อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย เมืองเก่าริมแม่น้ำยมที่ยังมีร่องรอยของเมืองท่าค้าขายในอดีต มีอาคารไม้เก่าแก่ที่ยังมีผู้พักอาศัยหลงเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ที่ตั้งอำเภอเก่ามีลักษณะน้ำล้อมรอบ เรียกว่า "เกาะกง" มีผู้คนอาศัยอยู่ด้วยความคุ้นเคยและผูกพันสายน้ำแห่งนี้ แม้จะลำบากช่วงน้ำหลาก เพราะน้ำท่วมสูงถึงชั้นสองของบ้าน แต่สบายและสงบ ในฤดูอื่น ๆ ทั้งคนเกาะกงและหมู่บ้านอื่น ๆ ที่อยู่ริมแม่น้ำยม ได้พึ่งพาอาศัยน้ำจากแม่น้ำยมในการทำนาและหาปลา เช่น ลุงทองย้อย ผลมา ที่หาเลี้ยงครอบครัวด้วยการหาปลา ทั้งเพื่อกินและขาย บางส่วนนำไปทำปลาร้า ซึ่งปลาร้าของคนบ้านกง เป็นปลาร้าที่มีชื่อเสียง
รถโดยสารประจำทางของคนบ้านกง เรียกว่า "รถคอกหมู" ลักษณะตัวถังที่เป็นไม้ ตกแต่งสีสันและลวดลาย ตามเส้นทางที่ให้บริการ คือ สายบ้านกง - พิษณุโลก สีเขียวเหลือง ส่วนสายบ้านกง สีสุโขทัย ฟ้าขาว ผู้คนที่บ้านกงยังมีความทรงจำที่แจ่มชัดเกี่ยวกับรถคอกหมู โดยเล่าถึงความคึกคัก เมื่อ 50 ปีก่อน ที่มีรถคอกหมูร่วมร้อยคัน ผลัดเปลี่ยนกันให้บริการตั้งแต่เช้ามืดถึงค่ำ ทุก ๆ 20 นาที มีรถสลับสับเปลี่ยนกันตามคิว ค่าโดยสารยุคแรก ๆ เที่ยวละ 2 บาท ขึ้นมา 5 บาท และปัจจุบันเที่ยวละ 20 บาท ผู้โดยสารมีทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพ ทั้งนักเรียน พ่อค้า แม่ค้า รถแน่นทุกเที่ยว แม้แต่หลังคายังไม่มีที่ว่าง ขนส่งทั้งคนและสินค้า เรียกว่าเป็นยุครุ่งเรืองของรถคอกหมู เพราะสมัยก่อนนั้นไม่มีรถประเภทอื่น ไม่มีรถยนต์ส่วนตัวมีเพียงรถโดยสารประจำทางเท่านั้น
ในปัจจุบันรถโดยสารประจำทางหรือรถคอกหมูที่ยังให้บริการอยู่ แต่เหลือเพียงเส้นทางละ 2 คัน โดยเส้นทาง กงไกรลาศ - สุโขทัย มีรถของ รุ่งนภา กลิ่นลูกอินทร์ และป้าน้อย - ประเทือง เนียมหอม วิ่งสลับกันวิ่งตั้งแต่ 7 โมงเช้า ส่วนเส้นทางกงไกรลาศ - พิษณุโลก มีรถของ ลุงเล็ก บัญชา ฮุยเขียว กับรถของ น้าเทิง บันเทิง มั่นอ่ำ สลับกันวิ่งแค่ 2 วัน / สัปดาห์ เริ่มให้บริการตั้งแต่ 6 โมงเช้า รถโดยสารทั้ง 4 คันนี้เป็นรถของพี่น้องเครือญาติ สืบทอดกันมาพวกเขาบอกว่าคงจะเป็นคนขับรถคอกหมู่รุ่นสุดท้าย เพราะไม่มีผู้สานต่อ โดยสาเหตุที่ยังสู้ไม่เคยหยุดให้บริการเลย เพราะต้องรับผิดชอบผู้โดยสารที่ใช้บริการกันมานาน ทั้งเห็นใจคนที่ไม่มีรถ ผู้สูงอายุที่ไม่มีลูกหลานพาไปโรงพยาบาล และแม่ค้าที่จำเป็นต้องขนของจำนวนมาก
