ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

พบชาวเคนยาหลบหนีข้ามแดน อ้างถูกหลอกทำงานสแกมเมอร์

ภูมิภาค
10 ก.พ. 68
19:33
148
Logo Thai PBS
พบชาวเคนยาหลบหนีข้ามแดน อ้างถูกหลอกทำงานสแกมเมอร์
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ชาวเคนยา หลบหนีออกจากเมืองสแกมเมอร์ในเมียนมา เพิ่มอีก 1 คน อยู่ระหว่างคัดกรองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ทางการไทยเร่งตรวจสอบคนอีกประมาณ 50 คน ที่มีข้อมูลว่า หลบหนีออกมาพร้อมกัน

วันนี้ (10 ก.พ.2568) ชายชาวเคนยา อายุ 27 ปี ให้ข้อมูลกับตำรวจตรวจคนเข้าเมือง, ทหารหน่วยเฉพาะกิจราชมนู , และฝ่ายปกครอง อ้างว่า ถูกหลอกจากเพื่อนชาวเคนยาด้วยกันให้มาทำงานในประเทศไทย โดยเดินทางเข้าประเทศไทย เมื่อวันที่ 28 ก.ย.2567 เมื่อมาถึงไทยมีรถยนต์มารับข้ามชายแดน แต่ถูกบังคับให้ทำงานเป็นสแกมเมอร์ ฝั่งเมียนมา จึงหลบหนีออกมา

เขาบอกว่า ยังมีกลุ่มคนอีกกว่า 50 คน หนีออกจากเมืองสแกมเมอร์ ที่อยู่ตรงข้ามบ้านห้วยน้ำนัก อ.พบพระ จ.ตาก ซึ่งเป็นจุดเดียวกับที่ชาวเคนยาอีกคนที่หลบหนีออกมาเมื่อวานนี้ (9 ก.พ.2568) ตำรวจคาดว่า กลุ่มนี้อาจจะกระจัดกระจายไปทั่วชายแดนเมียวดีตอนใต้โดยประสานทุกฝ่ายให้ความช่วยเหลือ

พล.ต.อ.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร จเรตำรวจแห่งชาติ ระบุถึงกรณีชาวเคนยา 2 คน ที่หลบหนีมาจากเมียนมา อยู่ระหว่างคัดกรอง เพื่อหาข้อบ่งชี้จากการค้ามนุษย์ และการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ ตามกลไกการส่งต่อระดับชาติและเตรียมเปิดศูนย์ประสานงานระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการ ตามที่ ผู้ช่วยรัฐมนตรีด้านความมั่นคง และสาธารณะของจีน หารือกับฝ่ายไทย ซึ่งการทำงานของศูนย์ จะเป็นการรับแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่สูญหาย 

ขณะที่ด่านพรมแดนไทย-เมียนมา ด้าน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ยังมีชาวเมียนมาเดินทางข้ามแดนจับจ่ายซื้อสินค้า ตามปกติ 

แหล่งข่าวในจังหวัดท่าขี้เหล็ก เปิดเผยว่า หลังทางการไทยมีมาตรการกดดันกลุ่มสแกมเมอร์ เริ่มส่งผลต่อกลุ่มพนันออนไลน์ และคอลเซนเตอร์ โดยเฉพาะกลุ่มสแกมเมอร์ของคนไทย ที่ลักลอบเปิดในเมียนมาหยุดดำเนินการ และ ลดจำนวนพนักงานลง แต่ในพื้นที่ยังมีไฟฟ้าและอินเทอร์เน็ต แต่เปลี่ยนมาทำงานที่บ้านหรือบ้านพัก ไม่ได้ทำงานแบบรวมกลุ่ม ซึ่งคอมพิวเตอร์ใช้ไฟฟ้าไม่มากและยากต่อการปราบปราม

สถิติรับแจ้งความคดีคอลเซนเตอร์ลดลง

พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ ผู้บัญชาการกองบัญชาการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (สอท.) เปิดเผยว่า 1 สัปดาห์ หลังทางการไทย ตัดไฟฟ้าและอินเทอร์เน็ตไปยังฝั่งเมียนมา 

สถิติการรับแจ้งความคดีเกี่ยวข้องกับขบวนการคอลเซนเตอร์ลดลงจากเดิม วันละ 1,200 คดี คงเหลือ 1,000 ถึง 1,100 คดี ส่วนจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ ขอตรวจสอบผลเป็นรายเดือน เพราะขบวนการคอลเซนเตอร์ ปรับตัวอยู่ตลอดเวลา

อ่านข่าว : "เมียนมา" ปราบเครือข่ายเว็บพนัน-อาชญากรรมออนไลน์ในรัฐฉาน 

"ภูมิธรรม" ไป "พญาตองซู-ปอยเปต" ดูมาตรการซีลชายแดนสัปดาห์นี้  

กสทช.สั่งรื้อเสาสัญญาณโทรศัพท์ ตัดวงจรคอลเซนเตอร์ปอยเปต 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง