ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

“วราวุธ” ยันปัญหาใหญ่ในกรุงเทพฯ ยังเป็น “คนเร่ร่อน-ขอทาน”

สังคม
4 ก.พ. 68
11:48
57
Logo Thai PBS
“วราวุธ” ยันปัญหาใหญ่ในกรุงเทพฯ ยังเป็น “คนเร่ร่อน-ขอทาน”
“วราวุธ” เผยผลการทำงาน ศรส.พม. เดือนแรกของปี กรุงเทพฯ ปัญหาคนเร่ร่อน-ขอทาน ชี้ต้องหยุดให้เงิน เปิดสถิติผู้ถูกกระทำความรุนแรง มากที่สุดยังเป็นผู้หญิง-เด็ก เหตุเกิดทั้งใน-นอก ครอบครัว

วันนี้ (4 ก.พ.2568) นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เปิดเผยผลการดำเนินงานของศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) กระทรวง พม. ในห้วงเดือน ม.ค.2568 ที่ผ่านมา ว่า มีประชาชนขอรับบริการ ศรส.ทั้งหมด 13,756 กรณี เฉลี่ยแล้วประมาณวันละ 443 กรณี ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง 9,138 ในขณะที่เป็นผู้ชาย 4,618 ซึ่งจำนวนผู้หญิงมากกว่าเท่าตัว

โดยขอรับบริการมากที่สุดผ่านช่องทาง โทร.1300 สายด่วน พม. จำนวน 12,430 กรณี รองลงมาคือผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 1,230 กรณี และมาติดต่อด้วยตนเอง 96 กรณี

กลุ่มผู้ประสบปัญหามากที่สุด คือ วัยทำงาน 7,604 กรณี รองลงมา คือ คนพิการ 2,174 , เด็ก 1,888, ผู้สูงอายุ 1,839 และเยาวชน 251 กรณี

พื้นที่การให้บริการมากที่สุดคือ กรุงเทพมหานคร 9,291 กรณี รองลงมาคือ ภาคกลาง 1,410 , ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,079 , ภาคใต้ 940, ปริมณฑล 724 และภาคเหนือ 312 กรณี

ศรส. กระทรวง พม. ได้ดำเนินการช่วยเหลือแล้ว 11,376 กรณี แบ่งเป็น 1.ช่วยเหลือและคุ้มครองสวัสดิภาพ 2,154 กรณี ได้แก่ พื้นที่ กรุงเทพมหานคร 634 กรณี ซึ่งปัญหามากที่สุด 3 อันดับแรก คือ คนไร้ที่พึ่งและขอทาน 245, รายได้ความเป็นอยู่ 213 ความสัมพันธ์ในครอบครัว 87 กรณี

ปริมณฑล 247 กรณี ซึ่งปัญหามากที่สุด 3 อันดับแรก คือ รายได้ความเป็นอยู่ 91 กรณีความสัมพันธ์ในครอบครัว 54 กรณี คนไร้ที่พึ่งและขอทาน 49 กรณี ส่วนภูมิภาค 1,273 กรณี ซึ่งปัญหามากที่สุด 3 อันดับแรก คือ รายได้ความเป็นอยู่ 752 กรณี ความรุนแรง 144 กรณีความสัมพันธ์ในครอบครัว 122 กรณี

2.การให้คำปรึกษา 4,367 กรณี โดยประเด็นปัญหามากที่สุด 5 อันดับแรก คือ ปัญหาสิทธิสวัสดิการสังคม 2,526 กรณี, ปัญหาที่เป็นปรากฏการณ์ทางสังคม (สอบถามโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital wallet) 603 กรณี, ปัญหารายได้และความเป็นอยู่ 468, ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว 270 ปัญหาเรื่องสุขภาพและอุบัติเหตุ 204 กรณี

นอกจากนี้ เป็นการให้ข้อมูลทั่วไป 2,637 กรณี และการให้ข้อมูลการติดตามปัญหาเดิม 2,218 กรณี ยังมีกรณีอื่น ๆ อีก 2,380 กรณี อาทิ การโทรก่อกวน, โทรผิด, โทรมาเสนอความคิดเห็น