เพราะจำนวนเที่ยวรถไม่กี่เที่ยว ผู้โดยสารไม่กี่คน และส่วนใหญ่เป็นพ่อค้า แม่ค้า ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย ซึ่งไม่มีรถยนต์ส่วนตัว ค่าโดยสารเที่ยวละ 20 บาท บางวันมีผู้โดยสารคนเดียว หากอาศัยเพียงค่าโดยสารคงอด จึงมีการรับฝากส่งของ มีค่าระวางสินค้า ชิ้นละ 20 บาท ขึ้นไป ทำให้มีรายได้ต่อเที่ยวหลายร้อยบาท / เที่ยว พอต่อลมหายใจได้ นอกจากนี้ยังต้องหารายได้เสริม โดยรุ่ง เปิดร้านขายผัดไทย - หอยทอด ส่วนป้าน้อย รับจ้างขูดมะพร้าว
เจ้าของรถหมูคอกใน อ.กงไกรลาศ หลายคันเปลี่ยนไปให้บริการในรูปแบบอื่น ไม่ว่าจะเป็นบริการนักท่องเที่ยว หรือใช้เป็นรถรับ - ส่งนักเรียน เช่น สุทธิรักษ์ ทองชื่นตระกูล (เด้ง) ที่ใช้รถคอกหมูรับ - ส่งนักเรียนในพื้นที่ และนับว่าได้รับความนิยมและไว้วางใจ เนื่องจากเป็นรถที่ปลอดภัยเพราะไม่ได้ทำหน้าที่เป็นเพียงคนขับรถ แต่เป็นเสมือนญาติคอยดูแล และส่งข่าวสารระหว่างนักเรียนกับผู้ปกครองด้วย
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย เมืองเก่าริมแม่น้ำยมที่ยังมีร่องรอยของเมืองท่าค้าขายในอดีต มีอาคารไม้เก่าแก่ที่ยังมีผู้พักอาศัยหลงเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ที่ตั้งอำเภอเก่ามีลักษณะน้ำล้อมรอบ เรียกว่า "เกาะกง" มีผู้คนอาศัยอยู่ด้วยความคุ้นเคยและผูกพันสายน้ำแห่งนี้ แม้จะลำบากช่วงน้ำหลาก เพราะน้ำท่วมสูงถึงชั้นสองของบ้าน แต่สบายและสงบ ในฤดูอื่น ๆ ทั้งคนเกาะกงและหมู่บ้านอื่น ๆ ที่อยู่ริมแม่น้ำยม ได้พึ่งพาอาศัยน้ำจากแม่น้ำยมในการทำนาและหาปลา เช่น ลุงทองย้อย ผลมา ที่หาเลี้ยงครอบครัวด้วยการหาปลา ทั้งเพื่อกินและขาย บางส่วนนำไปทำปลาร้า ซึ่งปลาร้าของคนบ้านกง เป็นปลาร้าที่มีชื่อเสียง
รถโดยสารประจำทางของคนบ้านกง เรียกว่า "รถคอกหมู" ลักษณะตัวถังที่เป็นไม้ ตกแต่งสีสันและลวดลาย ตามเส้นทางที่ให้บริการ คือ สายบ้านกง - พิษณุโลก สีเขียวเหลือง ส่วนสายบ้านกง สีสุโขทัย ฟ้าขาว ผู้คนที่บ้านกงยังมีความทรงจำที่แจ่มชัดเกี่ยวกับรถคอกหมู โดยเล่าถึงความคึกคัก เมื่อ 50 ปีก่อน ที่มีรถคอกหมูร่วมร้อยคัน ผลัดเปลี่ยนกันให้บริการตั้งแต่เช้ามืดถึงค่ำ ทุก ๆ 20 นาที มีรถสลับสับเปลี่ยนกันตามคิว ค่าโดยสารยุคแรก ๆ เที่ยวละ 2 บาท ขึ้นมา 5 บาท และปัจจุบันเที่ยวละ 20 บาท ผู้โดยสารมีทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพ ทั้งนักเรียน พ่อค้า แม่ค้า รถแน่นทุกเที่ยว แม้แต่หลังคายังไม่มีที่ว่าง ขนส่งทั้งคนและสินค้า เรียกว่าเป็นยุครุ่งเรืองของรถคอกหมู เพราะสมัยก่อนนั้นไม่มีรถประเภทอื่น ไม่มีรถยนต์ส่วนตัวมีเพียงรถโดยสารประจำทางเท่านั้น
ในปัจจุบันรถโดยสารประจำทางหรือรถคอกหมูที่ยังให้บริการอยู่ แต่เหลือเพียงเส้นทางละ 2 คัน โดยเส้นทาง กงไกรลาศ - สุโขทัย มีรถของ รุ่งนภา กลิ่นลูกอินทร์ และป้าน้อย - ประเทือง เนียมหอม วิ่งสลับกันวิ่งตั้งแต่ 7 โมงเช้า ส่วนเส้นทางกงไกรลาศ - พิษณุโลก มีรถของ ลุงเล็ก บัญชา ฮุยเขียว กับรถของ น้าเทิง บันเทิง มั่นอ่ำ สลับกันวิ่งแค่ 2 วัน / สัปดาห์ เริ่มให้บริการตั้งแต่ 6 โมงเช้า รถโดยสารทั้ง 4 คันนี้เป็นรถของพี่น้องเครือญาติ สืบทอดกันมาพวกเขาบอกว่าคงจะเป็นคนขับรถคอกหมู่รุ่นสุดท้าย เพราะไม่มีผู้สานต่อ โดยสาเหตุที่ยังสู้ไม่เคยหยุดให้บริการเลย เพราะต้องรับผิดชอบผู้โดยสารที่ใช้บริการกันมานาน ทั้งเห็นใจคนที่ไม่มีรถ ผู้สูงอายุที่ไม่มีลูกหลานพาไปโรงพยาบาล และแม่ค้าที่จำเป็นต้องขนของจำนวนมาก
เพราะจำนวนเที่ยวรถไม่กี่เที่ยว ผู้โดยสารไม่กี่คน และส่วนใหญ่เป็นพ่อค้า แม่ค้า ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย ซึ่งไม่มีรถยนต์ส่วนตัว ค่าโดยสารเที่ยวละ 20 บาท บางวันมีผู้โดยสารคนเดียว หากอาศัยเพียงค่าโดยสารคงอด จึงมีการรับฝากส่งของ มีค่าระวางสินค้า ชิ้นละ 20 บาท ขึ้นไป ทำให้มีรายได้ต่อเที่ยวหลายร้อยบาท / เที่ยว พอต่อลมหายใจได้ นอกจากนี้ยังต้องหารายได้เสริม โดยรุ่ง เปิดร้านขายผัดไทย - หอยทอด ส่วนป้าน้อย รับจ้างขูดมะพร้าว
เจ้าของรถหมูคอกใน อ.กงไกรลาศ หลายคันเปลี่ยนไปให้บริการในรูปแบบอื่น ไม่ว่าจะเป็นบริการนักท่องเที่ยว หรือใช้เป็นรถรับ - ส่งนักเรียน เช่น สุทธิรักษ์ ทองชื่นตระกูล (เด้ง) ที่ใช้รถคอกหมูรับ - ส่งนักเรียนในพื้นที่ และนับว่าได้รับความนิยมและไว้วางใจ เนื่องจากเป็นรถที่ปลอดภัยเพราะไม่ได้ทำหน้าที่เป็นเพียงคนขับรถ แต่เป็นเสมือนญาติคอยดูแล และส่งข่าวสารระหว่างนักเรียนกับผู้ปกครองด้วย
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live