต่ยังไม่ได้มีการประกาศคุ้มครองตามกฎหมาย ทำให้ยังคงตัวเลขที่ 19 ชนิด

ขณะที่แนวโน้มประชากรของตุ๊กแกป่า ยอมรับว่าหลายชนิดหายาก มีสีสันสวยงาม ตัวเล็ก ไม่น่ากลัว เหมือนกับตุ๊กแกบ้าน จึงยังเป็นที่นิยมของนักสะสมสัตว์แปลก ยังมีการเข้าไปจับจากป่าอย่างต่อเนื่อง และนำไปขายในตลาดมืด ที่ผ่านมาเคยเจอขายตามเพจ เฟชบุ๊ก และตามจตุจักร อาจมีราคาไม่แพงเท่ากับตุ๊กแกบ้านขนาดใหญ่ที่เป็นข่าวในตอนนี้ แต่ก็น่าเป็นห่วง ประกอบการถิ่นอาศัยของตุ๊กแกป่าถูกเปลี่ยนแปลง บางแห่งใกล้พื้นที่การเกษตรมีการใช้สารเคมี ก็อาจจะมีผลต่อประชากรตุ๊กแกป่า ในอนาคต จึงเตรียมที่จะคุ้มครองวงศ์แทนการคุ้มครองแค่รายชื่อชนิดด้วย

ทีมข่าวไทยพีบีเอสออนไลน์ รวบรวมโฉมหน้าตุ๊กแกป่าสายพันธุ์ได้รับการคุ้มครอง

1.ตุ๊กแกป่าบ้านสีเทา
เจ้าตัวนี้ เป็นตุ๊กแกขนาดใหญ่ ประมาณ 20-25 ซม. หัวใหญ่ ค่อนข้างเรียว ไม่กว้างเหมือนตุ๊กแกบ้าน ตาโตสีเขียว ลำตัวสีน้ำตาลเทา ลูกที่ยังไม่โตเต็มวัย จะมีจุดสีขาวทั่วลำตัว ตัวเต็มวัยตามลำตัว และหางจะมีแต้มสีขาว และมีลายเส้นสีดำรูปแบบไม่แน่นอน พบทางใต้ของประเทศไทย กระบี่ พังงา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส

ตุ๊กแกป่าบ้านสีเทา ภาพ: Ruchira Somaweera

ตุ๊กแกป่าบ้านสีเทา ภาพ: Ruchira Somaweera

ตุ๊กแกป่าบ้านสีเทา ภาพ: Ruchira Somaweera

2. ตุ๊กแกป่าดงพญาเย็น
เป็นตุ๊กแกขนาดเพียง 85 มิลลิเมตร และหางยาว 97 มิลลิเมตร หัวแบน ลําตัวสีน้ำตาลเหลืองหรือสีน้ำตาลอมเทา บนหัวมีลวดลายของสีน้ำตาลเข้มไม่เป็นระเบียบตรงบริเวณส่วนปลายของหัว มีเส้นสีขาวจากด้านท้ายตามาที่ท้ายทอยแล้วหักเป็นมุมฉาก มีรูปร่างคล้ายตัวดับเบิลยูหรือตัววี

ตุ๊กแกป่าดงพญาเย็น ภาพ: อุทยานแห่งชาติทับลาน

ตุ๊กแกป่าดงพญาเย็น ภาพ: อุทยานแห่งชาติทับลาน

ตุ๊กแกป่าดงพญาเย็น ภาพ: อุทยานแห่งชาติทับลาน

3.ตุ๊กแกป่าลายจุด
เป็นตุ๊กแกขนาด 10-12 เซนติเมตร มีลายบนตัวคล้ายลายเสือดาว อาศัยได้ทั้งในป่าดิบและตามเขาหินปูน ส่งเสียงร้อง "เจี๊ยบ" หวานๆ คล้ายลูกไก่แต่ลากเสียงยาวกว่า พบหลายฟอร์ม ตามแนวป่าตะวันตกตั้งแต่จังหวัดกาญจนุบรีจนถึงภาคใต้ตอนล่าง

ตุ๊กแกป่าลายจุด ภาพ: Settawut  Visedbubpha, www.siamensis.org

ตุ๊กแกป่าลายจุด ภาพ: Settawut Visedbubpha, www.siamensis.org

ตุ๊กแกป่าลายจุด ภาพ: Settawut Visedbubpha, www.siamensis.org

4. ตุ๊กแกป่าตะวันออก
มีขนาดตัวปานกลาง ลำตัวยาว 85 มิลลิเมตร และหางยาว 100 มิลลิเมตร ลําตัวสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลเทาหรือสีน้ำตาลเหลือง บนหลังมีแถบกว้างสีเข้ม ขอบขาวพาดขวางอีก 4 แถบ หางมีแถบสีเข้มพาดขวางเป็นปล้อง 8 – 10 ปล้อง มีจุดละเอียดสีเข้ม การกระจายในเวียดนาม กัมพูชา ในประเทศไทยพบทางภาคตะวันออกและบางสวนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ตุ๊กแกป่าตะวันออก ภาพ: Settawut  Visedbubpha, www.siamensis.org

ตุ๊กแกป่าตะวันออก ภาพ: Settawut Visedbubpha, www.siamensis.org

ตุ๊กแกป่าตะวันออก ภาพ: Settawut Visedbubpha, www.siamensis.org

อื่นๆ

ตุ๊กแกป่าคอขวั้นเกาะสุรินทร์ ภาพ: www.siamensis.org

ตุ๊กแกป่าคอขวั้นเกาะสุรินทร์ ภาพ: www.siamensis.org

ตุ๊กแกป่าคอขวั้นเกาะสุรินทร์ ภาพ: www.siamensis.org

 

ตุ๊กแกป่าน้ำหนาว ภาพ: Settawut  Visedbubpha, www.siamensis.org

ตุ๊กแกป่าน้ำหนาว ภาพ: Settawut Visedbubpha, www.siamensis.org

ตุ๊กแกป่าน้ำหนาว ภาพ: Settawut Visedbubpha, www.siamensis.org

 

ตุ๊กแกป่าโคนนิ้วติด ภาพ: Montri Sumontha

ตุ๊กแกป่าโคนนิ้วติด ภาพ: Montri Sumontha

ตุ๊กแกป่าโคนนิ้วติด ภาพ: Montri Sumontha

 

ตุ๊กแกป่าใต้ ภาพ: Montri Sumontha

ตุ๊กแกป่าใต้ ภาพ: Montri Sumontha

ตุ๊กแกป่าใต้ ภาพ: Montri Sumontha

 

ตุ๊กแกป่าลายสี่ขีด ภาพ: Montri Sumontha

ตุ๊กแกป่าลายสี่ขีด ภาพ: Montri Sumontha

ตุ๊กแกป่าลายสี่ขีด ภาพ: Montri Sumontha

 

ตุ๊กแกป่าพม่า ภาพ: วัชระ สงวนสมบัติ

ตุ๊กแกป่าพม่า ภาพ: วัชระ สงวนสมบัติ

ตุ๊กแกป่าพม่า ภาพ: วัชระ สงวนสมบัติ

 

ตุ๊กแกป่าลายผีเสื้อ ภาพ: Montri Sumontha

ตุ๊กแกป่าลายผีเสื้อ ภาพ: Montri Sumontha

ตุ๊กแกป่าลายผีเสื้อ ภาพ: Montri Sumontha

ข่าวที่เกี่ยวข้อง