สำหรับประเด็นความรุนแรงห้วงเดือน ม.ค.2568 พบว่า มีผู้ประสบปัญหาความรุนแรง 269 กรณี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 208 กรณี ในขณะที่เป็นเพศชาย 61 กรณี ซึ่งจำนวนผู้หญิงมากกว่าสามเท่าตัว แบ่งเป็น เด็ก 123 กรณี, วัยแรงงาน 96, ผู้สูงอายุ 30, เยาวชน 20, คนพิการ 13 กรณี ซึ่งพื้นที่รับแจ้งเหตุความรุนแรงมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ กรุงเทพมหานคร 71 กรณี, จ.นนทบุรี 13 กรณี จ.นครศรีธรรมราช 9 กรณี

นอกจากนี้กลุ่มผู้ประสบปัญหาที่ถูกกระทำความรุนแรง “ในครอบครัว” มากที่สุด 3 อันดับแรกคือ วัยแรงงาน 78 กรณีเป็นการถูกทำร้ายร่างกายและถูกกระทำอนาจาร, เด็ก 62 กรณี โดยถูกทำร้ายร่างกายมากที่สุด ถูกกระทำอนาจาร และถูกล่วงละเมิดทางเพศ ผู้สูงอายุ 25 กรณี โดยทุกกรณีคือถูกทำร้ายร่างกาย

ส่วนกลุ่มผู้ประสบปัญหาที่ถูกกระทำความรุนแรง “นอกครอบครัว” มากที่สุด 3 อันดับแรก คือ เด็ก 61 กรณี โดยถูกทำร้ายร่างกายมากที่สุด ถูกกระทำอนาจาร และถูกล่วงละเมิดทางเพศ, วัยแรงงาน 18 กรณี โดยถูกทำร้ายร่างกายมากที่สุด ถูกกระทำอนาจาร และถูกล่วงละเมิดทางเพศ, คนพิการ 6 กรณี โดยถูกทำร้ายร่างกายมากที่สุดและถูกล่วงละเมิดทางเพศ

จากรายงานผลการดำเนินงานของ ศรส. ในห้วงเดือน ม.ค.2568 นี้ จะสังเกตได้ว่า ผู้หญิงเป็นผู้ขอรับบริการมากที่สุด คิดเป็น 2 เท่าของผู้ชาย คนวัยทำงานเป็นกลุ่มผู้ประสบปัญหามากที่สุด และกรุงเทพมหานคร ยังคงเป็นพื้นที่ให้บริการมากที่สุด ในส่วนของการดำเนินการให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองสวัสดิภาพ ส่วนภูมิภาคยังคงเป็นปัญหาเรื่องรายได้ความเป็นอยู่มากที่สุดเช่นเดียวกับปริมณฑล

ในขณะที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นแหล่งเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ ยังพบปัญหาคนไร้ที่พึ่ง ขอทานมากที่สุด ซึ่งต้องย้ำว่า หากพบเห็นขอทาน เราไม่ควรให้เงินด้วยความสงสาร เพราะขอทานผิดกฎหมาย เราต้องช่วยกันหยุดการให้เงินขอทาน แล้วจะทำให้จำนวนขอทานในประเทศไทยลดน้อยลงได้

ดังนั้น ปัญหาสังคมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น กระทรวง พม. เพียงกระทรวงเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาของสังคมไทยได้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น หน่วยงานภาครัฐ ธุรกิจเอกชน และองค์กรประชาสังคม โดยเฉพาะพี่น้องประชาชนชาวไทยทุกคน หากพบเห็นผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อนทางสังคม ขอให้แจ้งมาที่ ศูนย์เร่งรัดจัดการสวัสดิภาพประชาชน (ศรส.) กระทรวง พม. ผ่านสายด่วน พม. โทร.1300 ตลอด 24 ชั่วโมง

อ่านข่าว : ไข้หวัดใหญ่ในญี่ปุ่นน่าห่วง 144 วัน ติดเชื้อ 9.5 ล้านคน ส่วนใหญ่สายพันธุ์ B

วางบึ้มรถ ตร.ศรีสาคร-ปลัดอำเภอยี่งอ เบื้องต้นไม่มีผู้บาดเจ็บ-เสียชีวิต

วิกฤตไข้หวัดใหญ่ญี่ปุ่น! นักท่องเที่ยวเสี่ยงแค่ไหนและควรทำอะไร ?

ข่าวที่เกี่ยวข้อง