คิดการณ์ใหม่ BRAINSTORM
รายการที่จะมาช่วยระดมความคิด หยิบยกประเด็นเกี่ยวกับการจัดการชีวิติแต่ละสาขาวิชาชีพในสังคมไทย ที่ต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์จากอุบัติการณ์ใหม่
มาร่วมพูดคุยแสดงความคิดเห็นถึงแนวทางเพื่อการปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงผ่านตัวแทนผู้ประกอบการ 5 ท่าน เกี่ยวกับประเด็นการปรับตัวในปัจจุบัน และการมองความเปลี่ยนแปลงในระยะยาว แนวคิดที่สามารถนำไปต่อยอด ประยุกต์ใช้ได้ทั้งผู้ประกอบการและหน่วยงานภาครัฐที่ควรให้ความใส่ใจร่วมกัน
วิชาชีพครู คือหนึ่งในวิชาชีพที่มีความสำคัญมากในสังคมไม่ว่ายุคไหนก็ตาม และยิ่งในยุคโควิด-19 เหล่าคุณครู อาจารย์และผู้เรียนล้วนได้รับผลกระทบอย่างชัดเจน หลายอย่างมีการเปลี่ยนแปลงและต้องปรับตัว ทั้งในเรื่องเนื้อหาและวิธีการสอน รายการคิดการณ์ใหม่จึงเชิญ 4 ท่านในแวดวงการศึกษามาร่วมพูดคุยแชร์ไอเดียการปรับเปลี่ยนว่ามีแนวคิดวิธีการอย่างไร
มาร่วมแชร์ความคิดกับ คุณชนะ สัมพลัง นายกสมาคมสถาปนิกสยาม และคุณเอกราช ลักษณสัมฤทธิ์ ตัวแทนสถาปนิก ถึงการออกแบบที่อยู่อาศัย อาคาร โดยเฉพาะพื้นที่ส่วนกลางสาธารณะที่ล้วนมีส่วนสำคัญในการสร้างพฤติกรรมการอยู่ร่วมกัน เนื่องจากปัจจุบันมีสถานการณ์การแพร่กระจายของโควิด-19 ทำให้สถาปนิกต้องคำนึงถึงเรื่องระยะห่าง และสุขอนามัยเป็นสิ่งสำคัญ
ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 วัยเด็กเล็กเป็นกลุ่มวัยที่มีความเสี่ยงมาก ดังนั้นสถานรับเลี้ยงเด็กเล็กจึงต้องให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษ ทั้งในเรื่องสุขอนามัย การรักษาระยะห่าง ที่ต้องสอดคล้องไปกับการเรียนรู้ตามวัยของเด็ก ๆ รวมถึงการเรียนการสอนที่ต้องปรับรูปแบบให้เหมาะสมกับสถานการณ์และพัฒนาการของช่วงวัย
โลจิสติกส์ไม่ใช่แค่เรื่องของการขนส่งเท่านั้น ยังรวมถึงกระบวนการ วิธีการ การวางแผนสินค้าคงคลัง การจัดเก็บ ควบคุม การบริหารจัดการทั้งระบบ มารับทราบถึงสถานการณ์ของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ เพราะการวางแผนดำเนินงาน ประสานงานที่ดี และการแลกเปลี่ยนความคิดจะขยายไอเดียนำไปสู่การบรรลุผลตามเป้าหมาย
“สื่อสิ่งพิมพ์กำลังจะตาย” คำกล่าวนี้ ส่งผลต่อคนทำสื่อสิ่งพิมพ์อย่างมาก ถือเป็นความท้าทายที่กลุ่มคนผลิตสื่อสิ่งพิมพ์จะต้องปรับตัวและหาทางอยู่รอดให้ได้ในยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ร่วมพูดคุยถึงแนวคิดการรับมือกับผู้ผลิตนิตยสาร นักเขียนออนไลน์ เจ้าของร้านขายหนังสือ และวงการด้านสิ่งพิมพ์