เมื่อครูช่างในลำพูนเลือกที่จะหยิบความนิ่ม นุ่ม อันเป็นอัตลักษณ์ของฝ้ายสีเขียวที่เสาะหามาปลูกได้เฉพาะถิ่นที่ของตน นำมาถักทอเป็นเสื้อผ้าบริสุทธิ์ให้เด็ก ผสานกับการออกแบบของนักออกแบบรุ่นใหม่ เสื้อผ้าของแม่และเด็กจึงออกมาหลากหลาย ทันสมัย และคงความเป็นมิตรต่อธรรมชาติเอาไว้
ติดตามกลุ่มปันญานา อ.เมือง จ.เชียงราย นำเอาเอกลักษณ์ปักเย็บ ลวดลายของหัตถกรรมล้านนามาทำเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยง และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนลูกประคมสมุนไพรเซรามิก อ.เกาะคา จ.ลำปาง เปิดตลาดเซรามิกเพื่อสุขภาพ นำเม็ดเซรามิกมาผสมกับธัญพืช สมุนไพร มาทำเป็นลูกประคบ
ออกไปพบปะครูช่างของกลุ่มหัตถกรรมผ้าชนเผ่าลีซอหนองตอง ที่จุดประกายให้นักออกแบบนำความโดดเด่นจากเทคนิคการเย็บทับซ้อนต่อกันจนเป็นผ้าผืนยาวที่พวกเขาไม่เคยทำมาก่อน ฉีกกฎเดิม ๆ เปิดตลาดใหม่ที่ไม่จำกัดอยู่แค่เสื้อผ้าม่อห้อม แต่มุ่งที่จะนำเอางานฝีมือท้องถิ่นจากเครือข่ายชุมชน
Aside from skills and specialty, the story behind each product is somehow another thing that can make the products for sale more valuable, as can be seen in the teams from Yardfon Center for Empowerment and Vocational Development for Persons with Disabilities and Ban Nor Lae Handicraft Center in Chiang Mai.