หมู่บ้านโคกเพชร ต.ยะวึก อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ เป็นหมู่บ้านที่ได้ชื่อว่าเก่งในการหาปลาไหล มายาวนานตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยหนองน้ำในหมู่บ้านเป็นที่อยู่ของปลาไหล ปลาน้ำจืดที่ชอบอาศัยในดินโคลน ปลาชนิดนี้จะชุกชุมมาก แต่ว่าก็ไม่พอที่จะหาขายทำให้ต้องออกนอกพื้นที่ ตระเวนหาปลาไหลไปหลายจังหวัดเช่น ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา ฯลฯ โดยทุกครั้งจะเดินทางพร้อมด้วย "อีจู้" อุปกรณ์จับปลาไหลที่ดั้งเดิมทำจากไม้ไผ่ ปัจจุบันทำจากตาข่าย แต่ละบ้านจะมีอีจู้หลายสิบอัน บางคน 100 กว่าอันและส่วนใหญ่ชาวบ้านจะทำอีจู้ใช้เองด้วย เมื่อถึงจุดหาก็จะแบ่งทีมและแบ่งพื้นที่ในการหาปลาไหล เพื่อไม่ให้ทับเส้นทางการหากินหลังจากนั้นก็ขี่มอเตอร์ไซค์พ่วงท้ายไปด้วยอีจู้ออกไปยังหนองน้ำเพื่อวางดักปลาไหล
วิธีใช้อีจู้ดักปลาไหลนั้นไม่ยาก แค่หาพื้นที่มีหญ้ารก ๆ แหวกหญ้าแล้วเอาอีจู้ที่ใส่เหยื่อคือหอยเชอรี่และไส้เดือนวางลงไป จากนั้นก็จะเขย่าในปากอีจู้ จะทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะวางอีจู้หมด เวลาที่ออกหาคือช่วงบ่ายจนถึงเย็น การไปเก็บปลาไหลในอีจู้นั้นจะทำในช่วงเช้ามืด พื้นที่ที่ไปหาส่วนใหญ่ก็เป็นพื้นที่เดิมๆที่เคยไป รู้จักมักคุ้นกับคนในพื้นที่เป็นอย่างดี ทำให้ไม่มีปัญหาในการหา ปริมาณปลาไหลที่ได้แต่ละครั้งนั้นหลายสิบกิโล การดูแลปลาไหลไม่ให้บอบช้ำ ก็คือเอาปลาไหลมาเก็บไว้ในกระสอบปุ๋ยและเอาฟางข้าวรองอีกชั้น เพื่อไม่ให้ผิวเนื้อช้ำระหว่างเดินทางกลับ เพราะว่าต้องขนกลับมาด้วยมอเตอรไซค์ สถานที่ขายคือตลาดปลาทางพาด จังหวัดสุรินทร์ ราคาประมาณกิโลกรัมละ 170 บาท สำหรับคนที่ไม่มีที่นาของตัวเองแล้วปลาไหลคือที่พึ่ง ออกหาได้ทั้งปี ก็มีกินมีใช้ไม่ขาดมือ
ติดตามได้ในรายการซีรีส์วิถีคน วันเสาร์ที่ 12 สิงหาคม 2566 เวลา 14.30 - 15.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
หมู่บ้านโคกเพชร ต.ยะวึก อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ เป็นหมู่บ้านที่ได้ชื่อว่าเก่งในการหาปลาไหล มายาวนานตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยหนองน้ำในหมู่บ้านเป็นที่อยู่ของปลาไหล ปลาน้ำจืดที่ชอบอาศัยในดินโคลน ปลาชนิดนี้จะชุกชุมมาก แต่ว่าก็ไม่พอที่จะหาขายทำให้ต้องออกนอกพื้นที่ ตระเวนหาปลาไหลไปหลายจังหวัดเช่น ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา ฯลฯ โดยทุกครั้งจะเดินทางพร้อมด้วย "อีจู้" อุปกรณ์จับปลาไหลที่ดั้งเดิมทำจากไม้ไผ่ ปัจจุบันทำจากตาข่าย แต่ละบ้านจะมีอีจู้หลายสิบอัน บางคน 100 กว่าอันและส่วนใหญ่ชาวบ้านจะทำอีจู้ใช้เองด้วย เมื่อถึงจุดหาก็จะแบ่งทีมและแบ่งพื้นที่ในการหาปลาไหล เพื่อไม่ให้ทับเส้นทางการหากินหลังจากนั้นก็ขี่มอเตอร์ไซค์พ่วงท้ายไปด้วยอีจู้ออกไปยังหนองน้ำเพื่อวางดักปลาไหล
วิธีใช้อีจู้ดักปลาไหลนั้นไม่ยาก แค่หาพื้นที่มีหญ้ารก ๆ แหวกหญ้าแล้วเอาอีจู้ที่ใส่เหยื่อคือหอยเชอรี่และไส้เดือนวางลงไป จากนั้นก็จะเขย่าในปากอีจู้ จะทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะวางอีจู้หมด เวลาที่ออกหาคือช่วงบ่ายจนถึงเย็น การไปเก็บปลาไหลในอีจู้นั้นจะทำในช่วงเช้ามืด พื้นที่ที่ไปหาส่วนใหญ่ก็เป็นพื้นที่เดิมๆที่เคยไป รู้จักมักคุ้นกับคนในพื้นที่เป็นอย่างดี ทำให้ไม่มีปัญหาในการหา ปริมาณปลาไหลที่ได้แต่ละครั้งนั้นหลายสิบกิโล การดูแลปลาไหลไม่ให้บอบช้ำ ก็คือเอาปลาไหลมาเก็บไว้ในกระสอบปุ๋ยและเอาฟางข้าวรองอีกชั้น เพื่อไม่ให้ผิวเนื้อช้ำระหว่างเดินทางกลับ เพราะว่าต้องขนกลับมาด้วยมอเตอรไซค์ สถานที่ขายคือตลาดปลาทางพาด จังหวัดสุรินทร์ ราคาประมาณกิโลกรัมละ 170 บาท สำหรับคนที่ไม่มีที่นาของตัวเองแล้วปลาไหลคือที่พึ่ง ออกหาได้ทั้งปี ก็มีกินมีใช้ไม่ขาดมือ
ติดตามได้ในรายการซีรีส์วิถีคน วันเสาร์ที่ 12 สิงหาคม 2566 เวลา 14.30 - 15.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live