ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ทำไม ? “ความกดอากาศ” ทำให้เกิด “ฝนตก - อากาศหนาว” ได้


วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

11 ต.ค. 66

จิราภพ ทวีสูงส่ง

Logo Thai PBS
แชร์

ทำไม ? “ความกดอากาศ” ทำให้เกิด “ฝนตก - อากาศหนาว” ได้

https://www.thaipbs.or.th/now/content/421

ทำไม ? “ความกดอากาศ” ทำให้เกิด “ฝนตก - อากาศหนาว” ได้
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

     ถึงแม้ว่า “อากาศ” จะเป็นแก๊ส แต่ก็มีน้ำหนักเช่นเดียวกับของแข็งและของเหลวอื่น ๆ โดยมีการเรียกน้ำหนักของ “อากาศ” ที่กดทับกันลงมา ด้วยอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงว่า “ความกดอากาศ” (Air pressure)

     ซึ่งถูกโลกดึงดูดให้มีน้ำหนักกดลงในแนวดิ่ง โดยที่บริเวณผิวโลก “อากาศ” จะมีน้ำหนักมาก และถ้าสูงขึ้นน้ำหนักจะลดลง แต่ด้วยความที่ “อากาศ” เป็นของไหล ดังนั้นแต่ละตำแหน่งบนผิวโลก น้ำหนัก หรือแรงกด จะไม่เท่ากัน

     นอกจากนี้ “ความกดอากาศ” จะมีความแตกต่างกับแรงที่เกิดจากน้ำหนักกดทับของของแข็งและของเหลวตรงที่ “ความกดอากาศ” มีแรงดันออกทุกทิศทุกทาง เช่นเดียวกับแรงดันของอากาศในลูกโป่ง

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ “ความกดอากาศ”

     - ยิ่งสูงขึ้นไป อากาศยิ่งบาง อุณหภูมิยิ่งต่ำ ความกดอากาศยิ่งลดน้อยตามไปด้วย เพราะฉะนั้น ความกดอากาศบนยอดเขา จึงน้อยกว่าความกดอากาศที่เชิงเขา
     - อากาศร้อนมีความหนาแน่นน้อยกว่าอากาศเย็น จึงมีความกดอากาศน้อยกว่า เรียกว่า “ความกดอากาศต่ำ” (Low pressure) ในแผนที่อุตุนิยมจะใช้อักษร “L” สีแดง เป็นสัญลักษณ์
     - อากาศเย็นมีความหนาแน่นมากกว่าอากาศร้อน จึงมีความกดอากาศมากกว่า เรียกว่า “ความกดอากาศสูง” (High pressure) ในแผนที่อุตุนิยมจะใช้อักษร “H” สีน้ำเงิน เป็นสัญลักษณ์

     โดยบริเวณที่มีน้ำหนักหรือมีความกดอากาศมากกว่าบริเวณโดยรอบ จะเรียกว่าบริเวณความกดอากาศสูง คืออากาศเย็น แต่ถ้าอากาศมีน้ำหนักเบา หรือความกดอากาศน้อยกว่าบริเวณโดยรอบ เรียกว่า บริเวณความกดอากาศต่ำ คืออากาศร้อน ที่มีน้ำหนักเบา

รู้จักการเคลื่อนที่ของ “อากาศ”

     สำหรับการพาความร้อน (Convection) ในบรรยากาศ ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของอากาศทั้งแนวตั้งและแนวราบ

กระแสอากาศแนวตั้ง : 
     - บริเวณความกดอากาศต่ำ (L) อากาศร้อนเหนือพื้นผิว ยกตัวขึ้นแล้วอุณหภูมิลดต่ำลง ทำให้เกิดการควบแน่นเป็นเมฆและฝน  
     - บริเวณความกดอากาศสูง (H) อากาศเย็นด้านบนมีอุณหภูมิต่ำ เคลื่อนเข้ามาแทนที่อากาศร้อนที่อยู่เหนือพื้นผิว ทำให้เกิดแห้งแล้ง เนื่องจากอากาศเย็นมีไอน้ำน้อย 

กระแสอากาศแนวราบ : 
     เนื่องจากอากาศเย็นมีมวลและความหนาแน่นมากกว่าอากาศร้อน กระแสอากาศจึงเคลื่อนตัวจากหย่อมความกดอากาศสูง (H) ไปยังหย่อมความกดอากาศต่ำ (L) ทำให้เกิดการกระจายและหมุนเวียนอากาศไปยังตำแหน่งต่าง ๆ บนผิวโลก โดยเรียกกระแสอากาศซึ่งเคลื่อนตัวในแนวราบว่า “ลม” (Wind)

ทำไม ? “ความกดอากาศ” ทำให้เกิด “ฝนตก” และ “อากาศหนาว” ได้

     อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ในพื้นที่ซึ่งมี “ความกดอากาศต่ำ” จะมีปริมาณอากาศอยู่น้อย จึงทำให้อากาศบริเวณนี้มีความเบาจนลอยตัวสูง ส่งผลให้เกิด “ก้อนเมฆ” ขึ้นมา เมื่อเมฆเคลื่อนที่ไปยังพื้นที่ใด จะทำให้บริเวณนั้นเกิด “ฝนตก” นั่นเอง ส่วน “ความกดอากาศสูง” นั้นทำให้อากาศมีน้ำหนักมาก จนร่วงสู่พื้นดิน ทำให้ท้องฟ้าสดใสและมีอากาศเย็น

🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ ThaiPBS 

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech


แหล่งข้อมูลอ้างอิง : ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์, ศูนย์อุตุนิยมวิทยา

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ความกดอากาศAir pressureความกดอากาศต่ำความกดอากาศสูงสภาพอากาศสภาพภูมิอากาศสภาพอากาศวันนี้Thai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Science
จิราภพ ทวีสูงส่ง
ผู้เขียน: จิราภพ ทวีสูงส่ง

เซบา บาสตี้ : เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส / Specialist Contents / Journalist / Writer / Creative Copywriter / Proofreader Lover (ติดต่อ jiraphob.thawisoonsong@gmail.com หรือ 0854129703)

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด