ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

“ทรัมป์” คืนบังลังก์ เขย่า “เทรดวอร์” สงครามการค้าสะเทือนทั่วโลก

เศรษฐกิจ
20 ม.ค. 68
19:19
231
Logo Thai PBS
“ทรัมป์” คืนบังลังก์ เขย่า “เทรดวอร์” สงครามการค้าสะเทือนทั่วโลก

กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง หลังลงจากตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อปี 2564 "โดนัลด์ ทรัมป์" ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 47 ของสหรัฐอเมริกา การคืนสู่ทำเนียบขาวครั้งนี้สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่วโลก ด้วยนโยบาย “อเมริกาต้องมาก่อน (America First)" ที่มุ่งเน้นการปกป้องผลประโยชน์ของคนอเมริกัน การสร้างกำแพงภาษีนำเข้าจากประเทศที่ได้ดุลการค้า และไทย คือ หนึ่งในประเทศที่ได้ดุลการค้าจากสหรัฐฯ

นายโดนัล ทรัมป์  ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่47  ของสหรัฐอเมริกา

นายโดนัล ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่47 ของสหรัฐอเมริกา

นายโดนัล ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่47 ของสหรัฐอเมริกา

นอกจากไทยแล้ว พี่ใหญ่ของอาเซียนอย่าง “จีน” เองคือ เป้าหมายหลักที่ ทรัมป์ หมายตาใช้มาตรการด้านภาษีกับสินค้าจีนอย่างเข้มข้น ซึ่งอาจจะได้เห็น “สงครามการค้า หรือ Trade War”กลับมาปะทุอีกรอบก็เป็นไปได้

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย ประธานคณะกรรมการธุรกิจอาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคต หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวกับ “ไทยพีบีเอสออนไลน์” ว่า หลังทรัมป์ เข้าพิธีสาบานต้นเข้ารับรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 ม.ค.2568

สิ่งที่ทั่วโลกจับตามอง คือ นโยบายที่ทรัมป์จะดำเนินการหลังเข้ารับตำแหน่ง ซึ่งมี 2 ประเด็นที่ทรัมป์ให้ความสำคัญ คือด้านเศรษฐกิจ และด้านความมั่นคงประ เทศที่จะกระทบก่อนคือ “จีน” เพราะทรัมป์ชัดเจนว่าจะขึ้นภาษีจีน จากนั้นผลกระทบจะลามไปยังประเทศอื่นซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย โดยเฉพาะสินค้าจีนที่จีนเองต้องมองหาตลาดอื่นทดแทนโดยภาษีจากสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดเดียวกับประเทศอื่นที่ส่งออกไป

นายวิ ศิษฐ์ ลิ้มลือชา  รองประธานกรรมการหอการค้าไทย ประธานคณะกรรมการธุรกิจอาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคต   หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

นายวิ ศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย ประธานคณะกรรมการธุรกิจอาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคต หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

นายวิ ศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย ประธานคณะกรรมการธุรกิจอาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคต หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

สำหรับประเทศไทยเอง แม้ว่าจะได้รับผลกระทบ แต่อาจจะเพียงทางอ้อมหรือกระทบแต่ไม่มาก ดังนั้นไทยต้องทำให้สหรัฐฯ เห็นว่าการลงทุนของสหรัฐฯในไทยยังเป็นประโยชน์กับสหรัฐฯอยู่ เห็นได้จากการลงทุนของสหรัฐฯในไทยที่ยังมีอย่างต่อเนื่อง

ความชัดเจนอีกประการที่ต้องทำให้สหรัฐฯ เห็น คือ สินค้าที่ส่งออกจากไทยไปสหรัฐฯ หน่วยงานที่ดูแลต้องเข้มงวด เพราะจีนเองเข้ามาใช้ไทยเป็นฐานการลงทุนเพื่อส่งออก ซึ่งสหรัฐฯเองจับตาดูว่าสินค้าที่ส่งไปเป็นสินค้าที่ผลิตจากไทยหรือสวมสิทธิ์ เพราะหากเป็นการสวมสิทธิ์อาจทำให้สินค้าไทยเสียโอกาส

รองประธานหอการค้าฯกล่าวอีกว่า การที่ทรัมป์กลับมา ยังมองภาพเป็นบวกต่อสินค้าไทยเพราะไทยสามรถส่งสินสินค้าทดแทนได้ส่วนผลกระทบด้านลบ คือ ไทยต้องไปแข่งขันในตลาดโลกที่อาจจะมีสินค้าจีนเข้าไปทำตลาดได้ ในช่วง 3 เดือนหรือ 100 วันของทรัมป์ คงต้องติดตามนโยบายการขึ้นภาษีแต่ละประเทศว่าจะโดนเท่าไหร่ ซึ่งจะมีเวลาให้ผู้ประกบการได้ปรับตัว

อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นใหม่นอกจากอุตสาหกรรมอีวีแล้ว จะเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นด้านอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไทยเองถือว่าเป็นฐานการผลิตที่สำคัญและยังเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของอาเซียน

เปิด 29 กลุ่มสินค้าเสี่ยง “ทรัมป์” ขึ้นภาษี

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและนโยบายทางการค้าของสหรัฐฯ เนื่องจากการดำเนินนโยบายของสหรัฐฯ มีผลกระทบต่อวงการเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนของโลกและของไทย

เห็นได้จากการประกาศนโยบายการปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้าจากจีน แคนาดา เม็กซิโก และประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกรวมถึงการปกป้องอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศ และการดึงการลงทุนกลับไปยังสหรัฐฯ เพื่อสร้างการจ้างงานภายในประเทศที่ไทยต้องจับตาถึงนโยบายที่ทรัมป์จะประกาศออกมาหลังจากนี้

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า โฆษกกระทรวงพาณิชย์

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า โฆษกกระทรวงพาณิชย์

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า โฆษกกระทรวงพาณิชย์

ทั้งนี้ สหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย มีสัดส่วนราว 18% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด โดยปี 2567 มีมูลค่า 54,956.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่การนำเข้า สหรัฐฯ เป็นแหล่งนำเข้าอันดับ 4 ของไทย มีสัดส่วนราว 6% ของมูลค่านำเข้าทั้งหมด หรือมีมูลค่า 19,528.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยรวมไทยเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ 35,427.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อยู่อันดับที่ 12 ของโลก

โฆษกกระทรวงพาณิชย์กล่าวอีกว่า กลุ่มสินค้าไทยที่มีความเสี่ยงอาจถูกสหรัฐฯ พิจารณาใช้มาตรการทางภาษีมีประมาณ 29 กลุ่มสินค้า เนื่องจากพบสถิติการค้าที่สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับไทยมากขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 61 - 66) เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ, เครื่องโทรศัพท์มือถือ, ไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำแบบไวแสง (โซลาร์เซลล์),

ยางนอกชนิดอัดลมที่เป็นของใหม่, หม้อแปลงไฟฟ้า เครื่องเปลี่ยนไฟฟ้าชนิดอยู่คงที่, เครื่องปรับอากาศ, เครื่องพิมพ์ที่ป้อนกระดาษเป็นม้วน, เครื่องส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์, วงจรรวมอิเล็กทรอนิกส์, เครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณและส่วนประกอบของของดังกล่าว

นอกจากนี้ ยังมีรายการกลุ่มสินค้าอื่น ๆ ที่อาจมีฃความเสี่ยงโดนเก็บภาษีเช่นกัน เช่น เครื่องจักรไฟฟ้า ตู้เย็นตู้แช่แข็ง เฟอร์นิเจอร์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์จากไม้ รวมถึงสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปบางรายการ อาทิ ปลาสด แช่เย็น แช่แข็ง ขนมหวานที่ไม่มีส่วนผสมจากโกโก้

จีนขยายฐานลงทุน เลี่ยงสหรัฐฯขึ้นภาษี

ขณะเดียวกัน สหรัฐฯจับตาประเทศที่มีกลุ่มทุนจีนเข้าไปลงทุนเพื่อตั้งฐานการผลิต เพราะต้องการเลี่ยงสงครามการค้า และมาตรการทางภาษีจากสหรัฐฯ โดยประเทศปลายทางที่จีนเข้าไปลงทุนเพิ่มเติม (Greenfield FDI) มากเป็น 10 อันดับแรก ในปี 66 ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย มาเลเซีย เวียดนาม โมร็อกโก คาซัคสถาน อียิปต์ อินโดนีเซีย อาร์เจนตินา เซอร์เบีย และเม็กซิโก

สำหรับในมุมของเศรษฐกิจโลกปี 2568 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ประเมินอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกไว้ที่ 3.3% และมองว่า เศรษฐกิจโลกยังคงมีเสถียรภาพและได้รับแรงหนุนจากเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาที่เติบโตได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยโลก โดยเติบโตอยู่ที่ 4.2% ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วเติบโตที่ 1.7%

อย่างไรก็ตาม IMFได้เตือนถึงความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก ว่า ในระยะปานกลางเศรษฐกิจโลกอาจเผชิญกับความเสี่ยงนโยบายเศรษฐกิจในลักษณะที่เป็นการปกป้องที่เข้มข้นขึ้น (protectionist policies) โดยเฉพาะนโยบายการปรับขึ้นอัตราภาษีศุลกากรที่อาจนำไปสู่การลดลงของการลงทุน ลดทอนความมีประสิทธิภาพของตลาด เบี่ยงเบนทิศทางการค้า

และอาจกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานซึ่งสอดคล้องกับมุมมองของธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ที่ความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจและมาตรการที่นำไปสู่การเบี่ยงเบนทางการค้า (trade-distorting measures) จะทำให้เกิดความเสี่ยงของการค้าโลกและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

เวิลด์แบงก์ปรับประมาณการปริมาณการค้าโลกขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง เหลือ +3.1% สำหรับเศรษฐกิจและการส่งออกไทยและอาเซียน คาดว่าจะส่งผลให้ขยายตัวลดลงเช่นกัน

โฆษกกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า มาตรการทางการค้าของสหรัฐฯ จะออกมาให้เห็นชัดเจนมากขึ้น ภายหลังจากที่มีการแต่งตั้งคณะผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกา (The United States Trade Representative) หรือ USTR เรียบร้อย โดยจะเป็นหน่วยงานที่ดูแลการพิจารณาและออกประกาศมาตรการทางการค้าต่าง ๆ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทยมีแผนที่จะนำคณะผู้บริหารเยือนสหรัฐอเมริกา เพื่อหารือกับผู้บริหารระดับสูงของสหรัฐฯ ชุดใหม่ในเดือนก.พ.นี้ เพื่อการเจรจาขอยกเว้นการขึ้นภาษีสินค้าจากไทย

เกียรตินาคินภัทร ชี้ นโยบาย “ทรัมป์” สะเทือนโลก

ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ แม้มีแนวโน้มชะลอตัว แต่ยังคงเติบโตได้ดีกว่าระดับศักยภาพ และมีแนวโน้มแข็งแกร่งกว่าภูมิภาคอื่นๆ โดยอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับลดลงอีกแต่อาจจะไม่มาก เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ก่อนหน้า เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ยังคงแข็งแกร่งและแรงกดดันเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง

ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)

ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)

ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)

ทั้งนี้ประเด็นสำคัญที่ต้องจับตา คือ นโยบายของรัฐบาลโดนัลด์ ทรัมป์ ที่จะมีผลกระทบต่อสหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ ค่อนข้างมาก เพราะ ทรัมป์จะใช้นโยบายภาษีเป็นเครื่องมือต่อรองกับประเทศอื่นในด้านต่างๆ เช่น เรื่องความมั่นคง การค้าที่ไม่เป็นธรรม การเปิดตลาดต่างประเทศให้สินค้าสหรัฐฯ หรือความร่วมมือเรื่องผู้อพยพ

นโยบายดังกล่าวอาจดีต่อสหรัฐฯ แต่จะสร้างความปั่นป่วนให้กับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะครึ่งปีแรก เนื่องจากลำดับของนโยบายที่ทรัมป์จะเริ่มนำมาใช้ก่อน และระดับมูลค่าของสินทรัพย์ซึ่งตั้งต้นอยู่ในระดับที่สูงในปัจจุบัน

สำหรับประเทศไทยปี2568 การท่องเที่ยว ภาคบริการ และนโยบายการคลังยังคงเป็นเครื่องจักรสำคัญ แต่เศรษฐกิจยังมีแนวโน้มชะลอตัวจากปีก่อน จากปัญหาเรื่องความสามารถในการแข่งขัน และแนวโน้มการปล่อยสินเชื่อภาคธนาคาร

นอกจากนี้ นโยบายการค้าของรัฐบาลทรัมป์เป็นความเสี่ยงที่สำคัญที่ไทยต้องเตรียมความพร้อมในเจรจารับมือ ส่วนดอกเบี้ยนโยบายของไทยคาดว่าน่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 3 ครั้งในปีนี้ เนื่องระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่สูงกว่าระดับเงินเฟ้อค่อนข้างมาก และภาวะทางการเงินที่อยู่ในภาวะตึงตัว

นายโดนัล ทรัมป์  ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่47  ของสหรัฐอเมริกา

นายโดนัล ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่47 ของสหรัฐอเมริกา

นายโดนัล ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่47 ของสหรัฐอเมริกา

“เม็กซิโก แคนาดา จีน” โดนแน่ ภาษี 20-25%

นางสาว วรรณศรี โชติกะพุกกณะ ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ นครซิดนีย์ กล่าวว่า หลังจากที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ระบุหลังรับการเลือกตั้งว่า จะเริ่มใช้มาตรการด้านภาษีสินค้าจากเม็กซิโก แคนาดาและจีน เพื่อยุติปัญหาการลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายในเขตบริเวณชายแดนและปัญหายาเสพติดโดยจะเริ่มดำเนินการทันทีหลังการเริ่มบริหารงานอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 20 ม.ค. 2568

โดยมาตรการด้านภาษีสินค้าจากเม็กซิโกและแคนาดา จะเรียกเก็บภาษีร้อยละ 25 จากสินค้าทั้งหมดที่เข้ามายังสหรัฐอเมริกา และเพื่อกระตุ้นให้เม็กซิโกและแคนาดาริเริ่มมาตรการที่เข้มงวดมาใช้ในบริเวณเขตชายแดนของตน เพื่อป้องกันและลดจำนวนผู้อพยพที่ลักลอบเข้ามายังสหรัฐอเมริกาอย่างผิดกฎหมาย

แม้ว่า ยังไม่มีรายงานชัดเจนเกี่ยวกับมาตรการด้านภาษีสินค้าว่าจะมุ่งเป้าที่ภาคส่วนใด แต่จากข้อมูลเปิดเผยในเบื้องต้นพบว่า มาตรการด้านภาษีสินค้าจะเน้นสินค้าที่เป็นห่วงโซ่อุปทานเป็นหลักเพื่อปกป้องและฟื้นฟูอุตสาหกรรมผลิตในประเทศ ได้แก่ สินค้าเหล็ก/สินแร่เหล็ก อลูมิเนียมและทองแดง เครื่องอุปกรณ์สำคัญทางการแพทย์ เช่น หลอดฉีดยา เข็มฉีดยา ขวดยาและอุปกรณ์ทางเภสัชกรรม

สินค้าเกี่ยวกับพลังงาน เช่น แบตเตอรี่ แร่ธาตุหายากและแผงโซลาร์เซลล์ รวมถึงสินค้าที่ผลิตจากแบตเตอรี่ทุกชนิด เพื่อส่งเสริมแนวคิด Greater America ทรัมป์ระบุว่า ที่ผ่านมารัฐบาลสหรัฐอเมริกากำหนดนโยบายในประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น และการเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาครั้งนี้

“ทรัมป์ต้องการให้ประเทศเพื่อนบ้านรับผิดชอบปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกัน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายของสหรัฐฯจะทำให้ปัญหาการข้ามพรมแดนมาสหรัฐอเมริกาอย่างผิดกฎหมายและปัญหายาเสพติดในสหรัฐอเมริกาลดลง เพราะปัญหายาเสพติดในสหรัฐฯโดยเฉพาะเฟนทานิลจากจีนที่ยังคงรั่วไหลเข้าสหรัฐฯ โดยจะเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมร้อยละ 10 จากสินค้าจีนทั้งหมดเข้ามาในสหรัฐฯจนกว่าปัญหายาเสพติดจะยุติ ซึ่งจะยกเลิกสถานะการค้ากับจีนและเพิ่มภาษีสินค้าให้สูงกว่าช่วงที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯครั้งแรก”

อย่างไรก็ตาม แผนการใช้มาตรการดังกล่าว ได้ส่งผลให้มีกลุ่มผู้ย้ายถิ่นมุ่งหน้าสู่เขตชายแดนจำนวนมากก่อนวันที่ 20 ม.ค. 2568 และมาตรการภาษีสินค้าที่สูงขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคชาวสหรัฐอเมริกาที่จะถูกผลักภาระด้านต้นทุนสินค้าที่สูงขึ้น

ทั้งนี้ การแถลงข่าวล่าสุดเมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2567 เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศภายใต้การบริหารของทรัมป์จะเน้นกลยุทธ์การเจรจาต่อรองและการสร้างแรงกดดันมากกว่าการกำหนดนโยบายอย่างเป็นทางการและไม่ใช้กำลังทหาร

4 ปี นับจากนี้ไปการค้าการลงทุนทั่วโลก อาจเกิดการเปลี่ยนแปลง จนพลิกประวัติศาสตร์หน้าใหม่ แต่จะเปิดเจอด้านดีหรือด้านลบ คงต้องติดตามนโยบาย “ทรัมป์”ที่จะประกาศออกมาเร็วๆนี้

อ่านข่าว:

 พิธีสาบานตน "โดนัลด์ ทรัมป์" บอกนัยอะไรให้กับโลก?

SME หนีตายแข่งขันค้าโลก ใช้ FTA ลดเสี่ยงภาษีสูง "ทรัมป์ 2.0 "

 กำแพงภาษีสหรัฐฯ กระทบไทย หวั่นสินค้าจีนแย่งตลาดอาเซียน

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง