ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนระอุ กกร.หวั่นสินค้าจีนแย่งตลาดไทย

เศรษฐกิจ
5 ก.พ. 68
17:25
121
Logo Thai PBS
สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนระอุ กกร.หวั่นสินค้าจีนแย่งตลาดไทย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กกร. ชี้ สงครามการค้ารอบใหม่ระอุ หวั่น สินค้าต่างชาติแย่งตลาดไทย ชี้เศรษฐกิจไทยปีนี้ โตจำกัด เสนอ 6 แนวทาง บรรเทาผลกระทบความขัดแย่งชาติมหาอำนาจ จี้รัฐเร่งตั้งทีมไทยแลนด์รับมือนโยบายทรัมป์ 2.0

วันนี้ (5 ก.พ.2568) นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์สงครามการค้ารอบใหม่ได้เริ่มขึ้นแล้วที่ประเทศเม็กซิโก ประเทศแคนาดา และสาธารณรัฐประชาชนจีน ท่ามกลางการตอบโต้

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)

โดยสหรัฐอเมริกาจะประกาศขึ้นอัตราภาษีนำเข้าต่อกลุ่มประเทศเป้าหมาย ทั้งต่อเม็กซิโกและแคนาดาในอัตรา 25% และ จีน ในอัตรา 10% ซึ่งจะส่งผลลบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปี 2568 และจะยิ่งส่งผลกระทบมากขึ้นในปี 2559

นอกจากนี้ ยังผลักดันนโยบายเร่งด่วนผ่านการใช้คำสั่งของฝ่ายบริหาร (Executive Order) รวมถึงนโยบายที่เคยหาเสียงไว้ ครอบคลุมทั้งประเด็นการค้าที่ไม่เป็นธรรม การจัดการคนเข้าเมือง และการถอนตัวจากข้อตกลงปารีส เป็นต้น ทั้งนี้ สหรัฐจะขึ้นภาษีนำเข้าทุกหมวดยกเว้นหมวดพลังงาน เนื่องจากสหรัฐยังคงเป็นประเทศที่ใช้สินค้าหมวดพลังงานเยอะ โดยเฉพาะน้ำมัน

ความขัดแย้งทางการค้ากดดันสินค้าจากต่างชาติเข้ามาแย่งตลาดและกระทบต่อภาคการผลิตของไทย สินค้าต่างประเทศที่ล้นตลาดจากปัญหาสงครามการค้าและการแยกขั้ว (De-coupling) ทะลักเข้ามาในประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการผลิตและการจ้างงาน
ร้านค้า 20บาททุกอย่าง

ร้านค้า 20บาททุกอย่าง

ร้านค้า 20บาททุกอย่าง

จากการศึกษาผลกระทบดังกล่าวตามข้อเสนอในสมุดปกขาวของ กกร. โดยกระทรวงพาณิชย์พบว่ากลุ่มสินค้าสำคัญที่ได้รับผลกระทบมาก เช่น เหล็ก พลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เครื่องนุ่งห่ม แก้วและกระจก เครื่องสำอาง เป็นต้น ดังนั้น สิ่งสำคัญถ้าหากจากลดผลกระทบได้ก็ต้องมีการวางแผนให้ดีแม้ว่าสถานการณ์สงครามการค้าจะส่งผลดีต่อการส่งออกสินค้าไทยในระยะสั้น เพราะจะช่วยให้สามารถไปแข่งขันกับสินค้าที่ผลิตในแคนาดาและเม็กซิโกที่มีราคาสูงขึ้น จากการที่สหรัฐปรับขึ้นภาษีนำเข้า

สินค้าจีนที่ไม่สามารถส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ อาจไหลทะลักกลับมาที่ประเทศไทย และประเทศคู่ค้าของไทย ทำให้เกิดการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรงขึ้น

ทั้งนี้ที่ประชุม กกร.ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวจำกัด เนื่องจากการกีดกันทางการค้าที่รุนแรงและทิศทางค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง จะเป็นความท้าทายต่อการส่งออกของไทย ส่วนภาคอุตสาหกรรมบางสาขาเผชิญการแข่งขันจากสินค้าจากต่างประเทศ ขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศยังอ่อนแอ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องวางแนวทางเพื่อลดผลกระทบทั้งในระยะสั้น

ส่วนระยะยาว ใช้ประโยชน์จากการแยกขั้วของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องวางแผนให้ดี และการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศก็ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไทยเป็นหลัก และเร่งทำข้อตกลงทางการค้าเพิ่มเติมจาก เขตการค้าเสรี FTA ไทย-สมาคมการค้าเสรียุโรป (EFTA) เพื่อเสริมความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน

รัฐบาลต้องรีบเร่งในการเจรจาเขตการค้าเสรี FTA-สมาคมการค้าเสรียุโรป (EFTA) ที่เหลืออยู่ เช่น EU (อียู) เพื่อที่เราจะขยายการค้าออกไปในหลายๆจุด ไม่ใช่แค่ในกรอบประเทศเดิมๆ ฉะนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

ทั้งนี้ กกร.ยังคงประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2568 ไว้เท่ากับการประชุมเมื่อเดือนม.ค.ที่ผ่านมาคาดว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) จะเติบโตได้ราว 2.4-2.9% มูลค่าการส่งออก ขยายตัว 1.5-2.5% และอัตราเงินเฟ้อ เพิ่มขึ้น 0.8-1.2%

อย่างไรก็ตาม กกร.มีข้อเสนอแนวทางเตรียมความพร้อมรับมือ ทั้งผลกระทบทางตรง และทางอ้อม 6 แนวทาง ประกอบด้วย 1.การเจรจาระดับรัฐ เพื่อป้องกันและบรรเทาการใช้มาตรการทางการค้าจากสหรัฐฯ รวมทั้งสร้างความร่วมมือกับประเทศในอาเซียน เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจร่วมกัน 2.การสนับสนุนด้านกฎหมาย กฎระเบียบการค้า เพื่อช่วยเหลือภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบ

3.การบูรณาการเพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรมในประเทศ และปฏิรูปกฎหมาย เพื่อรักษาขีดความสามารถในการแข่งขัน 4.การใช้มาตรการทางการค้าเพิ่มเติม นอกเหนือจากมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด และใช้มาตรการควบคุมการนำเข้า ตาม พ.ร.บ.การส่งออกไปนอก และนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งสินค้า พ.ศ.2522

5.ควบคุมการตั้งหรือขยายโรงงาน รวมทั้งการให้การส่งเสริมในอุตสาหกรรมที่มีกำลังการผลิตเกินความต้องการ และการกำกับดูแลภาคอุตสาหกรรมในเขต Free zone อย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันการลักลอบนำสินค้าและวัตถุดิบกลับมาขายในประเทศ 6.ส่งเสริมสินค้าที่ผลิตในประเทศ หรือ สินค้าที่ได้รับการรับรอง Made in Thailand (สินค้าที่ผลิตในประเทศไทย) ทั้งการเพิ่มสัดส่วนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ การกำหนดเงื่อนไขการใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศในโครงการรัฐ

ภาครัฐควรเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการให้ความเห็นและข้อเสนอแนะในการเตรียมความพร้อมรับมือกับผลกระทบจากนโยบายการค้าของสหรัฐฯ
นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กกร. ได้ส่งหนังสือถึง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 ม.ค.2568 ที่ผ่านมา เพื่ออนุมัติให้ทาง กกร.ได้ส่งตัวแทนไปร่วมทีมไทยแลนด์ (TEAM THAILAND+) ที่เป็นคณะทำงานร่วมระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งการเตรียมข้อมูลอย่างเดียวคงไม่พอ เพราะมีรายละเอียดเรื่องของสินค้าประเภทต่างๆด้วย

การร่วมมือกับทางภาคเอกชนนั้นสำคัญมาก และ ภาคเอกชนจะสามารถช่วยและเป็นกำลังสำคัญ หรือมีกลไกใดๆ ที่สามารถทำให้เข้าถึง นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้บ้าง ซึ่งก็หวังว่าหนังสือที่ทาง กกร. ได้ส่งไปนั้น จะได้รับคำตอบจากทางภาครัฐเร็วๆ นี้

อ่านข่าว:

เศรษฐกิจไทยทรุด เงินหมื่นไม่ช่วย อุตสาหกรรม "ไร้สัญญาณบวก"

รับมือ "ทรัมป์ 2.0" ป่วนโลก จี้รัฐบาลไทยตั้งวอร์รูม ป้อง "สงครามการค้า"

"ไทย" รับมือสงครามการค้าโลกเดือด “ทรัมป์” กลับมาเอาคืน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง