ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เปรียบเทียบค่าแรงไทย-เมียนมา ต่างกัน 3 เท่า

สังคม
23 มิ.ย. 59
11:01
359
Logo Thai PBS
เปรียบเทียบค่าแรงไทย-เมียนมา ต่างกัน 3 เท่า
แรงงานชาวเมียนมาจำนวนมากที่ยังได้ค่าแรงไม่ถึง 300 บาท รวมถึงสิทธิ สวัสดิการที่ไม่เป็นธรรม ปัญหานี้ถูกคาดการณ์ว่า อาจเป็นปัจจัยสำคัญให้แรงงานคิดเดินทางกลับบ้านเกิด แต่ในมุมมองนักวิชาการด้านแรงงาน ไม่เชื่อว่าจะเกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้

แม้ 2 เดือนที่แล้วการออกมาเรียกร้องเรื่องค่าจ้างของแรงงานเมียนมาจะช่วยให้เพื่อนแรงงานในโรงงานสบู่ ใน จ.นครปฐม หลายร้อยคนได้ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท , ค่าโอที และ สวัสดิการอื่นๆ ที่เป็นธรรมแต่ไม่นานนัก พวกเขาก็ถูกไล่ออกจากเหตุผลเป็นแกนนำเรียกร้อง

ทำให้แรงงานที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุการทำงานในโรงงานผลิตกระสอบต้องหยุดงานมากว่า 1 สัปดาห์ เขาไม่ได้รับการเยียวยาจากนายจ้างเท่าที่ควรและอาจต้องถูกเลิกจ้าง ปัญหาด้านสวัสดิการ เป็นชะตากรรมที่แรงงานต้องรับสภาพ เช่นเดียวกับค่าจ้างขั้นต่ำที่ได้ไม่ถึง 300 บาท

ความพยายามดิ้นรน ร้องเรียน กับหน่วยงานรัฐให้ได้ค่าจ้างที่เป็นธรรม แรงงานหลายคนคิดอยากกลับบ้าน เพราะมั่นใจว่า คุณภาพชีวิตอาจจะดีกว่าภายใต้การนำของนางอองซาน ซูจี แต่ก็ยอมรับว่า ไม่ใช่เรื่องง่ายที่การจ้างงานและค่าแรงจะเทียบเท่ากับไทย ค่าแรงขั้นต่ำที่อาจจะได้ไม่ถึง 300 บาทแต่ยังมากกว่าค่าแรงขั้นต่ำในเมียนมาที่ได้เพียง 40 - 60 บาทเท่านั้น แม้ในเดือน ก.ย.นี้ รัฐบาลเมียนมาจะปรับเพิ่มเป็น 100 บาทหรือประมาณ 3,400 จ๊าดต่อวัน

ศ.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านพัฒนาแรงงาน ทีดีอาร์ไอ ทีดีอาร์ไอ มองว่า รายได้ของ 2 ประเทศที่แตกต่างกันถึงกว่า 3 เท่า การจะปรับเพิ่มค่าแรง กระทั่งมีผลจูงใจให้แรงงานกลับประเทศไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องคำนึงถึงความสามารถของนายจ้าง สถานประกอบการด้วย

ความพยายามปรับขึ้นค่าจ้างของเมียนมาสะท้อนได้ว่า รัฐบาลเริ่มให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตพลเมืองตัวเองมากขึ้น ผู้อำนวยการด้านพัฒนาแรงงาน ทีดีอาร์ไอ ยอมรับว่า อาจมีผลให้แรงงานที่อยู่ในไทยมานาน พอมีเงินเก็บ และมีทักษะ อาจเลือกกลับประเทศเมียนมาเพราะเมื่อถึงจุดนั้นแรงงานกลุ่มนี้อาจมองเรื่องการกลับไปยังถิ่นฐานบ้านเกิดและอยู่กับครอบครัวมากกว่ามองเรื่องรายได้ ดังนั้น 10 ปีจากนี้ ภาคอุตสาหกรรมไทย จึงควรวางแผนหาแรงงานทดแทนในอนาคต

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง