ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

“ดัชนีความร้อน” พุ่ง ! ส่งผลอย่างไร ?


วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

7 มี.ค. 67

จิราภพ ทวีสูงส่ง

Logo Thai PBS
แชร์

“ดัชนีความร้อน” พุ่ง ! ส่งผลอย่างไร ?

https://www.thaipbs.or.th/now/content/901

“ดัชนีความร้อน” พุ่ง ! ส่งผลอย่างไร ?
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

ช่วงนี้ “สภาพอากาศ” บ้านเรา “ร้อนระอุ” อุณหภูมิแตะกว่า 40 องศาเซลเซียสในหลายจังหวัด ซึ่งเป็นผลจากค่า “ดัชนีความร้อน” ที่พุ่งสูงขึ้น ค่าความชื้นในดินที่ต่ำลง สภาวะอากาศที่แปรปรวนและปิด “สภาวะโลกร้อน” ที่คืบคลานเข้ามาอย่างต่อเนื่อง นั่นหมายความว่าเราจะต้องเฝ้าระวังในหลากหลายด้านเพราะสิ่งที่จะตามมาล้วนแต่จะส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของเราทั้งสิ้น ทั้งด้านสุขภาพอนามัย ด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ด้านสิ่งแวดล้อม

ค่าดัชนีความร้อนที่พุ่งสูงขึ้น ประกอบกับสถานการณ์ไฟป่าที่ยังคุกรุ่นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านเกิดจุดความร้อนขึ้นสูงมากจนบางประเทศขึ้นแตะนิวไฮในช่วงที่มีการเก็บข้อมูลจุดความร้อนของแต่ละช่วงเวลา โดยเฉพาะประเทศไทยเมื่อวันที่ 6 มี.ค. 67 ที่ผ่านมา เกิดจุดความร้อนภายในประเทศสูงสุดถึง 3,013 จุด

นับตั้งแต่ที่มีการเก็บข้อมูลในช่วงฤดูกาลไฟป่า เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 66 จนถึงปัจจุบัน หรือแม้แต่ประเทศเพื่อนบ้านเองอย่างเมียนมาก็พุ่งสูงเช่นกันถึง 6,332 จุด นั่นเป็นสัญญาณที่บอกว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ได้มีเพียงแค่นี้ แต่ยังส่งผลต่อคุณภาพอากาศโดยรอบอีกด้วย ซึ่งก็คือในเรื่องของ PM 2.5 ทำให้หลายพื้นที่มีค่าคุณภาพอากาศที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและระบบทางเดินหายใจในระดับสีแดง ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องเฝ้าระวังเป็นอย่างยิ่ง

ด้านสุขภาพอนามัย PM 2.5

ที่พุ่งสูงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและระบบทางเดินหายใจโดยตรง ค่าดัชนีความร้อนที่สูงขึ้นจะก่อให้เกิดการสูญเสียน้ำในร่างกายมากขึ้น เป็นตะคริว เพลียแดด หรืออาจจะมีความรุนแรงถึงขึ้น “ฮีทสโตรก” (Heatstroke) จนอาจเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะคนทำงานในกลุ่มเสี่ยง เช่น เจ้าหน้าที่ดับไฟป่าที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ อากาศที่ร้อนบวกกับควันไฟอาจจะทำให้เป็นลมหมดสติได้ หรือแม้แต่กลุ่มคนที่ต้องทำงานอยู่กลางแจ้ง ตลอดเวลา จำเป็นต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษมากขึ้นเช่นกัน

ด้วยความสำคัญในเรื่องดังกล่าว ทีมนักภูมิสารสนเทศของ GISTDA จึงได้นำข้อมูลจากดาวเทียมมาใช้ในการติดสถานการณ์รายวัน อาทิ ดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี ระบบเวียร์ ดาวเทียมไทยโชต ดาวเทียมฮิมาวาริ ดาวเทียม Sentinel-2 เป็นต้น รวมถึงระบบเซนเซอร์ต่าง ๆ เพื่อให้การบริหารจัดการเชิงพื้นที่เป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว

รวมทั้ง เพิ่มประสิทธิภาพและสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง กลุ่มอาสาสมัคร ภาคประชาชน เป็นต้น ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลและใช้งานได้ทั้งในรูปแบบ Web Service และ แอปพลิเคชัน ได้อย่างแม่นยำ อนาคตจะมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาช่วยสนับสนุนข้อมูลและการติดตามสถานการณ์มากยิ่งยิ่งขึ้น ทำให้สามารถตัดสินใจในการแก้ปัญหาได้เร็วขึ้นและทันท่วงที


🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS  

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech 
 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ดัชนีความร้อนภาวะโลกร้อนฤดูร้อนโลกร้อนThai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Science
จิราภพ ทวีสูงส่ง
ผู้เขียน: จิราภพ ทวีสูงส่ง

เซบา บาสตี้ : เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส / Specialist Contents / Journalist / Writer / Creative Copywriter / Proofreader Lover (ติดต่อ jiraphob.thawisoonsong@gmail.com หรือ 0854129703)

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด